สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในอุตสาหกรรมการผลิต คือ การวัดขนาดที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับการออกแบบทุกประการและรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ เป็นพื้นฐานสำคัญของการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ช่วยควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน บทความนี้จะนำเสนอ เครื่องมือวัด ที่จำเป็นในโรงงาน มีอะไรบ้าง?

ทำไมถึงต้องใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ

ก่อนอื่นในการเลือกเครื่องมือวัดสำหรับโรงงานจะต้องคำนึงถึงเรื่องคุณภาพเป็นหลักเสมอ เนื่องจากเครื่องมือวัดที่หาซื้อได้ในตลาดทั่วไป สามารถให้ค่าที่ถูกต้องตามการวัด แต่ในการวัดซ้ำ ๆ อาจเกิดความคลาดเคลื่อน ทำให้ได้ผลการวัดที่ไม่แน่นอนหรือแสดงตัวเลขที่ผิดพลาดไปจากที่ต้องการ

ดังนั้นในภาคอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ มาตรฐานสูง ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำเชื่อถือได้และให้ค่าตรงตามเดิมทุกครั้งที่ทำการวัดชิ้นงาน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตให้ได้สินค้าตามมาตรฐาน อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาอันเนื่องมาจากต้องทำงานเดิมซ้ำ ลดค่าใช้จ่าย ป้องกันการทำงานผิดพลาด รวมถึงกำจัดปัญหาด้านความปลอดภัย

แนะนำ 10 เครื่องมือวัด ที่จำเป็นในโรงงาน มีอะไรบ้าง ?

เครื่องมือวัดใช้ในการกำหนดขนาดของวัตถุหรือชิ้นงาน ซึ่งการวัดแต่ละประเภทจะมีเครื่องมือเฉพาะ เพื่อให้สามารถเข้าถึงชิ้นงานและทำการวัดได้อย่างแม่นยำ จึงควรเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานเสมอ

1. เวอร์เนีย คาลิปเปอร์ (Vernier Caliper)

เวอร์เนีย คาลิปเปอร์ เป็นเครื่องมือวัดพื้นฐานที่ได้รับความนิยมอย่างมากในภาคอุตสาหกรรม ใช้สำหรับวัดขนาดทางด้านมิติที่ให้ความละเอียดในการวัดในระดับทศนิยม 2 ตำแหน่งของมิลลิเมตร และสามารถใช้วัดได้หลากหลายลักษณะ รวมอยู่ในเครื่องมือชิ้นเดียวทั้งขนาด ความยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง รวมถึงความลึกของวัสดุ ทำให้มีการนำเวอร์เนียไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม

อ่านเพิ่ม : เวอร์เนียคืออะไร ใช้งานอย่างไร?


2. ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)

ไมโครมิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดชิ้นงานที่สามารถวัดได้ทั้งความกว้าง ยาว หรือความหนาของวัตถุที่มีขนาดเล็ก ต้องการความละเอียดในการวัด จัดว่าเป็นเครื่องมือวัดที่ให้ค่าความละเอียดสูง อ่านค่าวัดได้เที่ยงตรงแม่นยำกว่าเครื่องมือวัดชนิดอื่น อย่างไดอัลคาลิปเปอร์และเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจวัดชิ้นงานได้ละเอียดมากขึ้น 

อ่านเพิ่ม : ไมโครมิเตอร์ คือ อะไร? ใช้งานอย่างไร แบบจับมือทำ


3. ไฮเกจ (Height Gage)

ไฮเกจ (Height Gauge) คือ เครื่องมือวัดขนาดความสูง (Height) ของชิ้นงาน ทำการวัดด้วยหัววัด Probe หรือไดอัลเทสที่เลื่อนขึ้นลงสัมพันธ์กับสเกลวัดบนแกนแนวตั้งและสามารถทำการขีดรอยบนผิวงาน เพื่อกำหนดระยะ ขนาด หรือความสูงได้ด้วยเหล็กบาก (Scriber) ที่ติดตั้งมากับตัวอุปกรณ์ สำหรับงานโมเดลหรือร่างแบบ (Lay-out) ในงานอุตสาหกรรมโลหะก่อนทำการผลิตจริงมักใช้งานคู่กับโต๊ะระดับหรือแท่นระดับ (Surface Plate) เพื่อให้ได้ระนาบผิวอ้างอิงในการวัด 

นอกจากนี้ไฮเกจยังถูกใช้ในรูปแบบงานอื่นๆ เช่น “มาตรวิทยา” หรือใช้งานในทางการแพทย์เพื่อวัดส่วนสูงของผู้ป่วยอีกด้วย

อ่านเพิ่ม : ไฮเกจคืออะไร? ตอบโจทย์การใช้งานแบบไหน?


4. ไดอัลเกจ (Dial Indicator)

ไดอัลเกจ เป็นชื่อเรียกของ ไดอัลอินดิเคเตอร์ (Dial Indicator) หรือนาฬิกาวัด ใช้ในการวัดเปรียบเทียบชิ้นงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน แล้วยังสามารถใช้ตรวจสอบความคลาดเคลื่อนของเครื่องจักรเพื่อคงความถูกต้องแม่นยำในการผลิต

งานที่เหมาะกับการใช้ไดอัลเกจ ได้แก่ การวัดความเป็นระนาบ ความขนาน ระยะเยื้องศูนย์ เช่น วัดหาศูนย์ของวัตถุก่อนทำการกลึง ตรวจสอบความเที่ยงศูนย์ ตรวจสอบความขนาน ตรวจสอบขนาด และวัดความเยื้องศูนย์

อ่านเพิ่ม : ทำความรู้จักกับไดอัลเกจ เครื่องมือวัดละเอียดในงานผลิต


5. ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ (Dial Test Indicator)

ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ หรือนาฬิกาวัดเปรียบเทียบ และเป็นที่รู้จักกันในอีกหลายชื่อ เช่น ไดอัลเกจแบบคันโยก หรือ ไดอัลเกจแบบเข็มกะดก (lever arm test indicator) คือ เครื่องมือวัดที่ใช้ตรวจวัดแบบเปรียบเทียบความแตกต่างของชิ้นงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน 

มีลักษณะคล้ายกับไดอัลเกจ ออกแบบมาเพื่อตรวจวัดพื้นผิวในพื้นที่แคบที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยไดอัลเกจทั่วไป เนื่องจากมีหัววัดขนาดเล็กเป็นคานยื่นออกมาจากชุดนาฬิกาวัด ง่ายต่อการปรับมุมเพื่อทำการวัดอย่างอิสระ มีค่าความละเอียดแม่นยำสูง

อ่านเพิ่ม : ทำความรู้จัก ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ คืออะไร? เหมาะกับงานวัดแบบไหน?


6. บอร์เกจ (Bore Gage)

บอร์เกจ หรือ เครื่องมือวัดรูใน  (Inside Diameter Measuring Tools) ที่มีความละเอียดแม่นยำสูง ใช้วัดขนาดด้านในของรูเจาะ รูยึด ชิ้นงานทรงกระบอก วัดขนาดภายในท่อ หรือหลุมลึก เป็นเครื่องมือวัดแบบเปรียบเทียบ โดยดูจากความแตกต่างระหว่างชิ้นงานและอุปกรณ์อ้างอิง สามารถวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในได้ตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป 

อ่านเพิ่ม : Bore Gauge – ทำความรู้จักบอร์เกจ อุปกรณ์วัดรูใน


7.  เกจวัดความลึก (Depth Gage)

เกจวัดความลึก คือ เครื่องมือวัดและตรวจสอบความลึกของชิ้นงานที่ผลิต รูเจาะ รูคว้าน รูน็อต ความลึกของบ่างาน ร่องลึกต่างระดับ ความเว้าของช่อง และความสูงของชิ้นส่วนอุปกรณ์ ทำการวัดโดยการเลื่อนแกนวัดลึกลงมาสัมผัสกับก้นรู แล้วอ่านค่า

ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญเกือบทุกประเภท ตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องมือ แม่พิมพ์ ไปจนถึงเครื่องมือผ่าตัด และเซรามิก 

อ่านเพิ่ม : DEPTH GAGE – ทำความรู้จักเกจวัดความลึก สำหรับงานอุตสาหกรรม


8. เครื่องวัดความแข็ง (Hardness Tester)

เครื่องทดสอบความแข็ง (Hardness Tester) คือ เครื่องมือวัดค่าความแข็งหรือความแข็งแรงของวัสดุ ใช้เพื่อประเมินความต้านทานต่อการเสียรูปของชิ้นงาน ทดสอบโดยการใช้แรงจากหัวกดเพชร คาร์ไบด์ หรือเหล็กกล้าที่ได้มาตรฐาน กดลงไปบนวัตถุว่าสามารถรับแรงกดได้มากเพียงใด

อ่านเพิ่ม : เครื่องมือวัดความแข็งมีกี่ประเภท เหมาะกับการใช้งานแบบไหน


9. เครื่องวัดรูปทรง

เครื่องตรวจวัดรูปทรง ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการวัดที่มีความซับซ้อนสูง ใช้ทดสอบขนาดของรูปร่าง รูปทรง ความหยาบผิวของชิ้นงาน ชิ้นส่วนประกอบ หรือ อะไหล่ต่างๆ ที่ต้องการความแม่นยำสูง ความเร็วในการวัดชิ้นงานจำนวนมาก และต้องมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

ผ่านระบบการวัดด้วยสไตลัสความละเอียดสูง ควบคุมการวัดและวิเคราะห์ผลออกมาโดยซอฟต์แวร์อันชาญฉลาด ทำให้สามารถทำงานได้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีคนควบคุม

เครื่องวัดความเรียบผิว ( Surface Roughness Tester )

เครื่องมือวัดความเรียบผิว  หรือ เครื่องวัดความหยาบผิว คือ เครื่องมือที่ใช้ทดสอบความหยาบของผิววัสดุ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องบนผิวชิ้นงานที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างหรือหลังกระบวนการผลิตขึ้นรูปชิ้นงาน งานที่มีการกลึง กัด ไส หรือใช้ในห้องปฏิบัติการทางด้านงานโลหะ เพื่อประเมินว่าลักษณะของพื้นผิวชิ้นงานที่ผลิตมีคุณภาพดีเพียงพอและเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ 

อ่านเพิ่ม : เครื่องวัดความหยาบผิว นวัตกรรมใหม่ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน

เครื่องวัดความกลม (Roundness Tester)

เครื่องวัดความกลม ใช้ตรวจสอบเพื่อหาค่าความกลมของชิ้นงานที่ผลิตขึ้น ความสมบูรณ์ของความกลม และอื่นๆ เช่น การร่วมศูนย์ ตำแหน่งเยื้องศูนย์ ความเป็นทรงกระบอก ความเป็นระนาบ ความตั้งฉาก ฯลฯ เพื่อให้ชิ้นงานถูกต้องตามที่ออกแบบและสามารถสวมประกอบได้อย่างพอดี


10. เกจวัดชนิดต่างๆ 

ใช้เพื่อตรวจสอบขนาดของชิ้นทดสอบ ว่าอยู่ในค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งตรงกันข้ามกับการวัดด้วย เวอร์เนีย คาลิปเปอร์ หรือ ไมโครมิเตอร์ เนื่องจากไม่มีการอ่านค่าเป็นตัวเลข มีเพียงการยืนยันว่าขนาดของชิ้นทดสอบอยู่ในช่วงพิกัดความเผื่อหรือไม่ 

นิยมนำไปใช้กับการตรวจสอบงานในการผลิตประเภท Mass Production ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วในการตรวจสอบชิ้นงาน

  • เกจวัดแบบสวม (Plug Gage) คือ เกจวัดชนิดสวมเช็ค ใช้วัดความโตของรูในชิ้นงาน ซึ่งผู้ออกแบบจะยอมให้มีค่าพิกัดความเผื่อ (Tolerance) สูงสุดและต่ำสุดเอาไว้ มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกที่มี 2 ปลายด้าน คือ ปลายด้านดี (GO) จะใช้วัดขนาดรูที่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องสามารถผ่านเข้ารูได้อย่างพอดี และปลายด้านเสีย (NOGO) จะสวมไม่เข้า 
  • เกจวัดเกลียวใน (Thread Gage) คือ เกจวัดสำหรับใช้ตรวจสอบขนาด  ระยะพิทช์ (Pitch) ของเกลียวภายใน โดยมีรูปร่างใกล้เคียงกับ Plug Gage แต่บริเวณส่วนหัวจะเป็นร่องเกลียวตามขนาดของเกลียวที่เลือกใช้
  • ริงเกจ (Ring Gage) คือ เกจวัดที่มีลักษณะเป็นวงแหวน สำหรับตรวจสอบชิ้นงาน หรือนำไปเป็น Master สำหรับ Bore Gage  โดยรูด้านในของวงแหวนมีทั้งแบบเรียบสำหรับตรวจสอบขนาดชิ้นงานที่เป็นเป็นแท่งทรงกลม และรูด้านในเป็นเกลียว ใช้ในการตรวจสอบระยะพิทช์ (Pitch) ของของสกรูหรือเกลียวตัวผู้ 
  • ฟิลเลอร์เกจ (Feeler Gage) คือ เกจวัดความหนา (Thickness Gage) ใช้สำหรับตรวจสอบความหนาหรือวัดระยะช่องว่างระหว่างวัตถุที่ประกบกัน เช่น ระยะของแผ่นเหล็กที่ประกบกันของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ตรวจวัดระยะห่างปากแหวนลูกสูบ กระบอกสูบ ตรวจสอบการแอ่น การโก่งของแผ่นเพลต เป็นต้น 
    โดยตัวเครื่องมือประกอบไปด้วยแผ่นโลหะบาง ที่มีความหนาหลายขนาดหลาย ๆ แผ่นรวมเป็นชุดเดียวกันเพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน สามารถวัดละเอียดได้ถึง 0.01 มิลลิเมตร และใช้กับงานลักษณะอื่นๆ ได้ทั้งเป็น Go – No Go Gage

ทั้งนี้ก่อนจะซื้อเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในโรงงาน ควรคำนึงถึงคุณภาพของเครื่องมือวัดดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น รวมถึงการมีฟังก์ช้่นการทำงานที่หลากหลาย เหมาะสมกับชิ้นงานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและช่วยลดต้นทุนได้อย่างมาก

บริการด้านการวัดและการสอบเทียบจากสุมิพล

สุมิพลในฐานะผู้แทนจำหน่ายแต่งตั้งในประเทศไทย พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือวัดแบรนด์ Mitutoyo ที่เหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า พร้อมนำเสนอโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิต รวมไปถึงการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดในห้องปฎิบัติการ และบริการซ่อมเครื่องมืดวัด ครบและจบในที่เดียว ซึ่งได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และซ่อมแซมเครื่องมือวัดด้วยมาตรฐานของผู้ผลิตมิตูโตโย พร้อมอะไหล่ของแท้ (Genuine Parts) และตามมาตรฐานฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งเดียวของประเทศ

สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการ

สามารถติดต่อได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่