เครื่องวัด 3 มิติในปัจจุบัน

เทคโนโลยีการวัดด้วยเครื่องวัด 3 มิติ ถูกค้นคว้าและพัฒนาขีดความสามารถจนถึงขั้นเรียกได้ว่าเป็น “เครื่องมือวัดอย่างแท้จริง” เครื่องวัด 3 มิติความแม่นยำสูงรุ่น LEGEX ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือตรวจวัดที่มีความแม่นยำสูงที่สุดในโลก โดยเครื่องวัด 3 มิติขนาดใหญ่นี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในงานตรวจสอบชิ้นส่วน ตัวถังรถยนต์ หรือกระทั่ง แม่พิมพ์ เป็นต้น ลำดับต่อไป คือ ระบบแขนคู่ของเครื่องวัด 3 มิติ รุ่น CARBstrato เป็นระบบที่สามารถวัดชิ้นงานขนาดใหญ่ได้ และสุดท้ายคือ เครื่องวัดรุ่น MACH-V หรือ MACH-3A เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อวัดชิ้นงานด้วยความเร็วสูง มีรูปร่างกะทัดรัดเหมาะสำหรับใช้ในหน้างานที่มีเครื่องจักรอื่นๆที่ติดตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิใช้ในงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันเครื่องวัด 3 มิติเหล่านี้ ล้วนแต่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่องานวัดที่แม่นยำ ใช้งานได้กับเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ด้วยสายการพัฒนาเดียวกัน

 

 

ความต้องการของตลาดในปัจจุบัน

เครื่องวัด 3 มิติ ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างหลากหลาย และในกลุ่มผู้ใช้งานก็ยังมีความต้องการให้พัฒนารูปแบบใหม่ๆ ออกมา ดังต่อไปนี้ (1) ต้องการใช้งานในราคาที่ไม่สูงมากและเรื่องระดับการควบคุมอุณหภูมิ (2) ต้องการเห็นพื้นผิวชิ้นงานที่นำมาวัดเป็นโครงสร้างดิจิทัลทั้งหมด (3) ต้องการลดระยะเวลาที่ใช้ในการวัดให้สั้นลง (4) ต้องการให้ค่าวัดตรงกับไฟล์ข้อมูลของ 3D-CAD (5) ต้องการให้เครื่องวัดสามารถตรวจสอบสภาพและความหนาของวัสดุในขั้นตอนก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปได้อย่างชัดเจน ด้วยระยะเวลาอันสั้น (6) ต้องการนำไปใช้ในงานออกแบบ งานเขียนแบบ งานทดลองผลิต งานผลิตจำนวนมาก มูลเหตุของความต้องการเหล่านี้สืบเนื่องมาจากการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม จนเป็นที่มาของการคิดค้นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า HEV, EV ขึ้น ความต้องการในการผลิตรถยนต์ที่มีน้ำหนักเบาลง รวมไปถึงวัสดุชนิดใหม่อีกมากที่นำมาใช้ผลิตตัวถังเครื่องบินเพื่อตอบสนองต่อราคาเชื้อเพลิงเครื่องบินที่ได้ปรับตัวสูงขึ้น การที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องวัด 3 มิติ ให้ตามทันเทคโนโลยีดังกล่าวได้นั้น จำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงทิศทางในการพัฒนาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน กล่าวคือ จะต้องทำการพัฒนาด้วย “วิถีใหม่” และจากการพัฒนาขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีเซ็นเซอร์หรือระบบการแก้ไขความคลาดเคลื่อนได้นั้นนับได้ว่าเป็นแรงขับเคลื่อนที่นำไปสู่ “วิถีใหม่” ได้เป็นอย่างดี

 

คีย์เวิร์ดคือ “การวัดโดยไร้การสัมผัส”

การที่จะก้าวเข้าสู่ “วิถีใหม่” ได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีการวัด จาก “วิธีวัดแบบจุด” หรือ “วิธีวัดมูลฐาน” ไปยัง “การวัดแบบพื้นผิว” หรือ “การวัดแบบประเมินผลโดยรวม” เช่นเดียวกับการออกแบบโดย 3D-CAD ที่สามารถกำหนดพื้นผิวโค้งเว้าได้อย่างอิสระ จึงทำให้การทำงานมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทางด้านเครื่องมือวัดเองก็ย่อมถูกคาดหวังให้สามารถวัดพื้นผิวรอบด้านของงานดังกล่าวที่ออกแบบโดย 3D-CAD ได้ด้วยเช่นกัน ทว่า การวัดพื้นผิวทั้งหมดด้วยระบบสัมผัสของเซ็นเซอร์ย่อมก่อให้เกิดการสูญเสียเวลาเป็นอันมาก ด้วยเหตุนี้ “การวัดแบบสัมผัส” จึงเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญเพียงทางเดียวที่จะตอบสนองต่อความต้องการใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ลำดับถัดไป จะขอแนะนำให้ทุกท่านพบกับสินค้าใหม่ของมิตูโตโยที่พัฒนาขึ้นโดยเราจะยึดคีย์เวิร์ด “การวัดแบบไร้สัมผัส” เป็นสำคัญ SurfaceMeasure 606 เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องวัด 3 มิติ รุ่น “Line sensor laser” พบว่าเครื่องวัดรุ่นใหม่นี้ มีความเร็วในการสแกนสูงและมีราคาย่อมเยา โดยชิ้นส่วนต่างๆ จะประกอบไปด้วยส่วนหัวหมุนรุ่น PH-10 เพื่อการปรับเปลี่ยนท่วงท่าหลากหลายทิศทาง (720 ทิศทาง) และความสามารถเข้าถึงชิ้นงานได้ทุกองค์ประกอบ ส่วน “Auto joint” จะใช้สำหรับเปลี่ยนชิ้นอุปกรณ์ในเครื่องวัดเซ็นเซอร์แบบสัมผัสทั่วไป โดยสามารถเปลี่ยนเซ็นเซอร์แบบสัมผัสได้อัตโนมัติ และวัดได้อย่างต่อเนื่องนี้ก็เสมือนเป็นการวัดแบบไร้สัมผัสนั่นเอง

 

 

MSURF ซอฟท์แวร์สำหรับ SurfaceMeasure 606 ถูกกำหนดค่าไว้ดังต่อไปนี้

MSURF-Sซอฟท์แวร์ที่สามารถใช้งานในขณะที่กำลังสแกนชิ้นงานได้ โดยทำการกำหนด “จุดเริ่มต้นสแกน” “ความยาวและความกว้างของการสแกน” แล้วจึงทำการสแกนแบบอัตโนมัติ ซึ่งกระบวนการวัดที่ดำเนินการจนเสร็จสิ้นไปแล้วครั้งหนึ่ง จะถูกบันทึกเป็นการวัดโดยชุดคำสั่งนี้ จะสามารถเรียกใช้งานซ้ำเพื่อการวัดและแก้ไขข้อมูลได้ อีกทั้ง กลุ่มข้อมูลที่ผ่านการสแกนแล้วก็สามารถนำออกเป็นข้อมูล หรือไฟล์ STL ได้เช่นกัน MSURF-Iกลุ่มของจุดสามมิติ หรือ Mesh Data ที่ใช้ในการวัดนั้น จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ CAD Data และจะทำการแสดงผลความคลาดเคลื่อนในรูปแบบ Color Map หากมีการสแกนข้อมูลในส่วนพื้นผิวด้านหลังจะมีการแสดงค่า Color Map ที่บอกความหนาของตัววัสดุได้ สามารถใช้งานได้ทั้งงานวัดองค์ประกอบที่เป็นแบบจุด เส้นตรง ผิวเรียบ ผิวกลม ส่วนโค้ง หรือใช้สุ่มวัดหรือคำนวณค่าทางเรขาคณิตในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผ่านกระบวนการบีบอัดได้ เช่น สลักเกลียวสองปลาย เวลดิ้งนัท ขวดแก้ว ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสามารถตัดแบ่งกลุ่มของจุดสามมิติ หรือ Mesh Data ได้ อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์ชิ้นงานในรูปแบบภาพตัดขวางได้อีกด้วย เทคโนโลยีการวัดด้วยเครื่องวัด 3 มิตินี้ ล้วนแต่ก้าวหน้าไปตามการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการผลิตอย่างก้าวกระโดด ความต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และจำนวนเซ็นเซอร์ที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ วัน ขอเชิญทุกท่านพบกับเครื่องวัด 3 มิติสุดล้ำสมัย พร้อมสัมผัสประสบการณ์อย่างใกล้ชิดได้ที่โชว์รูมบริษัท มิตูโตโย (ประเทศไทย) จำกัด สาขาชลบุรี (Amata City)

 

Sumipol-Measuring-tools