การเลือกขนาดด้ามที่ใหญ่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในการกลึงงานได้ดี (High rigidity)

แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดป้อมมีดของเครื่องจักรที่ใช้งาน ถ้าป้อมมีดถูกจำกัดขนาดให้ใช้ด้ามมีดที่เล็กผู้ใช้งานควรเพิ่มความแข็งแกร่งโดยการจับระยะยื่นของด้ามมีดให้สั้นลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้ามมีดกลึงโดยทั่วไปจะมีขนาดมาตราฐานตามความกว้างและความหนา อาทิเช่น ขนาด 10×10 mm, 12×12 mm , 20×20 mm , 25×25 mm เป็นต้น

อีกส่วนที่มีความสำคัญคือการเลือกด้ามมีดตามการป้อนงานคือด้ามมีดซ้ายหรือด้ามมีดขวา (Feed direction) เครื่องกลึงโดยทั่วไปถ้ามองจากด้านหน้าเครื่องจักร ด้านซ้ายจะเป็นหัวหมุน (Spindle) ด้านขวาจะเป็นป้อมมีด (Turret) ในการกลึงงานถ้าเลือกใช้ด้ามมีดขวาการวางด้ามมีดจะต้องคว่ำลง หัวหมุนจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเดินกลึงงาน โดยแรงหลักที่กระทำระหว่างชิ้นงานกับด้ามมีดในขณะหมุนงานจะมีทิศทางขึ้นด้านบน ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะมีข้อดีคือ เศษกลึงจะตกลงด้านล่างทำให้ไม่ขวางการทำงาน แต่การรับแรงกลึงจะไม่ค่อยดีและการเปลี่ยนเม็ดมีดก็ทำได้อยาก ซึ่งส่วนใหญ่การเลือกด้ามมีดขวาในงานกลึงแบบต่อเนื่อง (Continuous cutting) อาทิเช่น งานกลึงเพลากลมต่างๆ แต่ในทางตรงข้าม การเลือกด้ามมีดซ้ายการวางด้ามมีดจะหงายขึ้น หัวหมุนจะหมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเดินกินงาน โดยเเรงที่กระทำจะมีทิศทางลงด้านล่างซึ่งเป็นฐานเครื่องที่มีความแข็งแกร่ง ดังนั้นข้อดีคือการกลึงงานจะมีความแข็งแกร่งมาก,ความแม่นยำสูงและการเปลี่ยนเม็ดมีดก็ทำได้ง่าย แต่ต้องระวังเรื่องเศษกลึงที่จะขวางการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ด้ามมีดซ้ายในการกลึงงานแบบกระแทก (Interrupted cutting) อาทิเช่น การกลึงงานเพลาข้อเหวี่ยง , การกลึงงานผ่านรู ผ่านส่วนเว้า เป็นต้น

Sumipol-machining-tools