เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (Sumipol Institute of Manufacturing Technology – SIMTEC) ได้จัดประชุมคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล ประจำปี 2566 โดยมีนายทองพล อุลปาทร ผู้อำนวยการสถาบัน SIMTEC ได้รับมอบหมายจากนายจิระพันธ์ อุลปาทร ประธานคณะกรรมการสถาบัน SIMTEC ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานการประชุม พร้อมผู้บริหารและผู้แทน จาก 14 หน่วยงานความร่วมมือเข้าร่วมประชุมจำนวน 25 คน ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด สำนักงานใหญ่และศูนย์โลจิสติกส์ กรุงเทพฯ
โดยมีรายชื่อคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม ดังนี้
- นายยงยุทธ ใจซื่อดี ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาวิชาชีพด้านอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- นางสาวพนาวรรณ กล้าแข็ง ผู้อำนวยการกลุ่มความร่วมมือภาคเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- นายวิศรุต กองลี นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- นายไพโรจน์ พาสพิษณุ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาวิทยากรต้นแบบ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- นางสาวพิมพ์ฤทัย กัลป์ยาณวัจน์ นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- นายจุลนภ ศานติพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
- นายเอกรินทร์ ไชยยะ หัวหน้างานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
- นายธีรชัย ศรีสุวงศ์ หัวหน้างานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
- นางสาววิชชุดา สีมาขจร ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- นายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน ผู้อำนวยการสายงานบริการ 2 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
- คุณไพทิพย์ แท้เที่ยงธรรม ผู้จัดการฝ่ายบริหารหลักสูตรและพัฒนาวิชาการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
- นายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย
- นายสุพจน์ สุขพิศาล รองเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย
- นายสมชาย จักร์กรีนทร์ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันไทย-เยอรมัน
- นายพิริยพงศ์ แจ้งเจนเวทย์ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
- นายตรีพล บุณยะมาน รองผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์
- นายอนุสรณ์ ทนหมื่นไวย รองผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
- นายทองพล อุลปาทร ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTEC)
- นางสาวปองนัดดา อุลปาทร รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTEC)
- นายพงศ์พันธุ์ ชัยกุล ผู้จัดการฝ่ายความร่วมมือ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTEC)
- นายชัยรัตน์ บรรเทาทุกข์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTEC)
- นายธีระพล เปี่ยมสัมฤทธิ์ ผู้จัดการแผนกบริหารระบบคุณภาพ บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- นายเกียรติศักดิ์ เกษเสถียร ผู้จัดการแผนกวิศวกรรมบริการ บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
หลังจากที่ประธานคณะกรรมการฯได้กล่าวเปิดการประชุมและผู้แทนหน่วยงานความร่วมมือแนะนำตัวแล้ว จึงเริ่มการประชุมตามวาระ เริ่มจากนายธีระพล เปี่ยมสัมฤทธิ์ อ่านรายงานการประชุมคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล ครั้งที่ 1/2565 เพื่อขอมติที่ประชุมในการรับรองรายงาน หลังจากนั้นนายพงศ์พันธุ์ ชัยกุล ผู้จัดการฝ่ายความร่วมมือ สถาบัน SIMTEC เป็นผู้นำเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานของสถาบันฯ ประจำปี 2565 – 2566 การดำเนินการด้านการจัดกิจกรรมฝึกอบรม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นมีผู้เข้าอบรมประมาณ 10,519 คน และการเยี่ยมชมสถาบันฯประมาณ 2,494 คน การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพิ่มกับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย จำนวน xx หน่วยงาน (รอตรวจเช็คจำนวน)
ต่อจากนั้นนายเกียรติศักดิ์ เกษเสถียร ผู้จัดการแผนกวิศวกรรมบริการ บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้สรุปการดำเนินการจัดฝึกอบรมในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านระบบอัตโนมัติสู่อุตสาหกรรม 4.0 อันได้แก่หลักสูตร Lean IoT Plant Management and Execution (LIPE) จำนวน 6 หลักสูตร ระดับ Beginner, Expert, Evaluation, Energy, Quality และ Processing ซึ่งได้การสนับสนุนจาก AOTS หน่วยงานในสังกัด METI, รัฐบาลญี่ปุ่น, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแลสังคม (DEPA) แล้วเปิดโอกาสให้ผู้แทนหน่วยงานความร่วมมือได้เสนอแนะข้อคิดเห็น
สุดท้ายเป็นวาระการสอบถามและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ซึ่งที่ประชุมได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทางด้านการพัฒนาบุคลากรให้มากขึ้น สอดคล้องกับเทรนด์ด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศ ให้กระจายและครอบคลุมหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัย โดยเน้นผู้เข้ารับการอบรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมากขึ้น เพื่อรองรับความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจใน EEC ที่กำลังเดินหน้าอย่างเต็มที ณ ขณะนี้