ระบบ Factory Automation หรือที่หลายคนเรียกกันติดปากแบบสั้นๆ ว่าระบบ Automation คือ หนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่เกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ไม่เพียงความล้ำสมัยและดูสะดวกสบายกว่าการดำเนินการโรงงานแบบเดิมๆ แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพิ่มโอกาสในการแข่งขันของเหล่าผู้ประกอบการให้สูงขึ้นอีกด้วย

การออกแบบระบบ Automation ความสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าเทคโนโลยี

หากเป็นผู้ประกอบการหรือคนติดตามกระแสของเทคโนโลยี คงยากนักที่จะไม่เคยได้ยินเรื่องราวของอุตสาหกรรม 4.0 หรือคือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาร่วมกับโรงงาน โดยระบบ Automation ก็ถือเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าการอัปเกรดเทคโนโลยีต่างๆ คือการออกแบบระบบ Factory Automation ให้เหมาะสม

แม้ระบบ Automation ภายในโรงงานนั้นจะมีปัจจัยที่ต่างกันออกไปบ้าง แต่ในการวางระบบจริงก็ยังมีเรื่องจำเป็นหลายอย่างในการ “ออกแบบให้ปัง!” มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรม 4.0 ที่เทคโนโลยีก้าวหน้าถึงขีดสุด

1. ออกแบบให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรา ความเหมาะสมในการออกแบบระบบ Automation ไม่ใช่แค่การเลือกเครื่องจักรให้เหมาะกับการผลิตเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบอีก ยกตัวอย่างเช่น

  • ขนาดของโรงงาน ทางเข้า ทางออก
  • ระบบขนส่งต่างๆ
  • สินค้า วัตถุดิบในการผลิต
  • ระยะเวลาในการผลิตโดยรวม
  • ต้นทุนในการทำงานทั้งหมด

เป็นต้น

How to design Factory Automation in Industry 4.0

2. ออกแบบเผื่ออนาคตข้างหน้า การออกแบบ Factory Automation ที่ดี ควรมีการออกแบบเผื่ออนาคตข้างหน้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขยายระบบการผลิต การเพิ่มรูปแบบสินค้า หรือแม้แต่กระทั่งการต่อเติมโรงงาน

ซึ่งในกรณีนี้ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการวางแผนไว้ระดับหนึ่ง แม้ว่าตัวระบบ Automation จะมีความยืดหยุ่น แต่การแก้ไขสิ่งต่างๆ ในระบบล้วนมีค่าใช้จ่ายและมีข้อจำกัดของมัน การที่สามารถระบุได้ว่าวางแผนจะเพิ่มสินค้าชนิดใด หรือวางแผนโรงงานนี้ต่อไปในอนาคต จะทำให้การออกแบบ Factory Automation มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

3. ออกแบบให้ครบจบสมบูรณ์ การวางแผนการผลิตคือการวางแผนสร้าง “ทั้งระบบ” ขึ้นมาในโรงงานของเรา ซึ่งควรจะมีความครบถ้วน ครอบคลุม ตั้งแต่เริ่มนำวัสดุเข้ามาในโรงงานไปจนถึงระบบ Quality Control (QC) ทว่าด้วยงบประมาณที่จำกัดหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้บางโรงงานเลือกที่จะตัดระบบบางส่วนออกแต่ต้น

ซึ่งการทำแบบนั้นอาจทำให้โรงงานของคุณ “เสียโอกาส” ในการพัฒนาได้ ไม่ว่าจะปรับปรุง ซ่อมแซม หรืออัปเกรดระบบทั้งหมด ดังนั้นการออกแบบจึงควรออกแบบให้ครบถ้วน จบทุกกระบวนการเสียก่อน ไม่ใช่การตัดทิ้งดื้อๆ ทั้งนี้ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าการติดตั้งระบบต่างๆ หรือการตัดระบบบางส่วนทิ้ง จะไม่ส่งผลกับคุณภาพส่วนอื่นของการผลิต

สำหรับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปแล้ว การปรับใช้วิธีการออกแบบ 3 ข้อหลักๆ ไปตามแต่ละโรงงานนั้นนับว่าครอบคลุมครบถ้วน สามารถทำให้งานออกแบบออกมาได้อย่างสมบูรณ์ในทุกมิติ ภายใต้งบประมาณที่จำกัดแล้ว

ข้อดีของการออกแบบระบบ Automation ที่ดี

1. ประหยัดงบประมาณ
2. ได้ระบบ Automation ที่ครบถ้วน
3. ทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหลโดยใช้คนน้อยที่สุด
4. สามารถซ่อมแซม อัปเกรดได้ง่าย

สรุปบทความ

การออกแบบระบบ Factory Automation สำหรับหลายคนอาจดูล้ำสมัยจนเข้าไม่ถึง ทว่าแม้เทคโนโลยีจะก้าวไกล แต่พื้นฐานของการวางระบบนั้นยังต้องอิงจากผู้ประกอบการเป็นสำคัญ การเลือกที่จะศึกษาด้วยตนเอง รวมถึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ให้ระบบนั้น “เหมาะ” กับโรงงาน ก็สามารถทำให้ Factory Automation ของคุณ ปัง! ได้ไม่ยากเลย

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรือสนใจเกี่ยวกับการวางระบบ Automation รวมถึงการอัปเกรดระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางระบบ คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง และระบบงานออโตเมชั่น IoT พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านออโตเมชั่นจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบริการออกแบบระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า ประกอบติดตั้งเชื่อมการทำงานของเครื่องจักรกล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

ebook-automation