ตอนที่ 2 คราวนี้ผมเลือกใช้ไดอัลเกจรุ่น 543-260(SPC) ที่มีความสามารถในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ส่งผ่านข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย ทั้งนี้ผู้ใช้งานจะต้องรู้ว่าจะเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วย USB อย่างไร และที่สำคัญจะต้องเลือกหัวต่อที่เหมาะสมกับเครื่องมือวัดแต่ละชนิดด้วย ดังรูปที่ 1 สำหรับการสอบเทียบฟิลเลอร์เกจแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ดังรูปที่ 2 คราวนี้เราเพียงแต่ติดตั้งไดอัลเกจให้หัววัดสัมผัสกับเกจบล็อกแล้วปรับให้ไดอัลเกจเป็นศูนย์ “0” สำหรับตำแหน่งอ้างอิง

จากนั้นนำฟิลเลอร์เกจ (ตำแหน่งที่ 1 ถึง 5) ไปไว้ระหว่างหัววัดของไดอัลเกจกับเกจบล็อกทำการบันทึกผลโดยการเยียบ Foot switc ระบบจะทำการบันทึกข้อมูลที่อ่านได้จากไดอัลเกจไปไว้ที่คอมพิวเตอร์ทันที แค่นี้การสอบเทียบฟิลเลอร์เกจก็เป็นเรื่องง่ายมากๆ สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่ต้องการนำระบบนี้ไปประยุกต์สำหรับสอบเทียบชิ้นงานอื่นๆก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

คอลัมน์ Measure Expert เกิดขึ้นเนื่องจากหลายท่าน มีคำถามเกี่ยวกับการวัดด้านมิติ แต่ไม่รู้จะหาคำตอบได้จากที่ไหนหรือจะไปถามใคร สุมิพลฯ ได้รับเกียรติ อย่างสูงจาก อาจารย์อนุสรณ์ ทนหมื่นไวย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้มาช่วยไขข้อสงสัยและแนะนำ Tips หากผู้อ่านสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษก็ขอเชิญสอบถามเข้ามาได้ที่ สุมิพลฯ จะพยายามหาคำตอบมาให้

อนุสรณ์ ทนหมื่นไวย
หัวหน้าห้องปฏิบัติการความยาว และรักษาการหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยามิติ
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้คร่ำหวอดทางด้านงานมาตรวิทยาทางด้านมิติ มีผลงานทั้งการวิจัยและเป็นวิทยากรที่ได้รับความเชื่อถือในวงการมามากกว่า 20 ปี
และเป็นอาจารย์พิเศษหลักสูตรวิศวกรรมมาตรวิทยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี