ประโยชน์ของ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode reader)

สินค้าโดยส่วนใหญ่จะมีบาร์โค้ด (Barcode) ติดกับตัวสินค้าแทบทุกชิ้น เพื่อการชำระสินค้าหรือเป็นที่เก็บข้อมูลสินค้า ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น 

สำหรับงานด้านอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้มีการนำบาร์โค้ด และเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) เข้ามาใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ต่าง ๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องจักรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ เป็นต้น เพื่อใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลและการตรวจสอบกระบวนการผลิต ที่ง่ายต่อการทำงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

ซึ่งบทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก บาร์โค้ด (Barcode) เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) รวมไปถึงประโยชน์ด้านต่าง ๆ สำหรับการนำบาร์โค้ดและเครื่องอ่านบาร์โค้ด มาใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน 

ความสำคัญของบาร์โค้ด ในอุตสาหกรรม

ระบบบาร์โค้ด (Barcode) นับว่าเป็นหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญในการตรวจสอบข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นใช้ในการจัดเก็บชื่อ รหัส ราคาสินค้า หรือช่วยในการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้นได้ สำหรับการใช้ Barcode ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท มีดังนี้

  • อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Industry) บาร์โค้ดจะถูกติดบนชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์ต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับอะไหล่ชิ้นนั้น ๆ เช่น ชื่อรุ่น รหัสอะไหล่ ประเภทของอะไหล่ ใช้สำหรับการตรวจสอบหรือเรียกดูข้อมูลสำหรับกระบวนการผลิต
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Industry) สามารถนำบาร์โค้ด มาช่วยในการจำแนกสินค้า รหัสสินค้า เพื่อการทำงานที่รวดเร็ว แม่นยำ
  • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) บาร์โค้ดช่วยให้กระบวนการคัดแยกชนิดของอาหารและผลิตภัณฑ์ เพื่อลดการสูญเสียของวัตถุดิบ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
  • อุตสาหกรรมการแพทย์และเวชภัณฑ์ (Medical / Pharmaceuticals) ระบบ Barcode เข้ามาใช้งานเพื่อกำหนดความถูกต้องของผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือแพทย์นั้นๆ เนื่องจากอุตสาหกรรมด้านนี้เน้นทางด้านความปลอดภัยสำหรับผู้อุปโภคและบริโภคมากโดยเฉพาะเรื่องยาจะต้องสามารถสืบย้อนกลับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น และเนื่องด้วยอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ 

ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode reader) และการใช้งานบาร์โค้ดสำหรับงานอุตสาหกรรม

จะเห็นได้ว่าระบบ Barcode เข้ามามีบทบาทในหลายอุตสาหกรรม แต่หากเรามองถึงในกระบวนการ การผลิต ยกตัวอย่างเช่น การนำรหัสบาร์โค้ดเข้ามาใช้ในการระบุรูปแบบ รุ่น ขนาด หรือข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการผลิตสินค้า หรือแม้แต่นำ Barcode เข้ามาช่วยในการตรวจสอบคุณภาพว่าสินค้าได้ผ่านกระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง โดยการสร้าง Barcode ไว้ที่สินค้า ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบข้อมูลจำนวนมากได้ง่ายขึ้น สำหรับประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode) แบ่งออกเป็น

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ (Laser Readers)
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ (Laser Readers)

จะใช้เลเซอร์ซึ่งมีความเข้มแสงสูงยิ่งไปที่บาร์โค้ด จับความถี่แสงที่สะท้อนกลับ ข้อดีคือ ความแม่นยำสูง สแกนระยะไกลได้ สูงสุดได้ถึง 60-80ซม. สแกนได้แม้ป้ายบาร์โค้ดสั่นไหว 

  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่าย (Linear Imaging)

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายสามารถอ่านรหัสบาร์โค้ดได้จากหลายทิศทางในครั้งเดียว โดยที่เครื่องอ่านแบบเลเซอร์ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมบางประเภทมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก การอ่านรหัสได้จากหลายทิศทางทำให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานอุตสาหกรรมอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เครื่องอ่านแบบภาพถ่ายมีวิธีการติดตั้งที่เข้าใจได้ง่าย มีการแสดงผลของการตั้งค่าให้เห็นผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้เข้าใจและใช้งานได้ง่ายขึ้น สามารถอ่านได้ทั้ง 1D 2D คุณสมบัติ คือ สามารถสแกนได้ทุกทิศทาง 360 องศา ไม่ต้องจับป้ายให้ตรงกับบาร์โค้ด สามารถสแกนบาร์โค้ดที่คุณภาพการพิมพ์ต่ำได้ เพราะเครื่องรับภาพบาร์โค้ดทั้งหมดมาประมวล

Barcode Microscan - omron
  • บาร์โค้ด 1 มิติ (1D Code Reading) 

บาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นแถบที่ประกอบด้วยเส้นสีดำและสีขาว สามารถใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอีกษรได้ประมาณ 20 ตัวอักษร ซึ่งบาร์โค้ด 1 มิติ มีด้วยกันหลายชนิด เช่น UPC  EAN-13 โดยทั่วไปแล้วนั้น บาร์โค้ดชนิดนี้จะเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้า หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต

Barcode - EAN-13
Barcode - Code 128 Code 39

EAN 13 (European Article Numbering) เป็นแบบบาร์โค้ดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก และเป็นบาร์โค้ดมาตรฐานสากลที่เราต้องไปขึ้นทะเบียนกับ GS1 เป็นตัวเลขชุด 13 หลัก นิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น อาหาร เครื่องดื่ม

Code 39 และ Code 128 เป็นบาร์โค้ดที่ไม่ต้องขึ้นทะเบียน ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชน สามารถนำมาใช้ได้ฟรีกับสินค้าทั่วไป บาร์โค้ดแบบนี้เป็นรหัสที่ไม่กำหนดจำนวนหลัก ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องอ่านบาร์โค้ด และไม่จำเป็นต้องมีตัวเลขในการตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด สามารถแสดงได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร รวมถึงอักขระพิเศษ (ASCII)

  • บาร์โค้ด 2 มิติ (2D Code Reading)

บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่ รหัสคิวอาร์ (QR Code), ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix), รหัสอีซี (EZcode), รหัสแอซเทค (Aztec Code), เอ็มเอสแท็ก (MS Tag), และบาร์โค้ดสองมิติจากไมโครซอฟท์

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายสามารถอ่านบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ ได้ เนื่องจากในหลาย ๆ อุตสาหกรรมมีการใช้ระบบบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ ระบบบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแบบ 1 มิติ ทำให้สามารถติดตามขั้นตอนการทำงานหรือติดตามกระบวนการผลิตสินค้าและขั้นตอนการขนส่งสินค้าได้ ระบบบาร์โค้ดแบบ 2 มิติที่นิยมใช้กัน ได้แก่ Data Matrix และ QR Code นอกจากนี้ เครื่องอ่านแบบภาพถ่ายยังสามารถอ่านรหัสบาร์โค้ดบนพื้นผิวของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีพื้นผิวไม่สมบูรณ์ หรือพื้นผิวโค้งได้

ด้วยข้อดีและประโยชน์ของเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่าย (Linear Imaging) ทำให้หลายอุตสาหกรรมหันมานิยมใช้ นอกจากประสิทธิภาพในการสแกนมีความแม่นยำสูงแล้ว ยังสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขไม่ว่าการอ่านนั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม จะมีการเก็บภาพไว้สำหรับค้นหาส่วนของบาร์โค้ดที่มองไม่เห็นหรือสูญหายไป จึงสามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอนการผลิตได้

ประโยชน์ของการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader)

  • ง่ายต่อการใช้งาน

เครื่องสแกนบาร์โค้ดใช้งานง่ายและใช้งานได้ง่ายมาก สามารถติดตั้งได้รวดเร็วเนื่องจากทำงานโดยใช้ไดรเวอร์ที่เรียบง่ายและตั้งโปรแกรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

  • สามารถป้องกันข้อผิดพลาดของมนุษย์ได้

สามารถขจัดข้อผิดพลาดของมนุษย์ เช่น การเข้ารหัสข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง พนักงานเพียงแค่สแกนบาร์โค้ดและงานก็เสร็จเรียบร้อย ที่สำคัญที่สุด การป้องกันข้อผิดพลาดของมนุษย์สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ เนื่องจากข้อผิดพลาดของธุรการมักจะมีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นอันตรายหากเข้ารหัสข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง เครื่องสแกนบาร์โค้ดเป็นการลงทุนระยะยาวและเป็นเครือข่ายความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของคุณ

  •  เก็บข้อมูลของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องสแกนบาร์โค้ดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาก ตัวอย่างเช่น หากลูกค้าต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติของผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่าย  การค้นหาข้อมูลสามารถทำได้โดยใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดเพื่อค้นหาข้อมูลนั้นแทนคุณได้ ลูกค้าของคุณสามารถรับข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที 

V500-R2 Laser-type BarCode Reader/Features - OMRON
 Code Readers V500-R2 - OMRON
  • ลดเวลาการใช้งาน

การใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ช่วยขจัดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้โดยมนุษย์ ในการป้อนข้อมูล และการรวบรวมข้อมูลในการประมวลผล แทนที่จะต้องเข้าสู่ระบบทางกายภาพและบันทึกทุกอย่างด้วยมือ คุณสามารถสแกนบาร์โค้ดที่มีข้อมูลทั้งหมดที่คุณต้องการได้ โดยข้อมูลนี้จะถูกบันทึกลงในคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ ช่วยให้คุณประหยัดเวลาและแรงงานได้มาก

  • เครื่องสแกนบาร์โค้ดช่วยประหยัดทรัพยากร

คุณสามารถบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัลได้อย่างง่ายดาย ช่วยลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น เช่นการใช้กระดาษในการจดบันทึกข้อมูลและติดตามสินค้า

สำหรับประโยชน์ของบาร์โค้ด (Barcode) ที่ควรมีไว้ใช้ในธุรกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสินค้าคงคลังเป็นจำนวนมาก การใช้ Barcode Reader สามารถแสดงผลของข้อมูลเพื่อดูและตรวจสอบได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากจะทำให้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว เครื่องอ่านบาร์โค้ดยังช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากการคีย์ข้อมูลและตัวเลขจากแป้นพิมพ์อีกด้วย 

นอกจากประโยชน์ของเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว การเลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ผลิตไม่ควรมองข้าม การเลือกใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีคุณภาพในการสแกนได้ดี และเหมาะสมกับการใช้งานในอุตสาหกรรมจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด  

Banner - Sensors Sumipol

บริการด้าน AUTOMATION SOLUTION และการปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Sumipol Corporation) ในฐานะผู้นำด้านการจัดจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมบริการครบวงจร ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากกว่า 10,000 ราย ในหลากหลายอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมายาวนานกว่า 30 ปี 

เรามุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เสริมสร้างระบบคุณภาพ และพัฒนาสู่เทคโนโลยีอัจฉริยะในยุคอุตสาหกรรม 4.0 มีความพร้อมในการให้คำปรึกษาและบริการด้าน Smart Factory ระบบ IoT Automation  อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัย และโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด 

รวมไปถึงการวินิจฉัยไลน์การผลิตของคุณจากหน้างานจริง เพื่อพัฒนาวางแผนการปรับปรุง และแนะนำเครื่องมือที่เหมาะสมกับการผลิตของคุณ ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ เราพร้อมให้บริการคุณอย่างเต็มที่

หากคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าหรือบริการจากเรา 

สามารถพูดคุย วิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญของสุมิพลได้โดยตรง

คุณสามารถติดต่อเราได้ ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000