ในยุคปัจจุบันปฎิเสธไม่ได้ว่าระบบดิจิตอลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของของเรา ครอบคลุมในทุกๆด้านตอบรับกระแสความต้องการของแต่ละบุคคลการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างก้าวกระโดดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อตอบสนองกำลังการผลิต ดังนั้นการนำเทคโนโลยีระบบออโตเมชั่นและซอฟต์แวร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในทุกๆอุตสาหกรรม

 

จากการวิเคราะห์สถานการณ์ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาพบว่าวงการอุตสาหกรรมทั่วโลกให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ทั้งระบบการจัดการผลิต ระบบบริหารงานภายใน รวมไปถึงระบบอัตโนมัติทั้งระบบ

 

Technology Advances Automation

 

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นเครื่องจักรกลแบบออโตเมตที่สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยนอกจากจะสามารถทดแทนการใช้งานแล้ว ยังให้การทำงานที่มีความเสถียรสูงและมีประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมสูงกว่าอีกด้วย สามารถเชื่อมต่อระบบผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อการควบคุมการทำงานผ่านอุปกรณ์แท็บเล็ตสมาร์ทโฟน หรือการควบคุมผ่านห้องควบคุมส่วนกลางได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะลดข้อจำกัดทางด้านความสามารถของบุคลากรและลดความยุ่งยากในการทำงาน การนำระบบออโตเมชั่นมาควบคุมการผลิตถือเป็นการลงทุนในระยะยาวที่มีความยั่งยืนและจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันการผลิตชิ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

 

Enterprise Resource Planning (ERP)

 

โปรแกรมเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจทุกขั้นตอนเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงระบบการจัดการสินค้าคงคลัง การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ERP เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการบริหารธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตมากนัก หรือสำหรับธุรกิจขนาดย่อมหรือเล็กอาจเลือกใช้เฉพาะบางโมดูลตามความจำเป็น อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมากนัก สามารถนำไอทีเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและความถูกต้องได้โดยง่าย หากได้รับคำแนะนำและนำระบบ ERP ไปใช้อย่างเหมาะสม

 

Manufacturing Execution System (MES)

 

ระบบ MES ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถทำงานครอบคลุมทุกกระบวนการมากยิ่งขึ้นภายในโรงงานในช่วงเวลาที่เหมาะสมซึ่งจะครอบคลุม 3 กระบวนการหลักนั้นคือ PRODUCTION,PERSONNEL และ QUALITY โดยเริ่มตั้งแต่คำสั่งซื้อจากลูกค้า การวางแผนผลิต และแผนในการรองรับวัตถุดิบและชิ้นงานจากซัพพลายเออร์ต่างๆ ไปจนถึงการผลิตชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ เหมาะสม และคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบ MES จะทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่งสัญญาณการผลิตที่เข้ากับเครื่องจักรโดยตรง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ ERP แบบ Real-time ทำให้เครื่องจักรสามารถถ่ายทอดข้อมูลและแสดงผลโดยตรงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

 

Product Lifecycle Management (PLM)

 

ระบบการจัดการทั้งวงจรการผลิตทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่จากแนวคิดไปจนถึงการออกแบบ (CAD/CAM/CAE) พัฒนาผลิตภัณฑ์ การจำลองการผลิต [Predictive engineering analytics และ Mechatronic System Simulation (1D CAE) เพื่อใช้ในการออกแบบการผลิตในสภาวะที่เหมาะสมที่สุดก่อนทำงานจริง Finite element analysis (FEA) วิเคราะห์การผลิตที่มีความซับซ้อนสูง (Modal testing and analysis) การวางแผนการผลิต การใช้พลังงาน การใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมถึงการทำงานทั้งระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงในตลาดโลก PLM สามารถเป็นแหล่งจัดการข้อมูลที่เรียกว่า Product Data Management ซึ่งจะทำการรวบรวมข้อมูลบุคลากร กระบวนการ ระบบบริหารธุรกิจ และระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล เทคโนโลยีนี้ยังเหมาะสำหรับการออกแบบสายการผลิตใหม่ภายในโรงงาน การจำลองสายการผลิตใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิตตามแผนที่กำหนด โดยอ้างอิงจากฐานการผลิตเดิมในการออกแบบ Production line ซึ่งในอดีตการขยายสายการผลิตใหม่แต่ละโรงงานต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 12 เดือน แต่ด้วยการจำลองสายการผลิตผ่านเทคโนโลยี PLM พบว่าใช้เวลาเพียง 4 เดือนในการสร้างสายการผลิตใหม่ และช่วยประหยัดต้นทุนรวมได้มากถึง 20% นอกจากนี้บริษัทแห่งนี้ได้พบจุดบกพร่องในสายการผลิตเดิมซึ่งสามารถแก้ไขและนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ดีกว่าเดิมถึง 25% นับเป็นตัวเลขที่มีความน่าสนใจอย่างมาก

 

Manufacturing Operations Management(MOM)

 

เป็นวิธีการล่าสุดที่ประสบความสำเร็จและเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมโซนยุโรปและอเมริกา วิธีการนี้เกิดจากแนวคิดร่วมกันระหว่าง PLM และ MES ซึ่งจะมีระบบ SCADA Intelligence และ Manufacturing Intelligence ที่สามารถควบคุมตั้งแต่การวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับวิธีการผลิตตามที่ลูกค้าต้องการวางแผนการผลิตขั้นสูง (Advanced planning and scheduling) กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมที่ดีที่สุด โดยอาศัยซอฟต์แวร์และระบบออโตเมชั่นในการควบคุมทั้งระบบแบบเรียลไทม์ตั้งแต่การจัดการการผลิต วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต การควบคุมและการประกันคุณภาพไปจนถึง human machine interface (HMI) อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบที่นำมาใช้เพื่อรองรับแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ระบบนี้ยังเหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีฐานการผลิตในหลายๆแห่ง การใช้ระบบ MOM จะทำการเชื่อมโยงโครงข่ายการทำงานทั้งหมด มีผลทำให้ทุกโรงงานผลิตสามารถผลิตชิ้นงานตามสเปคที่ลูกค้าต้องการ อีกทั้งยังให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงในต้นทุนที่ต่ำกว่า

Sumipol-Automation-Solution