ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิตความบกพร่องล้มเหลวของเครื่องจักรและอุปกรณ์ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ  ไม่ว่าจะได้รับการบำรุงรักษาอย่างดีเพียงใด ก็มีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดที่ไม่คาดคิดได้เสมอ จึงที่มาของการบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหาย ซึ่งเป็นแนวทางการบำรุงรักษาเชิงรับ เพื่อจัดการกับความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเป็นที่ต้องการและถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายเป็นกลยุทธ์สำรองที่จำเป็นเพื่อให้การผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่น

การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหาย (Breakdown maintenance) คืออะไร?

การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหาย (Breakdown maintenance) คือ กลยุทธ์การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังจากเกิดความเสียหายหรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ด้วยปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายหรือเกิดการหยุดทำงานจนทำให้การผลิตล่าช้า โดยต้องซ่อมแซมให้กลับเป็นสภาพปกติอีกครั้ง

การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายมี 2 ประเภท    

1.การบำรุงรักษาตามแผน

การบำรุงรักษาตามแผนหมายความว่าผู้ผลิตเตรียมพร้อมสำหรับการเกิดความเสียหายและคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น อุปกรณ์มีการทำงานจนกว่าจะเสียหาย ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการบำรุงรักษาแบบ Run to failure (RTF) ไม่สามารถวางแผนไว้ได้ แต่แผนการบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายจะใช้ RTF เป็นวิธีลดต้นทุนการบำรุงรักษา แผนประเภทนี้จำเป็นต้องจัดทำเป็นเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction – WI) และการควบคุมอย่างเข้มงวด ผู้ดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์ควรมีความชัดเจนว่าส่วนใดจะพังและส่วนใดจะได้รับการบำรุงรักษาตามปกติผ่านการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หากไม่มีการตรวจสอบเหล่านี้ แผนการบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายจะเกิดการทำงานที่ผิดพลาดได้

2.การบำรุงรักษาแบบไม่ได้วางแผน

การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหาย โดยไม่ได้วางแผนเกิดขึ้นเมื่อชิ้นส่วนของอุปกรณ์เกิดขัดข้องหรือพังโดยไม่คาดคิด ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าเหตุการณ์หยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผน แม้ว่าสถานที่บางแห่งอาจไม่ใช้แผนการบำรุงรักษาตามแผน แต่สถานประกอบการเกือบทุกแห่งต้องเตรียมการด้านทรัพยากรให้พร้อมสำหรับสถานการณ์สำหรับการบำรุงรักษาที่ไม่ได้วางแผนไว้ แต่ท้ายที่สุดแล้วอุปกรณ์ทุกชิ้นจะแตกหักหรือเสียหายเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง

สิ่งสำคัญสำหรับการบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหาย

  • การวางแผนทรัพยากร เพื่อให้การแก้ไขเครื่องจักรเมื่อมีอาการเสียหรือชำรุดเกิดขึ้นสามารถดำเนินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ควรมีการวางแผนทรัพยากรเป็นอย่างดี เช่น การจัดสรรช่างซ่อมบำรุงและอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
  • การวิเคราะห์สาเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรมีอาการเสียหรือชำรุดซ้ำเติม ควรมีการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดการชำรุดขึ้น เพื่อหาวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้อีก
  • การบันทึกข้อมูล เพื่อให้สามารถวิเคราะห์เหตุผลและแนวโน้มการเสียหรือชำรุดของเครื่องจักรได้ ควรมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเกิดเหตุขัดข้องของเครื่องจักร เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และปรับปรุงกลยุทธ์การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหาย (Breakdown maintenance) ต้องคำนึงถึงปัจจัยใดบ้าง?

  • การประหยัดค่าใช้จ่าย การแก้ปัญหาความล้มเหลวของอุปกรณ์อย่างทันท่วงที ผู้ผลิตสามารถหลีกเลี่ยงการบํารุงรักษาที่ไม่จําเป็นและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ การบํารุงรักษาตามแผนอาจมีราคาแพงและใช้เวลานาน รวมถึงการตรวจสอบการเปลี่ยนหรือการซ่อมแซมที่อาจไม่จําเป็น
  • ลดเวลาหยุดการทํางานของอุปกรณ์ ความล้มเหลวของอุปกรณ์สามารถส่งผลต่อแผนการผลิตให้เกิดความล่าช้าและการสูญเสียผลผลิต การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายได้รับการออกแบบมาเพื่อลดเวลาหยุดทํางาน โดยการตอบสนองและการซ่อมแซมอย่างรวดเร็ว ช่วยลดผลกระทบต่อผลผลิตโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การบำรุงรักษาตามสภาพ การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายยังทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ ด้วยการวิเคราะห์สาเหตุของความล้มเหลวและสภาพของเครื่องจักร ผู้ผลิตสามารถระบุรูปแบบหรือปัญหาพื้นฐานที่อาจไม่ปรากฏในระหว่างการตรวจสอบตามปกติ ข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกลยุทธ์การบำรุงรักษาและพิจารณาการอัปเกรดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน ในบางอุตสาหกรรมดำเนินการด้วยเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่สำคัญ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมแซมได้ง่าย เช่น ในภาคส่วนการดูแลสุขภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์การวินิจฉัยจะต้องพร้อมใช้งานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีนี้ การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายกลายเป็นวิธีสำคัญในการรับประกันการทำงานอย่างต่อเนื่องของเครื่องจักรที่จำเป็น ป้องกันการหยุดชะงักที่อาจส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วยหรือความปลอดภัยของผู้ป่วย
  • ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายทำให้มีความยืดหยุ่นในการจัดสรรทรัพยากร เนื่องจากเน้นไปที่การซ่อมแซมทันทีแทนที่จะทำตามตารางการบำรุงรักษาแบบตายตัว ช่วยให้ทีมบำรุงรักษาปรับตัวเข้ากับลำดับความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยจัดสรรทรัพยากรตามความเร่งด่วนและวิกฤตของความล้มเหลวของอุปกรณ์ ความยืดหยุ่นนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมแบบพลวัต (Dynamic) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน ซึ่งการใช้งานอุปกรณ์และเงื่อนไขอาจแตกต่างกันอย่างมาก

สรุป

การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหาย (Breakdown Maintenance) มีบทบาทสำคัญในการจัดการกับความเสียหายของอุปกรณ์อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การบำรุงรักษาเชิงป้องกันยังคงเป็นแนวทางที่ต้องการเพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด การบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหายทำหน้าที่เป็นกลยุทธ์สำรอง เพื่อจัดการกับปัญหาที่คาดไม่ถึง ด้วยการรวมแนวทางการบำรุงรักษาเชิงรุกและเชิงรับ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ผู้ผลิตสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือในการบำรุงรักษา รวมถึงอายุการใช้งานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ยาวนานขึ้น

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิต หรือ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ สามารถสอบถามได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องจักรกล เครื่องมือและอุปกรณ์คุณภาพสูงพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่

บริการด้านปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงไลน์การผลิต ด้วยการวิเคราะห์ไลน์การผลิตจากหน้างานจริงเพื่อพัฒนาวางแผนระบบควบคุมการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและระบบเก็บข้อมูลด้วย IoT

สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากสุมิพล สามารถติดต่อได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่