Photoelectric sensor คือเซนเซอร์ที่ใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุทั้งแบบที่มองเห็นและมองไม่เห็น มีจุดเด่นในด้านความรวดเร็วในการตรวจจับ การทำงานที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสตัววัตถุ รวมถึงระยะของเซนเซอร์ที่มากกว่าเซนเซอร์รูปแบบอื่นๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า Photo sensor

ความโดดเด่นในด้านการตรวจจับนี้ก่อให้เกิดการใช้งานมากมาย ทั้งในระบบอุตสาหกรรมและร้านค้า การเข้าใจระบบการทำงานของ Photoelectric Sensor ให้ดีก่อนใช้งานจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงการเลือกใช้ Photoelectric Sensor ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและองค์กร

Photoelectric-sensor-01

Photoelectric Sensor ทำงานอย่างไร

พื้นฐานของ Photoelectric Sensor คือการใช้งานสัญญาณแสงที่ส่งออกมาจากตัวส่ง (Emitter) สู่ตัวรับ (Reciever) หากมีวัตถุมาขวางการรับส่งสัญญาณแสงนั้น ตัวเซนเซอร์ก็จะทำการส่งสัญญาณข้อมูลเข้าสู่เครื่องจักรที่ทำงานคู่กัน ให้ทำการดำเนินงานที่ถูกตั้งค่าไว้

รูปแบบการทำงานของ Photoelectric Sensor

Photoelectric sensor มีการแบ่งรูปแบบการทำงานออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ Opposed, Retroreflective และ Proximity ซึ่งมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันออกไป และภายใน Proximity mode ยังแบ่งรูปแบบย่อยลงไปอีกสำหรับการทำงานที่ละเอียด่อนยิ่งขึ้น โดยการทำงานทั้งหมดนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. Opposed mode

Opposed mode คือการที่อุปกรณ์ส่งสัญญาณแสง (Emitter) และอุปกรณ์รับสัญญาณ (Receiver) ถูกตั้งอยู่ตรงข้ามกัน โดยทาง Receiver จะรับรู้ได้ว่ามีวัตถุผ่านหากลำแสงนั้นส่งมาไม่ถึงตัวเอง Opposed Mode จะมีระยะในการตรวจจับไกลกว่ารูปแบบอื่นๆ เหมาะสำหรับการตรวจจับวัตถุแบบทึบแสง มีขนาดใหญ่

2. Retroreflective mode

การทำงานประเภท Retroreflective mode นั้น อุปกรณ์ส่งสัญญาณแสงจะถูกติดตั้งอยู่ฝั่งเดียวกับอุปกรณ์รับสัญญาณ โดยฝั่งตรงข้ามจะเป็นแผ่นสะท้อน (Reflector) ตัวเซ็นเซอร์จะทำการตรวจจับลำแสงที่ส่งกลับมาจากแผ่นสะท้อน หากมีสิ่งใดมาขวางระหว่างกลางก็จะมีการส่งสัญญาณให้อุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับรับรู้ เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่จำกัด สามารถตรวจจับวัตถุได้ในระยะไกล

3. Proximity mode

การทำงานของ Proximity Mode ก็เป็นการทำงานอีกรูปแบบบที่อุปกรณ์ส่งสัญญาณและรับสัญญาณนั้นอยู่ฝั่งเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้มีการใช้งานแผ่นสะท้อน แต่เป็นการตรวจจับแสงที่สะท้อนจากตัววัตถุที่ผ่านเข้ามาโดยตรงเลย

Proximity mode จะมีการแบ่งแยกย่อยออกไปอีกตามรูปแบบการสะท้อนของแสง โดยจะมี 4 รูปแบบย่อย ดังนี้

3.1 Diffuse mode การส่งสัญญาณแสงไปยังวัตถุให้สะท้อนกลับมา โดยตัวรับสัญญาณจะรับเฉพาะแสงที่ส่งกลับมาในมุมตั้งฉากเท่านั้น
3.2 Divergent mode การส่งสัญญาณแสงแบบกระจายออกไปยังวัตถุ เพื่อให้สามารถตรวจจับวัตถุที่มีความมันวาวได้ดียิ่งขึ้น แลกด้วยระยะการตรวจจับที่สั้นลง เนื่องจากระยะการสะท้อนกลับของแสงที่เกิดจากการกระจายนั่นเอง
3.3 Convergent mode การส่งสัญญาณแสงแบบรวมศูนย์ไปที่จุดโฟกัส การตรวจสอบจะมีระยะคงที่ เหมาะสำหรับการตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็ก
3.4 Background suppression mode การส่งสัญญาณแสงสองชุดไปยังเป้าหมาย ชุดแรกจะเป็นการส่งแสงไปยังวัตถุ ชุดที่สองนั้นจะเป็นการส่งแสงไปยังพื้นหลัง เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่แคบ เนื่องจากตัวรับสัญญาณจะสามารถแยกแยะระหว่างวัตถุและสิ่งที่อยู่ด้านหลังวัตถุได้ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงานน้อย

Photoelectric-sensor-02

สัญญาณแสงภายใต้การทำงานของ Photoelectric Sensor

อุปกรณ์ส่งสัญญาณแสงเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างมากกับ Photoelectric Sensor โดยเราสามารถแบ่งรูปแบบของสัญญาณแสงได้ใหญ่ๆ 2 ประเภทคือ

Visible Light (แสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า) เช่น แสงสีแดง สีเขียว เหมาะสำหรับการตรวจจับชิ้นงานระยะใกล้ ใช้ความแม่นยำสูง

Non Visible Light (แสงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า) เช่น แสงอินฟาเรด เหมาะสำหรับการตรวจจับชิ้นงานระยะไกล แต่แลกกับการที่ความแม่นยำที่ต่ำกว่า

โดยผู้ใช้งานควรตรวจสอบอุปกรณ์ว่าใช้แสงแบบไหนในการทำงาน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ปัญหาที่เกิดจากการทำงานเกี่ยวกับ Photoelectric sensor

แม้จะเป็นเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับได้ไวและมีประสิทธิภาพ แต่อุปกรณ์ Photoelectric Sensor เองก็มีข้อจำกัดในการใช้งานเช่นกัน ดังนี้

  • Photoelectric Sensor จะถูกแบ่งระดับการป้องกันการทำงานจากสภาวะแวดล้อมต่างๆ ด้วย IP Rating อุปกรณ์ที่มี IP Rating ต่ำ จะไม่เหมาะสมในการทำงานบริเวณที่ฝุ่น แป้ง หรือสารเคมี เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อระยะการตรวจจับและความแม่นยำในการตรวจจับได้ และด้วยเหตุผลดังกล่าวการเลือกทำความสะอาดเซนเซอร์ถือเป็นการปฏิบัติขั้นพื้นฐานกรณีอุปกรณ์แสดงผลผิดพลาด
  • การเหลื่อมของอุปกรณ์เป็นอีกปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อปฏิบัติงานจริง ทำให้การส่งสัญญาณระหว่าง Emitter และ Receiver สามารถแก้ได้ง่ายๆ ด้วยการใช้เชือกหรือเส้นเอ็นเป็นตัวช่วยในการกำหนดทิศทางของสัญญาณแสงก่อนการดำเนินงาน

สรุปบทความ

แม้เป็นการทำงานด้วยสัญญาณแสงเหมือนกัน แต่ Photoelectric sensor กลับมีการทำงานที่ซับซ้อนและหลากหลาย ทางผู้ใช้งานควรมีการตรวจสอบความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมตนเอง เพื่อเลือกอุปกรณ์ Photoelectric sensor ไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพมากที่สุด

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรือสนใจในเรื่องของ Photoelectric sensor รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการทำงานระบบ automation คุณสามารถดูสินค้าที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่ หรือเลือกติดต่อเราได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง และระบบงานออโตเมชั่น IoT พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านโรงงานอุตสาหกรรมจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบริการออกแบบระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม การใช้งานอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า รวมถึงการประกอบติดตั้งเชื่อมการทำงานของเครื่องจักรกล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น


ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

Sumipol-ebook-measuring