เมื่อพูดถึงการทำงานในยุคปัจจุบัน การใช้ ‘เวลา’ ให้มีประโยชน์มากที่สุดนับเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่นๆ ทำให้ Lead Time เป็นอีกตัวแปรที่ถูกใช้งานอยู่บ่อยครั้งเมื่อมีการวางแผนการผลิต ความหมายของมันคืออะไรกันแน่ ที่นี่มีคำตอบ

Lead Time คืออะไร มีประโยชน์อะไรกับโรงงาน

Lead Time หรือ ช่วงเวลานำการผลิต คือ ช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการผลิต สามารถหาได้ด้วยการรวมเวลาตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ การสร้างชิ้นงาน จนถึงการ QC แล้วแต่ว่าในโรงงานนั้นจะมีกระบวนการต่างๆ แยกย่อยไปขนาดไหน

การคำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่ง Lead Time จะทำให้ทางผู้ประกอบการเห็นประสิทธิภาพของโรงงานตัวเองได้ตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ สามารถนำไปใช้งานต่อได้หลากหลาย ตั้งแต่การคำนวณต้นทุนในการทำงาน การประเมินระยะเวลาการทำงานก่อนส่งมอบงานให้ลูกค้า และการตรวจสอบจุดอ่อน จุดแข็งของโรงงาน เป็นต้น

lead-time-01

ประเภทของ Lead Time และข้อควรรู้อื่นๆ

ทำไมบางคนถึงสับสนเมื่อพูดถึง Lead Time ? เรื่องนี้อาจจะต้องย้อนดูความหมายที่แท้จริงของ Lead Time ซึ่งคือ “ช่วงเวลารวมตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ” ซึ่งเราจะสามารถตีความ “กระบวนการ” เป็นรูปแบบใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสั่งสินค้า ช่วงเวลาในการนำส่งวัตถุดิบ หรือ กระบวนการผลิต เช่น

Customer Lead Time: ช่วงเวลาตั้งแต่การยืนยันคำสั่งสินค้าจนถึงการได้รับสินค้าของลูกค้า
Material Lead Time: ช่วงเวลาการยืนยันคำสั่งวัตถุดิบจาก Supplier จนถึงเวลาที่ได้รับวัตถุดิบ
Production Lead Time: ช่วงเวลาในการสร้างชิ้นงานเมื่อวัตถุดิบพร้อม
Cumulative Lead Time: ช่วงเวลานำสะสม ตั้งแต่การยืนยันคำสั่งสินค้า การสร้างชิ้นงานจนถึงการส่งสินค้า

แน่นอนว่า Lead Time รูปแบบอื่นๆ ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่บ้างตามการตีความของแต่ละฝ่าย นั่นทำให้สูตรการคำนวณ Lead Time ไม่ค่อยตายตัว โดยส่วนมากจะเป็นการนับเวลารวมกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่เริ่มจนจบเสียมากกว่า และจะปรับเปลี่ยนไปตามการทำงานจริงของโรงงานนั้นๆ นั่นเอง

การลด Lead Time ในการผลิต

การลด Lead Time ในการผลิต สามารถทำได้ด้วยการวางแผนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Lead Time ทุกอย่าง เพื่อดูว่ามีจุดบกพร่องในส่วนไหนบ้าง โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • ใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อความรวดเร็วในการสร้างชิ้นงาน
  • จัดสรรพื้นที่ภายในโรงงานให้เหมาะสม เพื่อการขนย้ายสินค้าและวัตถุดิบที่ดีมากขึ้น
  • ใช้ระบบ Automation และ IoT เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานและการตรวจสอบ
  • ปรับปรุงระบบ QC เพื่อการทำงานแบบ Zero Defect ลดเวลาในการซ่อมหรือแก้ไขชิ้นงาน

lead-time-02

ศัพท์เกี่ยวกับเวลาประเภทอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Cycle Time: ระยะเวลาการผลิต 1 รอบกระบวนการต่อสถานีงาน เช่น สถานีงาน 1 สถานีใช้เวลาทั้งหมด 30 วินาที เป็นต้น

Takt Time (T/T): ความเร็วในการผลิต สามารถคิดได้จาก เวลาทำงานสุทธิใน 1 วัน/จำนวนชิ้นงานที่ต้องการต่อวัน

Production Line : คือ กระบวนการในการผลิตตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต กระบวนการแปลงสภาพ และสุดท้ายผลผลิต หรือเรียกว่า ไลน์การผลิต

สรุปบทความ

การคำนวณหา Lead Time ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ภายใต้การทำงานในปัจจุบันที่เน้นความรวดเร็วและสมบูรณ์แบบมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากจะทำให้ทางผู้ประกอบการเห็นภาพมากขึ้นว่าระบบทั้งหมดมีการทำงานแบบไหน ตรงไหนช้า ตรงไหนเร็ว และสามารถเจรจากับทางฝั่งลูกค้าได้ว่าทางโรงงานจำเป็นต้องใช้เวลาแค่ไหนในการดำเนินการเมื่อมีการผลิตสินค้า

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคำนวณในระบบอุตสาหกรรมหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถสอบถามได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงไลน์การผลิต ด้วยการวิเคราะห์ไลน์การผลิตของคุณจากหน้างานจริงเพื่อพัฒนาวางแผนระบบควบคุมการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและระบบเก็บข้อมูลด้วย IoT

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่