การขาดแคลนแรงงานและความกลัวจากโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ล้วนมีส่วนทำให้ความต้องการ หุ่นยนต์ อุตสาหกรรม เพิ่มมากยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ได้เปลี่ยนวิถีการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกอย่างถาวร ธุรกิจจำนวนมากต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในตลาดอย่างกะทันหัน และต้องจัดลำดับความสำคัญของงานใหม่ 

มาดูแนวโน้มและการคาดการณ์ด้านวิทยาการหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 5 อันดับแรกในปี 2022 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีกันครับ

การเพิ่มขึ้นของ หุ่นยนต์ AI

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ถูกนำมาใช้ในหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากขึ้น หุ่นยนต์ถูกพัฒนาให้ฉลาดขึ้น ฟังก์ชันการทำงานจำนวนมากจะถูกเพิ่มเข้าไปด้วยระบบ AI หรือ Machine Learning (ML) เพื่อทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้คล้ายมนุษย์มากที่สุด และตัดสินใจเองได้อย่างอิสระ ต่างจากเดิมที่มนุษย์จะต้องป้อนคำสั่งเพื่อให้หุ่นยนต์ทำงานได้ตามเป้าหมาย

หรือจะใส่ซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (AI Software) ลงในคอมพิวเตอร์ ร่วมกับระบบ Vision Systems และระบบเซนเซอร์ตรวจจับ ช่วยให้คอมพิวเตอร์จำลองการทำงานต่าง ๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน โดยเน้นตามแนวความคิดแบบสมองมนุษย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ซึ่งหุ่นยนต์รุ่นใหม่สามารถติดตั้ง ใส่โปรแกรม และเชื่อมต่อได้ง่ายกว่า ด้วยความก้าวหน้าในโปรโตคอลด้านการสื่อสาร (Communication Protocol) ผสานรวมหุ่นยนต์เข้ากับระบบอัตโนมัติและยุทธ์ศาสตร์อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 ) ได้อย่างราบรื่น

โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)

แน่นอนว่า เมื่อหุ่นยนต์มีความสามารถมากขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตและการจัดจำหน่ายก็พยายามที่จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น “Smart Factory” ด้วยเช่นกัน ในปี 2022 จะได้เห็นสายการประกอบที่รองรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและโซลูชั่นอัตโนมัติมากขึ้น โรงงานอัจฉริยะจะกลายเป็นที่แพร่หลาย

Smart Factory

ในอนาคตจะเป็นการทำงานโต้ตอบกันของหุ่นยนต์ และรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ AGV (Automated Guided Vehicle) หรือหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ AMRs (Autonomous Mobile Robots) พร้อมเทคโนโลยีนำทางใหม่ๆ ที่จะทำให้หุ่นยนต์เหล่านี้มีความคล่องตัวมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสายการผลิตแบบเดิม

[hubspot type=cta portal=7250954 id=d49e4dfe-928a-423a-a2fd-ce1fe7e70f42]

หนึ่งในเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในด้านวิทยาการหุ่นยนต์และวิศวกรรมไฟฟ้า คือ การใช้หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ (Collaborative Robots) หรือ “Cobot”  ที่ได้รับการออกแบบเพื่อทำงานร่วมกับผู้คนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องมีรั้วกั้นตัวอย่าง อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นผู้บุกเบิก Smart Factory Solution โดยใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นจนจบสายงานการประกอบ (Assembly Line)

ตัวถังรถยนต์ ถูกลำเลียงบนระบบขนส่งแบบไร้คนขับ (Driverless Transport System: DTS) ซึ่งสามารถแยกชิ้นส่วนออกจากการไหลของสายการประกอบ และเปลี่ยนเส้นทางไปยังสถานีประกอบ (Assembly Stations) ที่สามารถประกอบตัวถังรถยนต์รุ่นต่างๆ ได้  

ด้วยการรวมสถานีงานของมนุษย์และหุ่นยนต์ Cobot (Collaborative Robots) เข้าด้วยกัน เมื่อโมเดลรถถูกเปลี่ยน ผู้ผลิตเพียงแค่ต้องตั้งโปรแกรมหุ่นยนต์และ AMRs ใหม่เท่านั้น แทนที่จะต้องรื้อสายการผลิตทั้งหมด

การขาดแคลนแรงงาน และการพัฒนาหุ่นยนต์

ในช่วงการระบาดใหญ่ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ทำให้เห็นจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain)  ผู้ผลิตจึงมีโอกาสทบทวนสิ่งที่มีอยู่ด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

ด้วยความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ ของระบบอัตโนมัติ  (Automation) ช่วยยกระดับความสามารถในการผลิต เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของตลาด หรือ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ผู้ผลิตสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

เห็นได้ชัดว่า หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เป็นวิธีที่ปลอดภัยสำหรับผู้ผลิต เมื่อมีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ หรือ อัตราการติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นที่จำเป็นต้องให้พนักงานกักตัวเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการแพร่ระบาด แต่ยังคงสามารถดำเนินกิจการต่อได้ 

นอกจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นระหว่างการระบาดแล้ว ประชากรวัยทำงานของหลายประเทศอยู่ในเกณฑ์สูงวัยและเกษียณอายุอย่างต่อเนื่อง

การปรับปรุงความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ด้วยการใช้หุ่นยนต์สำหรับทำงานในตำแหน่งที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต (Life Threatening) จะช่วยเปลี่ยนการรับรู้ของผู้คนต่องานในสายการผลิต จากงานน่าเบื่อ ซ้ำซาก หรืออันตราย ให้เป็นตำแหน่งที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ และน่าเรียนรู้ให้แก่พนักงาน

ถึงแม้ว่าบางอาชีพจะยังไม่เปลี่ยนไปใช้หุ่นยนต์ แต่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์สามารถเข้ามาแทนที่ตำแหน่งงานต่างๆ ได้มากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

ขยายโอกาส หุ่นยนต์ เข้าสู่ตลาดใหม่

สืบเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานในช่วงการระบาดครั้งใหญ่ ทำให้ความต้องการหุ่นยนต์ในภาคการผลิตและระบบโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น แต่ในปี 2022 ความต้องการระบบและอุปกรณ์หุ่นยนต์อัตโนมัติเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้น โดยมาจากภาคการผลิตอื่นๆ ที่เพิ่งหันมาใช้ระบบอัตโนมัติ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และพลาสติก 

ด้วยการนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัล (Digital Transformation) เข้ามาใช้อย่างต่อเนื่องในโรงงานอัจฉริยะ ชิ้นส่วนต่างๆ จะถูกประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้อุปกรณ์เดียวกันได้ ทำให้สายการผลิตแบบเดิมจะค่อยๆ หายไป และนำไปสู่วิธีการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่อย่างถาวร ซึ่งผู้ผลิตสามารถกระจายความเสี่ยงได้ง่ายกว่าที่เคย

คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก – หุ่นยนต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบันสังคมโลกเริ่มตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และหนึ่งสาเหตุสำคัญ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งทั่วโลกได้พยายามแก้ปัญหาโดยการประชาสัมพันธ์ให้มีการแสดงข้อมูล  

ทำให้เกิด คาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ซึ่งก็คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยทำการคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ 

เป็นการวัดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณ และได้ถูกนำไปใช้แล้วในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมอาหาร ต่อยอดมาถึงแวดวงไอที 

จากความต้องการลด Carbon Footprint นี้ ช่วยส่งเสริมการลงทุนในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ขั้นสูง เนื่องจากหุ่นยนต์สมัยใหม่ ถูกพัฒนาให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมได้ทันที 

อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต ด้วยอุปกรณ์พลังงานหมุนเวียน เช่น แผงโซล่าเซลล์ (Photovoltaic : PV) หรือเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell)

และด้วยความแม่นยำที่สูงขึ้นของหุ่นยนต์ ทำให้สามารถลดจำนวนสินค้าคืนจากลูกค้า (Reject) และสินค้าต่ำกว่ามาตรฐานให้น้อยลง ซึ่งส่งผลในเชิงบวกต่ออัตราส่วนระหว่างผลิตผล (Output) ต่อปัจจัยการผลิต (Input) ที่ใช้ไป กล่าวง่ายๆ คือ หุ่นยนต์สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้ นั่นเอง

บทสรุป

ความจริงแล้วการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ไม่ได้เริ่มต้นเทรนด์ใหม่ แต่เป็นการเร่งการใช้วิทยาการหุ่นยนต์ให้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมวิทยาการหุ่นยนต์ที่กำลังเฟื่องฟูในตลาดขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่ทำงานโดยไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมธุรกิจหลายแห่งและช่วยให้ได้รับผลกำไรสูงขึ้นแม้จะมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่า 2022 เป็นปีแห่ง IoT Automation และ Robotics อย่างแท้จริง

บริการด้าน AUTOMATION SOLUTION และการปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Sumipol Corporation Limited) ในฐานะผู้นำด้านการจัดจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมบริการครบวงจร ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากกว่า 10,000 ราย ในหลากหลายอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมายาวนานกว่า 30 ปี 

เรามุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เสริมสร้างระบบคุณภาพ และพัฒนาสู่เทคโนโลยีอัจฉริยะในยุคอุตสาหกรรม 4.0 มีความพร้อมในการให้คำปรึกษาและบริการด้าน Smart Factory ระบบ IoT Automation อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัย และโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด 

รวมไปถึงการวินิจฉัยไลน์การผลิตของคุณจากหน้างานจริง เพื่อพัฒนาวางแผนการปรับปรุง และแนะนำเครื่องมือที่เหมาะสมกับการผลิตของคุณ ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ เราพร้อมให้บริการคุณอย่างเต็มที่

หากคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าหรือบริการจากเรา 

สามารถพูดคุย วิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญของสุมิพลได้โดยตรง

คุณสามารถติดต่อเราได้ ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000

ที่มาข้อมูล : https://www.themanufacturer.com/articles/top-5-robot-trends-2021/