Machining Center หรือเครื่องกัดที่มีอุปกรณ์เปลี่ยน Tools แบบอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่มีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมในประเทศไทย เนื่องจากเครื่องกัดแบบ Machining Center สามารถใช้งานได้ครบเครื่องมากกว่าด้วยการสั่งการเพียงครั้งเดียว ลดการทำงานซ้ำซ้อนและแรงงานคน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแข่งขันสูง ทั้งแง่คุณภาพ ประสิทธิภาพ และความรวดเร็ว ที่เครื่องกัด Machining Center ได้รับความนิยมอย่างมาก

โดยการทำงานของเครื่องกัดเองก็มีความแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของเครื่อง ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทเครื่องกัด Machining Center ได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

ชนิดของเครื่องกัด

เครื่องกัด Machining Center สามารถแบ่งได้ด้วยแกนของเครื่อง โดยแบ่งเป็น 3 แกน และ 5 แกน

เครื่องกัดแบบ 3 แกน

เครื่องกัดแบบ 3 แกน คือเครื่องกัดที่สามารถเคลื่อนแกนแนวตรงได้ตามแนวแกน X Y และ Z โดยจะตั้งใบมีดเป็นแนวตรงอยู่ที่เดิมเพื่อทำการกัดชิ้นงานให้ได้รูปร่างต้องการ

รวมถึงเครื่องกัด Machining สามแกนนั้นสามารถเจาะ คว้าน เก็บรูปแบบชิ้นงานได้อย่างเรียบร้อยโดยไม่ต้องมีการหยุดเครื่องเพื่อเปลี่ยนเครื่องมือ เนื่องจากเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ เพียงสั่งการครั้งเดียวก็ได้ชิ้นงานที่ต้องการในทันที

รูปที่1 ภายในบทความเครื่องกัด

ตัวอย่างของการใช้งานเครื่องกัดแบบ 3 แกน เช่น ชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ต่างๆ หรืออุปกรณ์อุตสาหกรรมภายในโรงงาน เป็นต้น

ซึ่งเครื่องกัดแบบ 3 แกนก็ยังมีขีดจำกัดในการทำมุมโค้ง การเก็บงานในส่วนเฉียงที่อาจทำได้ลำบากดังนั้น เครื่องกัดแบบ 5 แกนจึงถูกพัฒนาขึ้น

เครื่องกัดแบบ 5 แกน

เครื่องกัดแบบ 5 แกนถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยแนวคิดที่ต้องการสร้างงานที่ซับซ้อนมากขึ้นและมีความเรียบร้อยมากขึ้น

นอกจากการเคลื่อนที่ในแนวแกน X Y และ Z แล้ว เครื่องกัด Machining Center ยังเพิ่มการทำงานของแกนหมุนเข้าไป เพื่อสร้างพื้นผิวประเภทโค้งมน กลม ด้วยการเอียงชิ้นงานให้สอดคล้องกับการทำงานของใบมีดตลอดเวลา ซึ่งเครื่องกัด Machining Center จะสามารถแบ่งได้ตามแกนจับยึดชิ้นงานและใบมีด ซึ่งสามารถแบ่งได้ 6 ประเภทดังนี้

  1. แกนทั้งหมดทำหน้าที่ยึดใบมีดตัด และทำการกัดชิ้นงานที่ตั้งอยู่บนฐาน
  2. แกน 4 แกนทำหน้าที่ยึดจับใบมีด โดยมี 1 แกนยึดจับชิ้นงาน
  3. แกน 3 แกนทำหน้าที่ยึดจับใบมีด โดยมี 2 แกนยึดจับชิ้นงาน
  4. แกน 2 แกนทำหน้าที่ยึดจับใบมีด โดยมี 3 แกนยึดจับชิ้นงาน
  5. แกน 1 แกนทำหน้าที่ยึดจับใบมีด โดยมี 4 แกนยึดจับชิ้นงาน
  6. แกนทั้งหมดถูกใช้เพื่อยึดจับชิ้นงานโดยมีมีดตัดติดตั้งอยู่บนฐาน

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องกัดแบบ 5 แกน เช่น ใบพัดเครื่องบิน ชิ้นส่วนของเครื่องบิน ชิ้นส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างๆ ที่มีความซับซ้อนสูงและต้องใช้การคำนวณที่ละเอียดอ่อน  

ปัจจุบันเครื่องกัด Machining Center นี้ถูกพัฒนาขึ้นมากไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ 3 แกน หรือ 5 แกน ทำให้เราสามารถตรวจสอบการใช้งานของเครื่องจักรได้ตามเวลาจริง รวบรวมข้อมูลไว้สำหรับการทำงานในครั้งต่อๆไป อีกทั้งยังออกแบบหน้าจอการทำงานให้ง่ายต่อการสั่งการ สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ในเวลาอันสั้นแม้ยังไม่เคยใช้งาน

โดยเฉพาะเครื่องตัด Machining ของ FANUC ที่ใช้งานสะดวก รองรับเทคโนโลยีการตัดแบบใหม่ๆ มี
ฟังก์ชั่นทำงานอัตโนมัติ สามารถกำหนดการทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ได้

หลักการใช้งานเครื่องกัด (Machining Center)

เครื่องกัด Machining Center ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนสามารถใช้งานได้ง่ายด้วยตัวคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบ 3 แกน หรือ 5 แกน โดยมีวิธีการใช้งานดังนี้

1.ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องกัดว่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ ก่อนมีการเดินเครื่อง รวมถึงตรวจสอบ Tools ต่างๆที่ติดตั้ง

2.เดินเครื่องเพื่อตรวจสอบระบบ เช็คหน้าจอต่างๆว่ามีการทำงานปกติตามที่ควรหรือไม่

3.วางวัสดุที่ต้องการทำเป็นชิ้นงานลงบนแท่นวาง หรือแท่นจับ เช็คให้ดีว่าแกนต่างๆอยู่ในตำแหน่งเริ่มต้น

4.ดำเนินการใส่ข้อมูล เพื่อให้เครื่องกัดทำงานกัดชิ้นงานที่ได้ตั้งค่าไว้

5.เครื่องกัดจะทำงานอัตโนมัติตามรูปแบบที่ได้ตั้งค่าไว้ โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนหัวตัด หรือเลื่อนแกนจับงาน

6.เครื่องจะทำการหยุดการทำงานด้วยตัวเองตามที่ตั้งค่าไว้

7.ตรวจสอบชิ้นงานว่าออกมาตามค่าที่กำหนดหรือไม่

การบำรุงรักษาเครื่องกัด

  1. ในการใช้งานเครื่องกัด Machining Center ควรทำตามคำแนะนำจากคู่มือหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่มีความละเอียดอ่อน มีการตรวจสอบว่าสามารถใช้เครื่องกัดได้ในงานประเภทใดๆบ้าง ก่อนเริ่มทำชิ้นงานหากไม่มีการตรวจสอบและใช้งานผิดประเภทตั้งแต่เริ่มแรก อาจทำให้ทั้งเครื่องกัดและตัวชิ้นงานที่ต้องการมีปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องก่อนว่าสามารถทำงานได้ตามปกติสภาพ ไม่มีติดขัด หรือมีเสียงผิดแปลกใดๆ มาจากเครื่องใช่หรือไม่
  1. ตรวจเช็คความสะอาดของเครื่อง รวมถึงดำเนินการทำความสะอาด รักษาดูแลระบบต่างๆเป็นระยะๆ ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจตามมา เช่นความร้อนสูงเนื่องจากส่วนระบายความร้อนตัน เป็นต้น
  1. ควรใช้งานเครื่องกัด Machining Center เป็นระยะๆ เพื่ออายุการใช้งานของเครื่องที่ยาวนาน หากมีการปิดเครื่องจักรเป็นระยะเวลาหลายเดือน ควรตรวจสอบระบบต่างๆก่อนเริ่มการทำงานของเครื่องเพื่อป้องกันความผิดพลาด

สรุปบทความ

เครื่องกัด Machining Center เป็นเครื่องจักรที่มีความสามารถที่รอบด้าน ครบครัน แต่ผู้ใช้งานควรเลือกชนิดของเครื่องกัดให้ดี และมีการใช้งานที่เหมาะสม

เครื่องกัดชนิด 3 แกน เหมาะสำหรับงานที่เป็นรูปทรงค่อนข้างเรียบ ไม่มีการบิดเกลียว บิดโค้งมาก เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวบางจุด เครื่องกัดชนิด 5 แกน เหมาะสำหรับงานละเอียด รูปทรงโค้งมน พื้นผิวเรียบ เช่นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ละเอียดอ่อน

หากสนใจเทคโนโลยีเกี่ยวกับเครื่องกัด Machining และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางวิศวกรรมอื่นๆ คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ทางเราพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครืองมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง

Sumipol-ebook-cutting-tool