“เครื่องมือ “ไม่เกิดประกายไฟ”(Non-sparking)” จึงเป็นตัวช่วยลดการเกิดประกายไฟจึงถูกนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงในการติดไฟหรือระเบิด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปฏิบัติงานไปตามขึ้นตอนในแบบประเมินความเสี่ยง และที่สำคัญมากคือการตรวจสอบปริมาณของแก๊สตามช่วงเวลากำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้แก๊สในบริเวณนั้นอยู่ในระดับเสี่ยงต่อการติดไฟหรือระเบิดเลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น ” Explosion proof “ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าต่างๆรวมทั้งการระบายอากาศเพื่อให้ส่วนผสมของแก๊สกับอ็อกซิเจนไม่อยู่ในช่วงเสี่ยงต่อการจุดติดไฟหรือการระเบิดโดยใช้เครื่องวัดแก๊สตรวจสอบระดับปริมาณส่วนผสมดังกล่าวเป็นระยะกำหนด
โดยทั่วไปเราจะคิดว่าเครื่องมือที่ไม่เกิดประกายไฟควรใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีแหล่งกำเนิดไฟเป็นหลัก แต่จริงๆแล้วยังรวมถึงไปถึง
- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมในสภาพแวดล้อมที่อาจมีของเหลวไวไฟไอระเหยหรือฝุ่นหรือสิ่งตกค้างที่ติดไฟได้
- การเก็บรวบรวมการถือครองและการถ่ายโอนของเหลวไวไฟ
- สถานที่ปฏิบัติงานที่มีอุณหภูมิสูง
- ทำงานในพื้นที่ จำกัด
- การขนส่ง (สนามบิน, ทางรถไฟ, รถบรรทุกน้ำมัน, อู่ต่อเรือ)
- การดำเนินงานด้านเคมีภัณฑ์ปิโตรเคมีและแก๊ส
- ใช้งานในพื้นที่ราชการ
- สาธารณูปโภคการจัดการขยะการตอบสนองต่อวัตถุอันตราย การใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด