ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในงานอุตสาหกรรม  โดยเฉพาะระบบอัตโนมัติ (Automation) ในไลน์การผลิต บทบาทของ เซ็นเซอร์ จึงเพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ การตรวจวัดค่าต่างๆ ที่เกิดขึ้นในไลน์การผลิต ซึ่งในบทความนี้จะพาคุณไปรู้จักหลักการทำงานและจุดเด่นของเซนเซอร์ประเภทต่างๆ 

เซ็นเซอร์ (Sensor) คืออะไร ? 

อุปกรณ์ วงจร หรือ ระบบที่ทําหน้าที่ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ หรือลักษณะของสิ่งต่างๆ โดยรอบวัตถุเป้าหมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง รูปร่าง ความยาว ความสูง และการกระจัด แล้วนำข้อมูล (Big Data) ที่ได้จากการตรวจวัดเข้าสู่กระบวนการแจกแจง และวิเคราะห์พฤติกรรมของการเปลี่ยนแปลง  นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการทำนายและป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต หากมีการใช้โปรแกรมช่วยในการตรวจสอบ สามารถดูบทความ “Preventive maintenance คืออะไร ทำไมสายงานการผลิตต้องสนใจ” 

เซ็นเซอร์ มีอะไรบ้างในสายการผลิต

ทำความรู้จัก เซนเซอร์ ในงานอุตสาหกรรม

Proximity Sensors เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ 

เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ โดยปราศจากการสัมผัส ทำให้ทราบถึงตำแหน่งของวัตถุหรือสามารถระบุได้ว่ามีวัตถุใดผ่านเข้ามาในตำแหน่งที่กำหนดไว้หรือไม่ ส่วนใหญ่จะใช้กับงานตรวจจับ ตำแหน่ง ระดับ ขนาด และรูปร่าง สามารถแยกการตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ (Inductive) กับอโลหะ (Capactive) โดยการตรวจจับความหนาแน่นได้ เพิ่มเติม Proximity sensor กับ Photoelectric sensor ทำงานต่างกันอย่างไร

ทำความรู้จัก เซนเซอร์ ในงานอุตสาหกรรม

Vision Sensors / Machine Vision Systems เซ็นเซอร์ ตรวจจับด้วยภาพ 

เซ็นเซอร์ที่ใช้การถ่ายภาพวัตถุชิ้นงาน แล้วนำภาพที่ได้มาวิเคราะห์ว่าตรงกับ สเปค ขนาด สี รูปทรง หรือ ตำแหน่งที่เราต้องการหรือไม่ โดยคุณสมบัติของเซ็นเซอร์ชนิดนี้สามารถทำงานได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และประหยัดเวลา เหมาะกับงานตรวจสอบความผิดปกติของชิ้นงานในการผลิต เช่น ตรวจจับความถูกต้องของฉลาก การเจาะรูชิ้นนงาน ตรวจสอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์  การป้อนชิ้นงาน ตรวจสอบรูปทรงน็อต โลหะ km เป็นต้น

ทำความรู้จัก เซนเซอร์ ในงานอุตสาหกรรม

Photoelectric Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ โดยใช้แสง

เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ ใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุทั้งแบบที่มองเห็นและแบบโปร่งใสโดยที่ไม่ต้องมีการสัมผัส มีจุดเด่นในด้านความเร็วในการตรวจจับ ระยะการตรวจจับไกล และที่สำคัญไม่ว่าวัตถุใดๆ ก็จะสามารถตรวจจับได้ หลักการทำงานของ Photoelectric sensor ทำงานอย่างไร

–  Photomicro Sensors 

Photoelectric Sensor ขนาดเล็กที่มีแอมพลิฟายเออร์ในตัว มีลักษณะเช่นเดียวกับโฟโตอิเล็กทริคเซนเซอร์ทั่วไปที่มีแอมพลิฟายเออร์ในตัว ใช้ในแอพพลิเคชั่นเพื่อตรวจจับวัตถุที่ผ่านหรือในแอพพลิเคชั่นกำหนดตำแหน่ง

ทำความรู้จัก เซนเซอร์ ในงานอุตสาหกรรม

Displacement / Measurement Sensors เซ็นเซอร์วัดระยะ

เซ็นเซอร์วัดระยะทาง และขนาดของชิ้นงาน แบบไม่สัมผัสกับวัตถุ สามารถบอกค่าเป็นอนาล็อค และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือ PLC ได้ เหมาะสำหรับการใช้งานการตรวจสอบชิ้นงานขนาดเล็ก วัดความหนาบาง วัดการแอ่นตัว

เซนเซอร์อ่านโค้ด

Code Readers / OCR เซ็นเซอร์อ่านโค้ด

เซ็นเซอร์ที่ใช้ในการอ่านบาร์โค้ดต่างๆ หรือตรวจสอบข้อความ ตัวเลข ตัวอักษรบนชิ้นงาน แล้วทําการส่งผลลัพธ์การตรวจสอบออกมา เพื่อนําไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรอื่นๆ อย่าง Rejecter หรือส่งเป็นข้อความที่อ่านได้ไปให้ซอฟแวร์ หรือระบบควบคุมต่างๆ 

เซนเซอร์เอ็นโค้ดเดอร์แบบหมุน

Rotary Encoders เซ็นเซอร์เอ็นโค้ดเดอร์แบบหมุน

เซ็นเซอร์ (Sensor) ที่แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (electric signal) มาเป็นค่าทางการหมุน (rotation movement) เซ็นเซอร์นี้สามารถใช้ตรวจจับระยะ ความเร็ว ทิศทาง ตำแหน่งหรือมุมของการหมุน เช่น ฐานและข้อต่อของแขนกลที่ใช้ในโรงงานที่ต้องใช้ค่าการหมุนที่แม่นยำ

เซนเซอร์ อัลตร้าโซนิค

Ultrasonic Sensors เซ็นเซอร์ อัลตร้าโซนิค

เซ็นเซอร์ที่ใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคใช้เพื่อตรวจจับวัตถุโปร่งใส เช่น ฟิล์มใส ขวดแก้ว ขวดพลาสติก และกระจกแผ่น โดยลักษณะการใช้งานเหมือน Photoelectric Sensor 

เซนเซอร์วัดความดัน เซนเซอร์ตรวจจับการไหล

Pressure Sensors / Flow Sensors เซนเซอร์วัดความดัน เซนเซอร์ตรวจจับการไหล

เซ็นเซอร์วัดความดัน (Pressure sensors) ช่วยตรวจจับความดันของของเหลวและก๊าซ และ เซ็นเซอร์ตรวจจับการไหล (Flow sensor) จะช่วยตรวจจับอัตราการไหลของของเหลว 

Color sensor เซนเซอร์ตรวจจับสี

เซนเซอร์ตรวจจับสี (Color sensor) ใช้หลักการของแสงตรวจจับติดตั้งแบบตัวรับตัวส่งในตัวกัน ภายในเป็นเทคโนโลยี RGB (Red-แดง, Green-เขียว และ Blue-น้ำเงิน) เพื่อวิเคราะห์สีเป้าหมายและแยกความแตกต่างระหว่างสีเป้าหมายกับพื้นหลังให้เหมาะสมที่สุด

บริการด้านโรงงานอุตสาหกรรมจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบริการออกแบบระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม การใช้งานอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า รวมถึงการประกอบติดตั้งเชื่อมการทำงานของเครื่องจักรกล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่