เมื่อมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น การผลิตถือเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญที่ต้องเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่สถานการณ์เรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในทั่วโลก ที่ส่งผลให้การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นเพื่อให้อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตอยู่รอด และสามารถแข่งขันกันในตลาดโลกได้ จึงต้องปรับตัวและปรับกระบวนทัศน์การดำเนินงานเพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพและทำกำไรได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยรวมด้วย ซึ่งแน่นอนว่ากุญแจที่นำไปสู่การเดินทางไปยังโลกดิจิทัลคือ ความรู้ ความสามารถและเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย นอกจากนั้นแล้วผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการลงทุนในเทคโนโลยี 5G อันได้แก่ 1. ขาดความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี 2. ขาดแคลนบุคลากรทางด้านดิจิทัลขั้นสูง ที่เข้ามารองรับเทคโนโลยีในอนาคต 3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากการลงทุน

ความสำคัญของเทคโนโลยี 5G

ความสำคัญของ เทคโนโลยี 5G

เทคโนโลยี 5G เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า “Industry 4.0” โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT การใช้ระบบสื่อสารดิจิทัล ระบบถ่ายโอนไฟล์ และเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ ซึ่งมีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Internet of Things (IoT) และระบบอัตโนมัติเป็นกำลังขับเคลื่อน การเพิ่มปริมาณข้อมูลสูงขึ้นอย่างมาก การสร้างข้อมูลกำลังเติบโตอย่างทวีคูณ โดยจะมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นหลายร้อยเท่าในทศวรรษหน้า โครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์พกพาในปัจจุบันไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการโหลดข้อมูลปริมาณมาก ซึ่งจำเป็นต้องมีการอัปเกรด

อ้างอิงจาก Nicole Ballantyne, KTN, UK5G, ได้กล่าวถึง 5G ไว้ว่า “เครือข่าย 5G มอบโอกาสที่ไม่มีใครเทียบได้สำหรับผู้ผลิตในการนำอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเพื่อผลักดันการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่า นำมาซึ่งการเติบโตที่ครอบคลุมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจและบุคคลในสังคมโดยรวม”

เทคโนโลยี 5G ช่วยสนับสนุนงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร

เทคโนโลยี 5G ช่วยสนับสนุนงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร

ในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีดิจิทัลมีความสำคัญมากขึ้นต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในโรงงานผลิตและตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในโรงงาน 5G สามารถทำให้เครื่องจักรไม่ต้องติดยึดกับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งโดยแทนที่สายเคเบิลด้วยการเชื่อมต่อไร้สาย ทำให้ผู้ผลิตมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

การนำไปสู่สายการผลิตที่ปรับเปลี่ยนได้และตอบสนองได้มากขึ้น ซึ่งสามารถกำหนดค่าหรือฟังก์ชั่นการทำงานใหม่ได้เร็วขึ้นและออกแรงน้อยลง 5G จะทำให้ง่ายต่อการปรับแต่งผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะในด้านคุณภาพ ขนาด และความเร็วที่สูงขึ้น และด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งรวมถึงค่าแรงด้วย

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์อีกมากมายที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้งานอื่นๆ เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ประโยชน์จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น หุ่นยนต์อัตโนมัติและยานพาหนะในโรงงานอุตสาหกรรม แอพพลิเคชั่น IoT ที่ขับเคลื่อนด้วย 5G จะช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่เมื่อก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0

ตัวอย่างเช่น 5G จะช่วยให้หุ่นยนต์และยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้เองซึ่งใช้การรับรู้ด้วยเซ็นเซอร์ และ AI เพื่อเคลื่อนที่อย่างปลอดภัยผ่านสิ่งอำนวยความสะดวกโดยไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ตายตัว

นอกเหนือจากการนำเสนอการขนส่งที่ชาญฉลาด ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้แล้ว อุปกรณ์อัตโนมัติจะทำงานร่วมกับเครื่องชาร์จ ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มรวมการเคลื่อนย้ายสินค้าคงคลังและหุ่นยนต์ภายในศูนย์อุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยลดความต้องการแรงงานในการทำงานในอุตสาหกรรมได้ทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน 5G จะเร่งการพัฒนาระบบนิเวศอัจฉริยะที่เชื่อมต่อและประสานการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งสามารถคาดการณ์และแก้ไขปัญหาและโอกาสได้อย่างรวดเร็ว

5G ภายในสภาพแวดล้อมการผลิตมีความน่าเชื่อถือสูงและความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นตัวเปลี่ยนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสำหรับผู้ผลิตในการสร้างนวัตกรรม เช่น การทำงานร่วมกับหุ่นยนต์อัตโนมัติ การทำงานร่วมกับ AR AI ฝาแฝดดิจิทัล (Digital Twin) และ IoT ให้เป็นจริง นอกจากนี้ 5G ยังมีศักยภาพในการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมต่างๆ ตามข้อมูลบางส่วน เทคโนโลยีดิจิทัลรวมถึง 5G สามารถลดการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel Combustion) ได้โดยตรง 15% ภายในปี 2573

การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 5G

ข้อมูลจากรายงาน The global economic impact of 5G: Powering Your Tomorrow ของ PwC ได้ประเมินผลของการใช้เทคโนโลยี 5G ต่อเศรษฐกิจโลก พบว่า การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี 5G ของภาคธุรกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มแพร่หลายมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว อีกทั้งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก โดยการใช้งาน 5G ในภาคการผลิต จะสร้างมูลค่าเพิ่มกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2030 ได้สูงถึง 1.30 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และลดต้นทุนจากสินค้าที่มีความบกพร่องได้ถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Exhibit 1: 5G boost to global GDP by industry by 2030 (US$, 2019 values) PwC
ภาพ Exhibit 1: 5G boost to global GDP by industry by 2030 (US$, 2019 values) PwC

สำหรับภาคการผลิตและอุตสาหกรรมหนัก โรงงานผลิตแบบเดิมที่ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลักจะยิ่งถูกพัฒนาให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะที่ผสมผสานเทคโนโลยี 5G ในการควบคุมการผลิต ด้วยศักยภาพของ 5G ที่มีความเร็วสูงและความหน่วงเวลาต่ำ (Low Latency) ทำให้การวางแผนการผลิตทำได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหุ่นยนต์อัตโนมัติและรถยนต์ไร้คนขับในการขนย้ายสินค้า ช่วยลดต้นทุนด้านแรงงานมนุษย์ รวมทั้งลดความเสี่ยงหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

5G

บทสรุป

การใช้งาน 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ช่วยสนับสนุนให้กระบวนการควบคุมเครื่องจักรสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถลดต้นทุนแรงงาน (Workforce) รวมถึงความหน่วงเวลา (Low Latency) ในปริมาณต่ำมาก  สามารถลดความเสี่ยงและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการทำงานได้ จึงส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตนําเทคโนโลยี 5G มาใช้ในการผลิตมากขึ้น อีกทั้งยังควบคุมต้นทุนและระยะเวลาในการทํางานที่สั้นลง ลดปริมาณสินค้าคงคลัง เพิ่มคุณภาพของสินค้า การรวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน (Augmented reality) ที่มีการใช้ปริมาณการการรับ-ส่งข้อมูล (Data throughput) จํานวนมหาศาลซึ่งช่วยเพิ่มการทํางานให้มีประสิทธิภาพสูง เกิดความพึงพอใจ และ ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

บริการด้าน AUTOMATION SOLUTION และการปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

“สุมิพล คอร์ปอเรชั่น” บริษัทชั้นนำผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรกลและเครื่องมืออุปกรณ์มาตรฐานคุณภาพสูงแบรนด์ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก ที่ครอบคลุมงานทุกด้านในการผลิต ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากกว่า 10,000 ราย ในหลากหลายอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมายาวนานกว่า 30 ปี

พร้อมให้คำปรึกษาด้าน System Integrator (SI) บริการออกแบบระบบอัตโนมัติ และเชื่อมต่อการทำงานของเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต พร้อมพัฒนาปรับปรุงเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตเดิมของท่าน ให้ครอบคลุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและครบวงจรในยุคอุตสาหกรรม 4.0

service system-integration

มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เสริมสร้างระบบคุณภาพ และพัฒนาสู่เทคโนโลยีอัจฉริยะ ด้วยบริการด้าน Smart Factory ระบบ IoT Automation เชื่อมต่อข้อมูลการผลิตด้วยอุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัย

รวมไปถึงการวินิจฉัยไลน์การผลิตจากหน้างานจริง เพื่อพัฒนาวางแผนปรับปรุง และแนะนำเครื่องมือที่เหมาะสมกับการผลิต ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่

สนใจเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม
สามารถพูดคุย วิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญของสุมิพลได้โดยตรง
สามารถติดต่อได้ ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000