[:en] [:th]   การแข่งขันวิศวกรรมราชมงคลวิชาการระดับชาติ สาขามาตรวิทยาด้านมิติ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ. เชียงใหม่   ระหว่างวันที่ 29 – 31 มกราคม 2561     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา   เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันราชมงคลวิชาการวิศวกรรมระดับชาติสาขามาตรวิทยาด้านมิติ ครั้งที่ 10 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์แสดงทักษะฝีมือแรงงานการวัดในระบบมาตรวิทยาเพื่อพัฒนาก้าวสู่มาตรฐานสากล ทั้งเป็นการสร้างความร่วมมือด้านวิชาการและนวัตกรรมการเรียนการสอนระหว่างเครือข่ายของมหาวิทยาลัยที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกับหน่วยงานภาครัฐเเละเอกชนที่มีข้อตกลงร่วมกัน     การแข่งขันมาตรวิทยาด้านมิติครั้งที่ 10   สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันไทย – เยอรมัน บริษัท มิตูโตโย (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ให้การสนับสนุนร่วมเป็นกรรมการจัดการแข่งขัน พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและการตัดสิน ตลอดจนจัดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบแข่งขันด้วย การแข่งขันฯจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารเรียนรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีทีมเข้าร่วมแข่งขันจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศรวม 11 ทีม จาก 10 สถาบัน โดยคุณอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน ผลการแข่งขัน รางวัลชนะเลิศ ได้เเก่ทีมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทั้งนี้ ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นประธานปิดการแข่งขัน     วิชามาตรวิทยาด้านมิติ   ถือเป็นกระบวนการในระบบควบคุมคุณภาพที่ทวีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะมาตรวิทยาด้านมิติมีการจัดการแข่งขันของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในระดับต่างๆ เป็นประจำ   บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด   ในฐานะผู้จัดจำหน่ายแต่งตั้งเครื่องมือวัดละเอียดด้านมิติของ MITUTOYO ผู้ผลิตชั้นนำของโลก ได้เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักในการจัดเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการแข่งขันรวมถึงการเป็นกรรมการควบคุมตัดสินมาอย่างยาวนาน กิจกรรมนี้ถือเป็นความสำเร็จและเกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่ภาคการศึกษาและการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้กับวงการอุตสาหกรรมที่กำลังเดินหน้าสู่ยุค 4.0 ตามนโยบายของรัฐ[:]