หนึ่งในพื้นฐานงานวิศวกรรมที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนั่นคือการกลึง ซึ่งเป็นกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะในรูปแบบทรงกระบอกสมมาตรเป็นหลักโดยอาศัยเทคนิคการทำงานที่หลากหลายตามความต้องการ ทั้งนี้สิ่งที่คุณควรจะต้องรู้จักในเบื้องต้นก่อนการเรียนรู้การกลึงงานจริงมีหลายประการ ตัวอย่างเช่น การเลือกรูปแบบการกลึง ทำความรู้จักกับวัสดุเครื่องมือตัดให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน การคำนวณหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับงานตัดแต่ละประเภท โดยลักษณะที่สำคัญของการกลึงงานคือชิ้นงานจะเป็นตัวหมุนและทูลหรือมีดกลึงจะวิ่งเข้าหาชิ้นงานเพื่อกำหนดขนาดของงาน ดังนั้นการคำนวณหาความเร็วของหัวหมุน(Spindle) จะพิจารณาจากเส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นงานเป็นหลัก

การเลือกรูปแบบการกลึง

ในการเลือกรูปแบบการกลึง พิจารณาจากรูปแบบชิ้นงานที่ต้องการผลิตโดยมีตั้งแต่ตั้งแต่งานกลึงปาดหน้า, งานกลึงปอก, งานกลึงเกลียว, งานกลึงคว้านรูใน, งานกลึงเซาะร่อง, งานกลึงตัด เป็นต้น โดยในแต่ละรูปแบบอาศัยลักษณะของเครื่องมือและวิธีการกลังที่แตกต่างกันออกไป ดังแสดงในรูปที่ 1

การเลือกวัสดุเครื่องมือตัดให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน

เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดการทำงานกลึงนั่นคือการได้มาซึ่งความแม่นยำ และประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมที่ดีที่สุด ดังนั้นวัสดุที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือจะต้องมีคุณสมบัติ ความแข็งสูง (Higher Hardness) ความเหนียวสูง (Higher Toughness) ทนทานต่อการสึกหรอ (Excellent Wear Resistance) ทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมี และทนต่ออุณหภูมิสูง (Excellent Chemical & Temperature Stability) ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องมือตัดแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่เน้นความแข็งที่มากกว่าชิ้นงานและมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็นหลายชนิดได้แก่

  • HSS = High  Speed Steel หรือเหล็กกล้ารอบสูง
  • Carbide = WC (ทังสเตนคาร์ไบด์) + Co (โคบอลต์) (ความแข็ง 21 mHv)
  • Cermet = TiC (ไททาเนียมคาร์ไบด์) (ความแข็ง 25 – 29 mHv) +Ni (นิเกิล) (ความแข็ง 31 mHv)
  • Ceramic = Al2O3(อะลูมิเนียมออกไซด์)  , Si3N4(ซิลิคอนไนไตรด์)
  • cBN = Cubic Boron Nitride (ความแข็ง 44 mHv)
  • PCD = Polycrystalline Diamond (ความแข็ง > 90 mHv)

ทั้งนี้บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือตัดได้แบ่งเกรด INSERT CARBIDE ตาม MATERIAL ของชิ้นงาน เช่น เหล็ก , สแตนเลส , เหล็กหล่อ โดยแสดงในรูปของสัญลักษณ์มาตรฐานเพื่อความง่ายในการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละชนิดของผู้ใช้งานดังรูปที่ 2 ทั้งนี้ในแต่ละเครื่องมือสามารถแสดงสัญลักษณ์ได้มากกว่า 1 อย่างซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น

การคำนวณหาเงื่อนไขการตัดขึ้นรูปในงานกลึง

สูตรการคำนวณนี้ สำหรับใช้คำนวณความเร็วตัด อัตราป้อนงาน หรือค่าอื่นๆ ในเบื้องต้นที่ส่งผลต่อการตัดเฉือนด้วยเครื่องกลึงอัตโนมัติ เครื่องกลึงทั่วไป หรือเครื่องกลึงกัดหลายแกน และหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการตัดชิ้นงาน

ดังที่กล่าวในข้างต้นเป็นหลักการพื้นฐานในการกลึงชิ้นงานอย่างง่าย ทั้งนี้ในสภาวะการกลึงชิ้นงานจริงยังมีปัจจัยที่ควรคำนึงถึงอีกหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การควบคุมเศษ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่มีผลต่อการกลึงชิ้นงาน การหาอัตราการใช้น้ำหล่อเย็นที่เหมาะสมในการกลึงชิ้นงานแต่ละประเภท เป็นต้น

สรุปบทความ

การกลึงคืออีกหนึ่งความรู้ที่น่าสนใจในงานวิศวกรรมที่หลายคนอาจมองข้าม ซึ่งมีความสำคัญทั้งการเลือกวัสดุและการคำนวณเวลากลึง ผู้ที่ต้องการทำงานกลึงให้ดีควรมีความรู้พื้นฐานในจุดนี้เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกและใช้งานอุปกรณ์การกลึง ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการผลิต หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถสอบถามได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้าน Machining Solution จากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือตัดแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษาเบื้องต้น การลับคม เคลือบผิว ซ่อมแซม ด้วยทีมงานช่างและเครื่องมือที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากแบรนด์ชั้นนำในระดับสากล

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

Sumipol-machining-tools