“ระบบอัตโนมัติ” กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรมการผลิต ปัจจุบันโรงงานทุกระดับตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ให้ความสนใจ และพยายามศึกษาความเป็นไปได้ของการนำระบบการผลิตแบบอัตโนมัติมาใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและสามารถแข่งขันได้

แต่ถึงกระนั้น Factory Automation ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับหลายท่าน บทความนี้จะกล่าวถึงเคล็ดลับสำคัญซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนเริ่มต้นเส้นทางการผลิตแบบอัตโนมัติให้สามารถเริ่มต้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและประสบความสำเร็จ   

1. เหตุผลที่ควรเริ่มใช้ ระบบอัตโนมัติ ในกระบวนการผลิต

5 STEPS : เริ่มต้น ระบบอัตโนมัติ ในโรงงาน

ที่ผ่านมากลุ่มที่มีความตื่นตัวอย่างมากในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ให้เห็นอย่างเด่นชัดคงหนีไม่พ้นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เนื่องจากมีความพร้อมในด้านปัจจัยการลงทุนที่สมเหตุสมผลกับการนำมาใช้งาน ทั้งในด้านช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ทำให้กำไรมากขึ้น ซึ่งต่างจากโรงงานขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยยังคงไม่ได้เริ่มระบบอัตโนมัติ แม้จะมีโอกาสมากเพียงใด 

ปัจจุบัน เพียงแค่มีเซ็นเซอร์จำนวนหนึ่งในสายการผลิต ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลส่งไปยัง Cloud Service ก็ทำให้สามารถตรวจเฝ้าระวัง (Monitor) กระบวนการทำงานและติดตามการใช้งานอุปกรณ์จากระยะไกล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการตัดสินใจได้ทันถ่วงที ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการก้าวสู่ระบบอัตโนมัติที่คุ้มค่า  

จึงเป็นเรื่องง่ายขึ้นมากสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในการเริ่มต้น ด้วยต้นทุนที่เข้าถึงได้ ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานประจำผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเช่นเดิม และคืนทุนได้เร็วกว่ามาก

อ่านเพิ่ม : Automation ทางออกการปรับตัวของโรงงานหลัง Covid-19

2. ต้นทุนที่แท้จริงของ ระบบอัตโนมัติ สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน

การจะนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับสายการผลิตเดิมอย่างเต็มรูปแบบนั้น ถือเป็นการดำเนินการที่มีค่าใช้จ่ายสูง และแน่นอนว่าโรงงานต้องมีเครื่องจักรที่เหมาะสมกับระบบอัตโนมัติ แต่อุปกรณ์บางอย่างก็ไม่สามารถติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์เดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ เว้นแต่โรงงานจะมีการอัพเกรดเครื่องจักรและอุปกรณ์ในสายการผลิตครั้งใหญ่ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ระบบอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด 

ถึงแม้อุปกรณ์สำหรับระบบอัตโนมัตินั้นจะมีความเฉพาะเจาะจงมากต่อกระบวนการผลิตในโรงงาน แต่ผู้ประกอบการ SMEs ยังสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอัตโนมัติในปัจจุบันโดยไม่ต้องเปลี่ยนสายการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด ทั้งการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทันท่วงทีโดยใช้ระบบ IoT การบริหารจัดการพลังงาน เฝ้าติดตามสถานะเครื่องจักร รวมถึงลดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลหรือลดเวลาที่ใช้ในการทำรายงาน

3. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการวางระบบอัตโนมัติ

หากในโรงงานไม่มีพนักงานปฏิบัติงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ จะทำให้ขาดความรู้และประสบการณ์ที่พวกเขาสั่งสมมา ดังนั้น โรงงานยังจำเป็นต้องพึ่งความรู้และประสบการณ์จากผู้ที่เคยทำงานในสายงานเหล่านั้นจริง ๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าส่วนใดของกระบวนการผลิตที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุง

ไม่ว่าผู้ประกอบการจะพยายามเปลี่ยนโรงงานให้เป็นอัตโนมัติ เพิ่มระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) หรือระบบชี้นำ (Guidance System) เพียงใด หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากพนักงานแล้วก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ 

4. รวมพนักงานเข้าสู่กระบวนการอัตโนมัติได้อย่างไร

5 STEPS : เริ่มต้น ระบบอัตโนมัติ ในโรงงาน

หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญ คือ การทำให้ระบบอัตโนมัติที่เพิ่มเข้าไปในโรงงาน เป็นตัวช่วยขจัดงานที่น่าเบื่อหน่าย งานที่สกปรก งานอันตรายหรือมีความเสี่ยงสูงออกไป แล้วแทนที่ด้วยการให้พนักงานมุ่งความสนใจกับงานที่ใช้ความสามารถได้อย่างอิสระตามแบบฉบับตนเองมากขึ้น

“ถ้าสามารถลดงานที่พนักงานไม่อยากทำให้น้อยลง แล้วเปิดโอกาสให้พนักงานพัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่างแท้จริง และได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย”

5. ข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการควรหลีกเลี่ยง เมื่อเริ่มทำระบบอัตโนมัติ 

สำหรับผู้ที่เริ่มพิจารณาระบบอัตโนมัติเป็นครั้งแรก การเลือกอุปกรณ์ IoT ซึ่งสร้างขึ้นโดยบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัท Startup มีโอกาสน้อยมากที่จะได้รับการบริการหลังการขายผลิตภัณฑ์ในระยะยาว แต่หากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่แน่นอนว่าสามารถสนับสนุนระยะยาวอย่างต่อเนื่องและรองรับการลงทุนได้ถึง 20 ปีข้างหน้า ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ IoT ที่เหมาะสมกับงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

และความท้าทายที่ใหญ่ที่สุด คือ การหา System Integrator (SI) ผู้เชี่ยวชาญด้านบูรณาการและออกแบบระบบอัตโนมัติให้เหมาะสมกับโรงงาน เข้าใจถึงปัญหา ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการมากที่สุด

อ่านเพิ่ม : SI (System Integration) คือใคร ช่วยอะไรในระบบการผลิตอัตโนมัติ

หลายท่านอาจลองประหยัดต้นทุน โดยพยายามมองหาบริษัทติดตั้งระบบอัตโนมัติทั่ว ๆ ไป แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่มีความรู้ด้านการนำหุ่นยนต์มาใช้ในทางปฎิบัติ ขั้นตอนการใช้งาน การเลือกอุปกรณ์หลัก ออกแบบและผลิตอุปกรณ์เสริม และประสบการณ์ในการทำไลน์การผลิตแบบอัตโนมัติ ก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะวางระบบได้อย่างสมบูรณ์ 

จะดีกว่ามาก หากมีผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์ปัญหา ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณมากที่สุด ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากทักษะและประสบการณ์ของ System Integrator (SI) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น

บริการด้าน AUTOMATION SOLUTION และการปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล


“สุมิพล คอร์ปอเรชั่น ” บริษัทชั้นนำผู้จัดจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์มาตรฐาน และเครื่องจักรกลคุณภาพสูงแบรนด์ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก ที่ครอบคลุมงานทุกด้านในการผลิต ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากกว่า 10,000 ราย ในหลากหลายอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมายาวนานกว่า 30 ปี  

พร้อมให้คำปรึกษาด้าน System Integrator (SI) บริการออกแบบระบบอัตโนมัติ และเชื่อมต่อการทำงานของเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต พร้อมพัฒนาปรับปรุงเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตเดิมของท่าน ให้ครอบคลุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและครบวงจรในยุคอุตสาหกรรม 4.0 

มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เสริมสร้างระบบคุณภาพ และพัฒนาสู่เทคโนโลยีอัจฉริยะ ด้วยบริการด้าน Smart Factory ระบบ IoT Automation เชื่อมต่อข้อมูลการผลิตด้วยอุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัย

รวมไปถึงการวินิจฉัยไลน์การผลิตจากหน้างานจริง เพื่อพัฒนาวางแผนปรับปรุง และแนะนำเครื่องมือที่เหมาะสมกับการผลิต ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่

สนใจเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม

สามารถพูดคุย วิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญของสุมิพลได้โดยตรง

สามารถติดต่อได้ ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000

ที่มาข้อมูล : https://www.themanufacturer.com/articles/start-automation-journey