เมื่อการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมไม่ได้จำกัดวงเฉพาะในภูมิภาคหรือในประเทศอีกต่อไป

เราต้องเผชิญหน้าในยุคที่ความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารและโลจิสติกส์กำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างชาญฉลาด

 

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านโลจิสติกส์จะมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบจากอัตราต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยโดยรวมอยู่ที่ 14.4% (ที่มา: รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2557) ในขณะที่อัตราต้นทุนโลจิสติกส์ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 8.4% เท่านั้น (ที่มา : State of the Logistics Union 2015, www.scdigest.com) แสดงให้เห็นว่าไทยยังจำเป็นต้องพัฒนาระบบการจัดการทางด้านโลจิสติกส์ (Transportation Management System, TMS) ให้มากขึ้นเพื่อลดต้นทุนสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการในระดับโลกได้ การจะอยู่รอดในสภาวะการแข่งขันสูงเช่นนี้ เราจำเป็นจะต้องคิดค้นและมองหาวิธีการใหม่ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนให้ต่ำลง

 

ระบบ Just in Time

แนวคิดที่สำคัญอย่างหนึ่งทางด้านการจัดการด้านห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ที่ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำในประเทศญี่ปุ่นและเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นอย่างมากในประเทศไทยนั่นคือ ระบบ Just in Time ซึ่งจะเป็นการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้พอดีกับความต้องการการผลิตในรูปแบบของ Zero Inventory (ควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุด หรือให้เท่ากับศูนย์) ทำงานร่วมกับระบบคัมบัง (Kanban System หรือ Lean Production) ซึ่งถือได้ว่าเป็น “Supermarket Method” หรือ การติดบาร์โค้ดพร้อมรายละเอียดราคาลงบนสินค้า ระบบนี้ใช้แนวความคิดในการสร้างรหัสหรือโค้ดให้กับชิ้นส่วน พร้อมแจ้งรายละเอียดเอกสารติดพร้อมกับชิ้นส่วนทุกครั้งก่อนการส่งต่อไปยังแผนกอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการส่งต่อไม่ว่าจะเป็น พนักงาน ซัพพลายเออร์ ตัวแทนจำหน่าย และลูกค้าได้มีความเข้าใจตรงกันทั้งหมด

 

เทคโนโลยี Radio Frequency Identification กับ Logistics & Supply Chain

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีบริษัทชั้นนำหลายๆ แห่งในกลุ่มประเทศแถบยุโรปและอเมริกาได้นำเทคโนโลยี Radio Frequency Identification (RFID) มาใช้งาน ระบบนี้ได้รับแนวความคิดและอิทธิพลบางส่วนมาจากระบบ Kanban โดยในยุคแรกเริ่มของการพัฒนา RFID ถูกนำมาติดตั้งในอาวุธยุทโธปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน รถถัง หรือกระทั่งอาวุธประจำกายของทหาร ทั้งนี้เพื่อทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นมิตรหรือศัตรู ชิป RFID สามารถให้ข้อมูลและระบุตัวตนได้เร็วกว่าการใช้บาร์โค้ดถึง 10 เท่าและยังสามารถแจ้งตำแหน่งในระยะไกลได้อีกด้วย ในระยะต่อมา นำมาประยุกต์ใช้ในระบบโลจิสติกส์ ซึ่งสร้างความสะดวกสบายและความแม่นยำในการใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในอุตสาหกรรมยานยนต์ชิป RFID จะถูกติดอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ซึ่งทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถติดตามสินค้าคงคลังได้ตลอดเวลา สามารถควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพของชิ้นงานในระหว่างการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมจัดการสินค้าคงคลังได้ดีเนื่องจากเมื่อปริมาณของชิบ RFID เพิ่มขึ้นจะสามารถแสดงผลให้กับผู้ผลิตได้อย่างทันท่วงที และเมื่อมีความผิดปกติของคำสั่งในการผลิต ระบบที่แสดงผลจะทำการแจ้งเตือนเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดทันที ระบบนี้ยังทำให้การติดตามเป็นไปอย่างง่ายดายโดยการระบุความถี่ของชิบ RFID ให้กับแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีหลายร้อยล้านแท็ก RFID แล้ว แต่มันก็ยังคงความสามารถได้โดยไม่มีข้อผิดพลาดแต่อย่างใดทำให้ระบบ RFID ได้กลายเป็นเมกกะเทรนด์ใหม่ที่กำลังมีบทบาทสำคัญในวงการโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทานต่อไป

 

 

ผสานเทคโนโลยีการสื่อสารกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายมีความสำคัญอย่างมาก รวมถึงทางด้านระบบการจัดการโลจิสติกส์ การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือเพื่อทำการแสดงสถานะของสิ่งของผ่านการเชื่อมสัญญาณ GPS : Global Positioning System “ระบบการติดตามและบริหารรถขนส่งสินค้าผ่านดาวเทียม” หรือ GPRS : General Packet Radio Service (เทคโนโลยีที่ส่งสัญญาณจาก GPS สู่ศูนย์กลาง) ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเข้าไปในกระบวนการขนส่งสินค้า (Transportation) และการกระจายสินค้า (Cargoes Distribution) เพื่อควบคุมรถขนส่งให้วิ่งในเส้นทางและตารางเวลาที่กำหนด อีกทั้งควบคุมการใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนต่างๆ การใช้รถผิดวัตถุประสงค์ การใช้รถโดยสูญเปล่า เช่น การออกนอกเส้นทาง การขับรถเร็วเกิน กำหนด เป็นต้น

 

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจระหว่างบริษัท (Electronic Data Interchange, EDI)

และยังรวมไปถึงการแสดงความสัมพันธ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จะเป็นวิธีการแสดงสถานะของชิ้นงานว่าอยู่ในขั้นตอนไหนผ่านสื่อออนไลน์แต่มีความปลอดภัยทางด้านข้อมูลสูง โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจระหว่างบริษัท (Electronic Data Interchange, EDI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการจัดการไหลลื่นของข้อมูลข่าวสารในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ทั้งพนักงาน ซัพพลายเออร์ และตัวแทนจำหน่ายได้รับทราบถึงสถานะของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแต่มีจุดด้อยทางด้านความซับซ้อนของข้อมูลและมีค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปของ ebXML (Electronic Business using eXtensible Markup Language) เป็นภาษาที่มีโครงสร้างสามารถรองรับความ ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจระหว่างองค์กรได้ และยังเป็นภาษาของฐานข้อมูลบนเว็บและแอพพลิเคชั่นทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายและไม่ซับซ้อน แต่ยังคงความปลอดภัยสูงจึงทำให้สามารถ พบปะและแลกเปลี่ยนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบของ XML ซึ่งทำให้ ebXML สามารถใช้ได้ในทุกองค์กรและทุกสถานที่ เพื่อติดต่อ ทางธุรกิจผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐาน เช่น TCP/IP, HTTP และ XML กล่าวได้ว่า มาตรฐาน ebXML นับว่าเป็นอีดีไอยุคใหม่ในระบบห่วงโซ่อุปทานและระบบการจัดการทางธุรกิจที่ใช้งานผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถรองรับการพัฒนาระบบการดำเนินธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบและยังมีต้นทุนต่ำมากอีกด้วย

 

ตัวอย่างการใช้งานระบบ ebXML ที่ประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด นั่นคือ บริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนยักษ์ใหญ่อย่าง Apple Inc ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับจากสำนักวิจัย Gartner ประเทศสหรัฐอเมริกาว่าเป็นบริษัทที่มีการบริหารจัดการทางด้านห่วงโซ่อุปทานที่ดีที่สุดในโลกตลอด 11 ปี นับตั้งแต่มีการจัดลำดับ Apple Inc ถือเป็นผู้นำอันดับหนึ่งทางด้าน IT เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นจึงทำให้ Apple Inc พัฒนาระบบการจัดการและการสื่อสารส่งต่อข้อมูลทางด้าน Supply Chain ผ่านระบบการจัดการ ebXML นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าแอปเปิ้ลถือเป็นบริษัทหนึ่งที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และมีการออกสินค้ารุ่นใหม่วางจำหน่ายทุกๆ ครึ่งปี เป็นเหตุผลทำให้บริษัทจำเป็นจะต้องมีการจัดการระบบให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันต่อการเปิดตัวและวางจำหน่ายอีกทั้งยังสามารถส่งมอบให้กับผู้บริโภคทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดในโลก โดยในทุกขั้นตอนของกระบวนการดังรูปที่ 1 จะเสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนเท่านั้น

 

 

ห่วงโซ่อุปทานบางอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนสูงและประกอบไปด้วยกระบวนการต่างๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์เมื่อนำมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเราจะพบกับผู้ผลิต OEM มาก ดังนั้นการมีสินค้าคงคลังจำนวนมากอาจทำให้ต้องมีระบบการจัดเก็บขนาดใหญ่และสิ้นเปลืองพื้นที่และค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล ผู้ผลิตชั้นนำจะใช้วิธีการวางเป้าหมายการผลิตตามระยะเวลาที่กำหนด จากการศึกษาทางด้านหัวใจสำคัญการบริหารห่วงโซ่อุปทานให้ประสบความสำเร็จ โดยสำรวจจากกลุ่มผู้ประกอบการชั้นนำกว่า 500 บริษัท ทั่วโลกโดยไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ (PricewaterhouseCoopers, PwC) โดยสรุปพบว่าจะประกอบไปด้วย

Sumipol-Automation-Solution