Assoc. Prof. Dr.Djitt Laowattana, Founding Director of Institute of Field Robotics Development (FIBO), King Mongkul’s University of Technology Thonburi and A Working Committee for Supercluster Robotics Industry

เมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคตหนึ่งในห้าอุตสาหกรรม New S Curve ที่ถูกจับตามองว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย คือ “คลัสเตอร์ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์”

Automation and Robots :

 

Key Cluster Driving Industry 4.0

 

คลัสเตอร์ดาวรุ่ง : ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ผลักดันอุตสาหกรรม 4.0

 

รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือ FIBO มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะอนุกรรมการเร่งรัดนโยบาย Supercluster อุตสาหกรรมหุ่นยนต์คือหนึ่งในแกนหลักคนสำคัญที่ผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอัตโนมัติและหุ่นยนต์ให้เดินหน้าสู่เป้าหมายอุตสาหกรรม 4.0 ดร.ชิตกล่าวว่า “ที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญและผู้นำจากภาครัฐหลายๆท่านล้วนเห็นพ้องต้องกันว่า ในอนาคตอันใกล้อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มีศักยภาพในการเติบโตสูง นอกจากเพิ่มประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว ยังแทรกซึมอยู่ในภาคบริการและส่วนอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะเป็นการบรรเทาภาวะการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศด้วย ภาครัฐและเอกชนจึงตระหนักและให้ความสำคัญในอุตสาหกรรมนี้เป็นอันดับต้นๆ”

 

ภาพรวมอุตสาหกรรมไทยกับการพัฒนาไปสู่ระบบอัตโนมัติ

 

ดร.ชิตให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าเมื่อดูภาพรวมอุตสาหกรรมไทย ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการที่อยู่ในเกณฑ์อุตสาหกรรม 4.0 มีน้อยมากเพียง 5% (ดังรูปที่ 1) “จากการศึกษาโครงการจัดทางยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยด้วยระบบการผลิตแบบอัตโนมัติปี 2558 ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พอสรุปได้ว่าโรงงานในสัดส่วนที่สูงถึง 85% มีโอกาสและควรปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นแบบระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ แต่ต้องใช้เวลามาก 5-10 ปีเป็นอย่างน้อยในการพัฒนาให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายของรัฐ และเมื่อดูจากความพร้อมภายใน 1-3 ปีของอุตสาหกรรมไทย

 

 

จะพบว่ามีสัดส่วนเพียง 50% ที่มีความเป็นไปได้โดยส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น ดังนั้นภาครัฐจึงจำเป็นต้องหามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในกลุ่มขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีความพร้อมน้อยให้สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการพัฒนารากฐานรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป”

 

ความต้องการใช้ระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมไทย

 

ดังที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ากว่า 85% ของอุตสาหกรรมไทยมีความต้องการพัฒนาไปสู่การผลิตอัตโนมัติ ทำให้อุปสงค์ทางการตลาดมีศักยภาพอย่างมาก ดร.ชิต ได้ให้ข้อมูลเสริมว่า “เมื่อพิจารณามูลค่าการน?าเข้าและส่งออกของระบบอัตโนมัติ(ดังรูปที่ 2) แสดงแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2557 ประเทศไทยเสียดุลการค้ามูลค่ามหาศาลรวมกว่า 132,000 ล้านบาท เนื่องจากยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จึงกลายเป็นโจทย์สำคัญในการหาวิธีรักษาสมดุลการนำเข้าและส่งออกของไทยในอนาคตที่ทางภาครัฐจำเป็นต้องหามาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างจริงจัง” ด้วยเหตุนี้ทาง BOI จึงเร่งผลักดันให้เกิดแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรม “เครื่องจักรกลอัตโนมัติและหุ่นยนต์” ให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว

 

 

มาตรการในการขับเคลื่อนคลัสเตอร์หุ่นยนต์

 

ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะทำหน้าที่ชักชวนนักลงทุนและให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุน ดร.ชิตกล่าวว่า “ในอดตี ทาง BOI ม่งุเน้นการอุดหนุน ด้านการผลิตเป็นหลัก ปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องทางปัญญามากขึ้นตามแนวทางประเทศไทย 4.0 ผู้ประกอบการในกลุ่มออกแบบวิศวกรรม อิเล็กทรอนิคส์ และพัฒนาซอฟต์แวร์ควรได้รับสิทธิประโยชน์เป็นพิเศษ ประเด็นต่อมาคือทำอย่างไรที่จะสามารถเชื่อมโยงนักลงทุนกับผู้ประกอบการที่เป็นฐานการผลิตในประเทศไทยเข้าด้วยกัน” ซึ่งผู้ประกอบการไทยเองต้องสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติว่ามีความพร้อมทั้งทางด้านเทคโนโลยีและการผลิตที่มีคุณภาพ

 

 

สนันสนุนการเชื่อมโยงของคลัสเตอร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

โครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (รูปที่ 3) ประกอบด้วย A อุตสาหกรรมผลิต (Manufacturer) B ผู้พัฒนาระบบอัตโนมัติ (System Integrator – SI) C ผู้ผลิตเครื่องกลอัตโนมัติและบริการ (Automation Machinery/ Service) D ผู้ผลิตชิ้นส่วน/ซอฟต์แวร์ (Component/Software Supplier) และ E ที่ปรึกษา (Adviser) ในการติดตั้งระบบอัตโนมัติ/หุ่นยนต์ปัจจุบันพบว่าจำนวน SI และที่ปรึกษายังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อความต้องการในประเทศมีมากเพียงพอ เมื่อ Demand มากขึ้น Supply ก็จะหลั่งไหลเข้ามาเอง คำถามคือจะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร หลายฝ่ายจึงพยายามผลักดันมาตรการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาคลัสเตอร์นี้ให้เติบโตทันเวลาโดยแบ่งแนวทางออกเป็น 3 ส่วน คือ • มาตรการสำหรับผู้ผลิต (Demand side) ผู้ที่ต้องการใช้ระบบอัตโนมัติที่ต้องการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตจะได้รับการยกเว้นภาษีมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ตามมาคือการพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อเทคโนโลยีอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ซึ่งต้องมีการฝึกอบรมสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า และมาตรการทางด้านสินเชื่อพิเศษโดยการประสานงานกับสถาบันทางการเงินจัดสรรวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับปรุงระบบการผลิต • มาตรการเพื่อผู้ผลิตระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Supply side) ประกอบไปด้วย มาตรการส่งเสริมการลงทุนสิทธิประโยชน์ด้านภาษี (Privilege) การเร่งรัดจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (FUND of FUND) เพื่อการลงทุนใน VENTURE CAPITAL (VC) ของภาคเอกชนในลักษณะ MATCHING FUND โดยกำหนดให้สวทช. เป็นแกน การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมาตรการทางภาษี (ปรับโครงสร้างอากรขาเข้าวัสดุอุปกรณ์เพื่อการผลิตประกอบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) และการหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าเพื่อการฝึกอบรมบุคลากร • การสนัสนุนทางด้านการวจิจัย ด้วยการผลักดันให้มีการจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (CENTER OF EXCELLENCE) โดยภาคการศึกษาและสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่สร้างและพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการสามารถขอรับคำปรึกษา และทำงานวิจัยร่วมกันสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆสามารถต่อยอดเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ไปสู่อนาคต ทั้งนี้ในการยื่นขอรับรองสิทธิประโยชน์จาก BOI ควรเร่งรัดใช้เวลาในการพิจารณาเพื่อความรวดเร็วให้ทันกับแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป

 

บทสรุป

จากภาพรวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่าคลัสเตอร์ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์กำลังดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน “คลัสเตอร์ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไม่ได้สนับสนุนเฉพาะผู้ผลิตระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกระตุ้นให้ทุกๆอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญและเข้าใจว่าระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มีส่วนเข้ามาเสริมศักยภาพและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมมากแค่ไหน และเมื่อมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะสามารถเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้เพื่อให้อุตสาหกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องให้การสนับสนุนและสร้างเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นเป็นนวัตกรรมเฉพาะของคนไทยให้ได้ ดังนั้นการดึงเอาภาคการศึกษามาจับมือร่วมกับภาคเอกชนจะก่อให้เกิดการ ปฏิวัติอุตสาหรรมใหม่เพื่อลูกหลานของเราในอนาคต” รศ.ดร.ชิต กล่าวทิ้งท้าย

Sumipol-Automation-Solution