Smart Factory หรือโรงงานอัจฉริยะ อาจเป็นคำที่ผู้ประกอบการได้ยินกันเป็นประจำ แต่เจ้า Smart Factory นี้จะสามารถทำงานได้ดี ก็ต่อเมื่อมีอุปกรณ์คอยสนับสนุน และอุปกรณ์ดังกล่าวก็คือ IoT หรือ Internet of Things ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องจักรภายใน Smart Factory นั่นเอง และบทความนี้เราจะพาไปดูการทำงานของ IoT Artchitecture หรือสถาปัตยกรรม IoT ว่าการทำงานของมันเป็นอย่างไร และดีต่อโรงงานของคุณมากน้อยแค่ไหน

IoT Architecture คืออะไร 

แนวคิดของ Internet of Thing หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง สามารถอธิบายง่ายๆ คือการหาวิธีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปในสิ่งที่อยู่รอบตัวของคุณ ตั้งแต่อุปกรณ์เล็กๆ อย่างลำโพง เครื่องชั่งน้ำหนัก ไปจนถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีการทำงานตลอดเวลา

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?  เพราะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ สามารถควบคุมได้จากระยะไกลจนแทบจะไร้ขอบเขต ตราบเท่าที่เรายังเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต การใช้ IoT จะช่วยทำให้ผู้คนสามารถควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้หลากหลาย แม้ว่าคนเหล่านั้นจะไม่เคยใช้อุปกรณ์ดังกล่าวก็ตาม รวมไปถึงทำให้อุปกรณ์นั้นๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่ง IoT Architecture คือสถาปัตยกรรมการทำงานเบื้องหลัง IoT ซึ่งตัว Architecture นีั้ก็จะมีการปรับปรุง ให้แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยในบทความนี้เราจะอ้างอิงการทำงานจาก Tsuzumi model ซึ่งเป็นการทำงานแบบสามช่องทาง (Triple Channel) จาก Denso บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ว่าการทำงานของระบบนี้เป็นอย่างไร และตอบสนองกับการสั่งการอย่างไรบ้าง

การทำงานของ IoT Architecture เพื่อ Smart Factory 

IoT Application

อ้างอิงจาก Tsuzimi model เราจะสามารถแบ่งการส่วนประกอบของ IoT Artchitecture ได้หลักๆ 3 ส่วน ซึ่งก็คือ

  1. Application: แอปพลิเคชั่นสำหรับให้ผู้ใช้งานทำการควบคุม รวมไปถึงการแสดงข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ต่างๆ
  2. อุปกรณ์ตัวกลาง : ที่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเก็บข้อมูล ป้อนข้อมูลหรือคำสั่ง รวมถึงตรวจสอบคำสั่งต่างๆ โดยจะเป็น Data Server และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ
  3. Device: อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ ที่เป็น IoT ซึ่งอาจมีได้ทั้งเครื่อง CNC หุ่นยนต์ กล้องวงจรปิด ไปจนถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่ต่างๆ 

Triple-channel architecture

ดังที่กล่าวไปเกี่ยวกับ IoT Artchitecture ด้านบน การทำงานของ Triple Channel Architecture จะแบ่งออกตามรูปแบบดังนี้

Application to Device การควบคุมอุปกรณ์ (Device) ต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชั่่น โดยมีอุปกรณ์อย่าง Data Server เป็นตัวกลางการประสานงาน เก็บและประมวลข้อมูล เพื่อนำข้อมูลการใช้งานมาประยุกต์ใช้ในด้านการทำงานอื่นๆ ต่อไป ทำให้การทำงานในโรงงานของคุณสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น

Device to Device การทำงานที่เชื่อมระหว่างอุปกรณ์และอุปกรณ์ โดยมี Data Server เป็นตัวกลาง ทำให้อุปกรณ์มากกว่า 1 ชนิดสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Application to Application การทำงานและส่งผ่านข้อมูลจากแอปพลิเคชั่นหนึ่งไปสู่อีกแอปพลิเคชั่นหนึ่ง ทำให้การส่งข้อมูลถึงกันในการทำงานสามารถทำได้อย่างไร้ต่อเนื่อง สามารถตรวจสอบข้อมูลได้แบบ Realtime ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

แน่นอนว่าข้อมูลที่เคลื่อนไหวทั้งหมดก็สามารถประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี Visualization by IoT เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงงานได้ แม้ว่าคนเหล่านั้นจะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็ตาม ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจการทำงานในโรงงานรวมไปถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน ซึ่งทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวมเร็วและแม่นยำ

บทบาทของ IoT กับโรงงานในปัจจุบัน

หากจะบอกว่า IoT เข้ามาพลิกโฉมวงการอุตสาหกรรมของโลกใบนี้ก็คงไม่เกินความเป็นจริงมากนัก เพราะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าสู่ทุกสรรพสิ่งในโรงงาน เปิดโอกาสให้แรงงานสามารถทำงานได้มากกว่า 1 อย่างในเวลาเดียวกัน ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร รวมถึงทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างคนกับคน และ คนกับอุปกรณ์ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดจากการเข้ามาของ IoT นั้นมีดังต่อไปนี้

ความปลอดภัย IoT ในโรงงานปัจจุบันมีระบบเซนเซอร์ต่างๆ มากมายที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี ความดัน อุณหภูมิ ความเคลื่อนไหว ทำให้คนที่ทำงานในโรงงานนั้นๆ สามารถรับรู้ได้ทันทีหากมีเหตุผิดปกติเกี่ยวกับความปลอดภัยเกิดขึ้น

ความรวดเร็วในการทำงาน เดิมทีการใช้ระบบ Automation ก็สามารถทำงานได้รวดเร็วอยู่แล้ว ยิ่งการทำงานด้วย IoT เข้าไปก็จะยิ่งทำให้ผู้คนในโรงงาน สามารถสั่งงานหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรได้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนการทำงาน สามารถทำงานได้เร็วขึ้นจากที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงงาน 

ต้นทุนในการทำงาน เมื่อมี IoT คอยทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูล ตรวจสอบ ดูแล ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างงานคนที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือเปลี่ยนเป็นการจ้างงานผู้เชี่ยวชาญแบบเฉพาะทางจำนวนน้อย แทนผู้ที่ตรวจสอบปัญหาเล็กๆ น้อยๆ จำนวนมาก ลดต้นทุนในการตรวจสอบคุณภาพโรงงาน ในขณะเดียวกันเราก็ได้ผลงานที่มีคุณภาพสูงกว่าเดิมด้วยความแม่นยำจากการตรวจสอบด้วยคอมพิวเตอร์อีกด้วย

ความถูกต้องแม่นยำในการทำงาน การทำงานโดยมีคอมพิวเตอร์ควบคุม ถือเป็นการทำงานที่แทบไร้จุดบกพร่อง ถึงแม้จะมีปัญหาเกิดขึ้น ดังที่เราเห็นจากการนำเสนอ IoT Artchitecture ฝั่งผู้บริหารและพนักงานสามารถทำการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ รวมถึงปัญหาและข้อมูลต่างๆ ในโรงงานได้ เพื่อให้โรงงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

ซึ่งการทำงานของระบบ IoT จะสมบูรณ์ที่สุดก็ต่อเมื่อการทำงานทุกขั้นตอนอย่างถูกวางแผนเอาไว้เป็นอย่างดี และมีการติดตั้งจากผู้เชี่ยวชาญ และคนที่ใช้ระบบนั้นมีการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม 

สรุปบทความ

Internet of Thing หรือ IoT ถือเป็นองค์ประกอบใหม่ที่สำคัญมากสำหรับโรงงาน ที่ได้รับความสนใจอย่างมากทั้งโรงงานใหญ่และโรงงานเล็กที่กำลังจะก้าวไปสู่ความเป็น Smart Factory แต่การจะเลือก IoT ที่ดีได้นั้นคุณควรมีการศึกษาและตรวจสอบความต้องการของตัวโรงงานของคุณเองให้ดี เพื่อที่จะได้อุปกรณ์ที่ตรงตามความต้องการ ทำให้งานของคุณดียิ่งขึ้นในงบประมาณที่เหมาะสม

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรือสนใจเกี่ยวกับ อุปกรณ์ IoT หรือ IoT Artchitecture สำหรับการทำงานในโรงงาน หรือเปลี่ยนโรงงานให้กลายเป็น Smart Factory คุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง รวมถึงการออกแบบระบบภายในโรงงาน พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านเครื่องจักรจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตชิ้นงาน รวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและการผลิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด 

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

ebook-automation