ปัจจุบันแค่การส่งมอบงานตรงเวลาตามที่กำหนดนั้นยังไม่เพียงพอต่อการแข่งขัน ผู้ผลิตยังต้องคำนึงถึงมาตราฐานการตรวจวัดคุณภาพงานเพื่อส่งต่อไปยังลูกค้าปลายทางซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งชิ้นงานในปัจจุบันยังมีรูปทรงที่ซับซ้อน หลากหลายมิติ และมีขนาดเล็กลงมาก โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ หรือแม่พิมพ์ต่างๆ ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานความละเอียดสูงด้วย Advanced Measuring Technology เทคโนโลยีการวัดขั้นสูง อย่างเครื่อง CMM จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งในทุกขั้นตอนจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดความสูญเสียในระหว่างการผลิตได้อย่างชัดเจน  

บทความนี้พาคุณไปทำความรู้จักกับเครื่อง CMM และข้อมูลที่คุณควรรู้ก่อนเลือกใช้เครื่อง CMM ตัวช่วยการควบคุมคุณภาพ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

CMM คือ อะไร ?

เครื่อง CMM (Coordinate Measuring Machine) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เครื่องวัดสามมิติ” คือ อุปกรณ์สำหรับวัดชิ้นงานรูปทรงต่างๆ ที่สลับซับซ้อนได้อย่างแม่นยำ สามารถวัดงานได้ทั้งแกน X axis, Y axis และ Z axis โดยใช้ระบบสัมผัส Touch probe ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูงสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมประเภท CAD ที่ใช้ดีไซน์ชิ้นส่วนอุปกรณ์ เพื่อเปรียบเทียบและตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงาน

มีการใช้อย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ แทนที่จะใช้เครื่องมือวัดละเอียดจำนวนมาก เครื่อง CMM จะช่วยให้งานวัดง่ายและแม่นยำขึ้นกว่าเดิม

  • มักใช้ในการทดสอบหรือการประกอบชิ้นส่วน เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
  • ใช้ในกระบวนการประกันคุณภาพ หรือขั้นตอนการการควบคุมคุณภาพ เพื่อตรวจสอบขนาดของชิ้นงานที่ผลิตขึ้น
  • ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ

การเลือก CMM ให้เหมาะกับงานของคุณ

แม้จะดูเป็นเครื่องวัดที่ครอบคลุมการใช้งานขนาดไหน แต่ CMM ก็ยังต้องมีการเลือกอย่างเหมาะสม เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งการเลือกใช้และโปรแกรมการทำงานที่ถูกต้องนั้นยังช่วยให้เครื่องวัดสามมิติ สามารถดำเนินงานแบบอัตโนมัติได้โดยไม่จำเป็นต้องตั้งค่าใหม่หลายรอบอีกด้วย

ในการทำงานจริง จะมีปัจจัย 3 อย่าง ที่คุณควรรู้ ก่อนดำเนินการเลือกใช้ CMM

1. พิจารณาว่าคุณต้องการวัดอะไรและวัดที่ไหน

เครื่องจักร CMM มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามการใช้งาน ดังนั้นคุณควรตรวจสอบเสียก่อนว่าการใช้เครื่อง CMM หรือเครื่องวัดสามมิตินี้ คุณต้องการใช้มันวัดอะไร วัดที่ไหน เพื่อการใช้งานที่แม่นยำที่สุด

ซึ่งประเภท CMM ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุด มี 4 ประเภท คือ

Bridge Type เครื่องวัดที่มีเอกลักษณ์เป็นรูปทรงตัว U คว่ำ มองดูเหมือนสะพาน

ด้วยโครงสร้างนั้นเองจึงทำให้ CMM ประเภท Bridge มีความแข็งแรง ทว่าด้วยการเคลื่อนที่ที่จำกัดและรูปทรงค่อนข้างตายตัว จึงไม่เหมาะกับการวัดวัตถุที่ขนาดใหญ่เกินไป Bridge Type มีความแม่นยำสูง สามารถใช้งานได้หลากหลาย เหมาะสำหรับการวัดวัตถุที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และต้องการความละเอียด

Cantilever Type ความแม่นยำที่สูงมาก

เป็นเอกลักษณ์สำหรับ CMM ประเภท Cantilever โดยแลกกับการที่เครื่องวัดประเภทนี้จะสามารถเคลื่อนไหวได้น้อยกว่า และมีความยืดหยุ่นในการทำงานต่ำกว่าเครื่องวัดสามมิติประเภทอื่นๆ เหมาะสำหรับการวัดชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก ถึงเล็กมาก เนื่องจากมีความแม่นยำที่สูง และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วหากเทียบกับเครื่องวัดประเภทอื่น

Horizontal Arm Type

ความแม่นยำที่ลดหลั่นลงมาแลกกับการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น เป็นจุดเด่นสำหรับ CMM ประเภทนี้ เครื่องวัดนี้เหมาะสำหรับงานชิ้นใหญ่ๆ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรขนาดใหญ่

Gantry Type CMM ประเภทที่เปรียบเสมือนส่วนผสมที่ลงตัวของ CMM ด้านบนทั้งหมด

ด้วยความแม่นยำที่สูง เมื่อเทียบกับ Horizontal Arm Type อีกทั้งยังเหมาะสมในการวัดขนาดของชิ้นงานใหญ่ๆ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเครื่องบิน

3 tips choosing CMM

สำหรับการทำงานจริง นอกเหนือจากดูชนิดการทำงานของเครื่องแล้ว ขอแนะนำให้ดูรายละเอียดรวมถึงความแม่นยำที่เครื่องชนิดต่างๆ รองรับด้วย รวมถึงสังเกตเงื่อนไขการรับประกันความถูกต้อง (Guaranteed accuracy temperature environment) ซึ่งคือปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกับการวัด เช่น อุณหภูมิ เวลา เพื่อการวัดค่าที่แม่นยำยิ่งขึ้น

2. เลือกหัวตรวจสอบ (Probe) ให้เหมาะสมกับงาน

สำหรับหัวโพรบตรวจสอบของ เครื่อง CMM สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ CMM Contact Probes (สัมผัสชิ้นงาน) และ CMM Non-Contact Probes (ไม่สัมผัสชิ้นงาน)

CMM Contact Probes

เป็นหัวตรวจสอบที่มีแท่ง Stylus ยื่นออกมาเพื่อสัมผัสชิ้นงานและตรวจสอบ โดยการตรวจสอบแบบสัมผัสนี้จะช่วยให้เราได้ข้อมูลเพื่อตรวจสอบหลายครั้งจากการสัมผัสชิ้นงานโดยตรง ลดความผิดพลาดในการทำงานได้มากกว่า เหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก

CMM Non-Contact Probes

มักมีการใช้งานอยู่สองประเภทคือ การใช้เลเซอร์ตรวจจับและการใช้กล้องเพื่อตรวจจับ เหมาะสำหรับการสำรวจพื้นผิวขนาดใหญ่ในเวลาอันสั้น ทว่าแลกมาด้วยความแม่นยำที่ต่ำกว่าแบบสัมผัสเล็กน้อย

CMM Probe
หัวโพรบสำหรับเครื่อง CMM

3. พิจารณาซอฟท์แวร์ที่ใช้ร่วมกับ CMM

ทำไมเราต้องพิจารณาซอฟท์แวร์ด้วย ? สาเหตุเพราะภาษากลางสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อ CMM เช่น DMIS (dimensional measurement interface standard) ไม่ได้มีการใช้งานที่หลากหลายมากเพียงพอ ทำให้มีการตั้งค่าการใช้งานหรือการใช้ภาษาที่แตกต่างกันออกไปตามผู้ผลิต CMM แต่ละเจ้า

สำหรับการใช้งานซอฟท์แวร์ CMM จะมีความแม่นยำเพิ่มสูงขึ้นด้วยการทำงานจริงร่วมกับการจำลอง Simultator ดังนั้นในการทำงานจึงต้องมีการจำลองงานและรวบรวมสถิติ ไม่ใช่แค่การทำงานจริงเพียงรอบเดียว เพื่อทำให้การทำงานทั้งหมดสอดคล้องกัน อีกทั้งยังเพิ่มความแม่นยำและสำรวจความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานอีกด้วย

ในปัจจุบัน การเลือกใช้งาน CMM ที่มีการรองรับการทำงานร่วมกับโปรแกรมช่วยสร้างวัตถุ (CAD) ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การทำงานของโรงงานคุณนั้นง่ายขึ้น เพราะนอกจากจะมีการตรวจสอบงานที่ครอบคลุมแล้ว ยังสามารถส่งต่อข้อมูลให้กันได้อย่างลื่นไหลอีกด้วย

ทั้งนี้สิ่งที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงจากผลลัพธ์ที่ได้ในการตรวจวัดนั่นคือ จำนวนข้อมูลอันมหาศาลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในการตรวจวัดทุกๆวันของการทำงาน ด้วยเหตุนี้การจัดการบริการข้อมูลผ่านระบบที่เรียกว่า Data Management  ร่วมกับ Industrial Internet of Thing (IoT)  จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ทันทีโดยผ่าน “โปรแกรมการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ (Automatic MeasurLink Instruments)” ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นตัวเลขหรือกราฟชนิดต่างๆ ได้ ช่วยให้ผู้รับผิดชอบระบบควบคุมคุณภาพ แก้ไขปัญหาที่ต้องพบเจอระหว่างการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงที

MeasurLink – ระบบเครือข่ายข้อมูลการวัด

สรุปบทความ

CMM เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการคุณภาพและการตรวจสอบที่แม่นยำ แต่การใช้งาน CMM จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งาน ตั้งแต่การเลือกวัสดุไปจนถึงการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่ใช้งานร่วม

มันจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าเราสามารถส่งผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้ตามกำหนด แต่ในระหว่างกระบวนการผลิตเกิดข้อผิดพลาด (errors) ซึ่งหมายความว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์บางชิ้น ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ และจำเป็นต้องนำไปผลิตใหม่หรือกำจัดทิ้ง ทำให้เสียทั้งเวลาและทรัพยากร การประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดละเอียดระบบดิจิทัล ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรม MeasurLink จึงเป็นตัวช่วยลดเวลา ลดข้อผิดพลาดในการจดบันทึกและการถ่ายโอนข้อมูล อีกทั้งยังสามารถประมวลผลการวัดได้ทันที (Realtime) 

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรือสนใจเกี่ยวกับ CMM (Coordinate Mesuring Machine) ไม่ว่าจะทำงานแบบไหน หรือซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้อง คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านเครื่องจักรจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตชิ้นงาน รวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและการผลิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

Sumipol-checklist-micrometers