Connectors
- คอนเน็คเตอร์ ได้รับการออกแบบให้มีหลายขนาด, รูปร่าง, ความซับซ้อน, ระดับคุณภาพ, ฟังก์ชั่นการทำงานและคุณสมบัติที่แตกต่างกันเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเชื่อมต่อ และเนื่องจากตัวเชื่อมต่อจำนวนมากต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย จึงได้มีการพัฒนาโครงสร้างเพื่อป้องกันจากการสั่นสะเทือน อุณหภูมิสูง สิ่งสกปรก น้ำ สารปนเปื้อนและอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะใช้สำหรับเชื่อมวงจรไฟฟ้าเข้าด้วยกันเพื่อส่งพลังงาน สัญญาณและข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
Fuse Holders
- บล็อกฟิวส์ เป็นอุปกรณ์สำหรับบรรจุ ป้องกันและติดตั้งฟิวส์ภายในวงจรไฟฟ้าของเครื่องกลต่างๆ และในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติภายในวงจรฟิวส์จะระเบิด บล็อกฟิวส์จึงเป็นตัวช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับวงจรหรืออุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งคุณสมบัติทั่วไปของบล็อกฟิวส์ ได้แก่ มีไฟแสดงสถานะ ป้องกันน้ำ ป้องกันการสั่นสะเทือน และป้องกันฟิวส์ขาด สำหรับบล็อกฟิวส์ที่แตกต่างกันออกแบบมาเพื่อใช้กับฟิวส์ประเภทต่างๆ ได้อย่างลงตัว
Terminal Blocks
- เทอร์มินอลบล็อก คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างสายไฟและเป็นจุดพักสายไฟต่างๆ อาทิ สายไฟฟ้า สายเคเบิล หรือสายโทรศัพท์ มีลักษณะเป็นบล็อกแบบแยกส่วนที่มีกรอบหุ้มฉนวนซึ่งประกอบไปด้วยชิ้นส่วนจับยึดและแถบนำไฟฟ้า เทอร์มินอลบล็อกได้มีการผลิตออกมาหลายประเภทแต่ที่นิยมใช้งานในโรงงานมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ ชนิดหัวสกรูและชนิดเสียบสายล็อค โดยจะมีประโยชน์ในด้านการจัดสายไฟให้เป็นระเบียบ แถมยังช่วยให้การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาของสายไฟทำได้อย่างง่ายดายและสะดวก ซึ่งจะสามารถพบการใช้งานได้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือตามอาคารสำนักงานต่างๆ
Switches
- สวิตช์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยการเปิด – ปิด ส่วนใหญ่ปุ่มกดจะเป็นพลาสติกหรือโลหะซึ่งได้มีการผลิตออกมาหลายรูปแบบตามลักษณะของการใช้งาน เช่น ไมโครสวิตซ์ ลิมิตสวิตซ์ คอนแทคสวิตซ์ และสวิตซ์เท้าเหยียบ ฯลฯ สวิตช์จึงเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการทำงานในระบบอัตโนมัติที่ติดตั้งบนเครื่องมือเครื่องจักร เครื่องจักรกลงานไม้ จักเย็บผ้าอุตสาหกรรม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น
Cooling Fans
- พัดลมระบายความร้อน คือ ระบบระบายความร้อนด้วยการบังคับอากาศซึ่งจะทำให้แหล่งความร้อนของอุปกรณ์และภายในแผงควบคุมเย็นลงด้วยลมเป่าจากพัดลม โดยมีการผลิตหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการการระบายความร้อนเฉพาะในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ระบายความร้อนอุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ควบคุม และอุปกรณ์จ่ายไฟ เป็นต้น
Power Supplies
- แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการแปลงกระแสไฟฟ้าหลัก AC. (กระแสสลับ) เป็นแรงดันไฟฟ้าต่ำ D.C (กระแสตรง) เพื่อจ่ายกำลังให้กับเมนบอร์ดและส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX ซึ่งในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะนิยมใช้หน่วยจ่ายไฟแบบ ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟ
Inverters
- อินเวอร์เตอร์ เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และได้ถูกนำมาใช้ในงานที่หลากหลายตั้งแต่อุปกรณ์จ่ายไฟแบบสวิตช์ขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงแอพพลิเคชั่นไฟฟ้าขนาดใหญ่ ตลอดจนการขนส่งพลังงานจำนวนมากสำหรับระบบสายพานลำเลียงในโรงงานการผลิต เป็นต้น
Transformers
- หม้อแปลงไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์แบบคงที่ซึ่งถ่ายโอนพลังงานไฟฟ้าจากวงจรหนึ่งไปยังอีกวงจรหนึ่งผ่านกระบวนการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า โดยทั่วไปจะใช้เพื่อเพิ่มหรือลดระดับแรงดันไฟฟ้าระหว่างวงจร ซึ่งมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ แกนเหล็ก ขดลวดตัวนำ และฉนวน นอกจากนี้ยังได้รับการออกแบบมาหลากหลายประเภทและสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ ดังนี้ หม้อแปลงกำลัง หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ หม้อแปลงเครื่องมือวัด และหม้อแปลงเฉพาะงาน ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องพิจารณาและเลือกประเภทของหม้อแปลงให้มีความเหมาะสมกับงานเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด หม้อแปลงไฟฟ้าจึงสามารถพบเห็นการใช้งานทั่วไปตั้งแต่บ้านเรือนที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่