ในขั้นตอนการผลิตจำเป็นต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่เป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะเครื่องมือวัดละเอียดอย่างไมโครมิเตอร์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรม และการวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานที่ถูกต้อง 
บทความนี้จะพาท่านไปรู้จักเครื่องมือวัดละเอียด ไมโครมิเตอร์ คือ อะไร? มีส่วนประกอบและหลักการทำงานอย่างไรบ้าง รวมถึงขั้นตอนการวัดชิ้นงานด้วยไมโครมิเตอร์ที่เข้าใจง่าย อ่านจบแล้วสามารถใช้งานได้ทันที

ไมโครมิเตอร์ คือ อะไร?

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) คือ เครื่องมือวัดความละเอียดที่สามารถวัดขนาดชิ้นงานได้ทั้งความกว้าง ยาว หนา ความต่างระดับ และความลึก นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องจักรและยานยนต์

จัดว่าเป็นเครื่องมือวัดที่ให้ค่าความละเอียดสูง อ่านค่าวัดได้เที่ยงตรงแม่นยำกว่าเครื่องมือวัดชนิดอื่น เช่น ไดอัลคาลิปเปอร์ และเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจวัดชิ้นงานได้ละเอียดมากขึ้น 

[hubspot type=cta portal=7250954 id=94b8a692-4f6e-45bd-b2fe-d9cded28f9a7]

มีหน่วยการวัดให้เลือกในรุ่นเมตริก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) และรุ่นอิมพีเรียล (หน่วยการวัดเป็นนิ้ว) ในบางรุ่นที่เป็นแบบดิจิทัลสามารถเลือกใช้งานได้ทั้งสองหน่วย

  • ไมโครมิเตอร์รุ่นมาตรฐาน สามารถใช้วัดละเอียดชิ้นงานที่มีความยาว หนา และลึกไม่เกิน 1 นิ้วโดยทั่วไปแล้วไมโครมิเตอร์จะมีความละเอียด 0.001 มม.(1 µm หรือไมครอน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อไมโครมิเตอร์)

  • รุ่นดิจิทัลไมโครมิเตอร์ ที่ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้อ่านค่าผลการวัดได้ง่ายและมีความแม่นยำเป็นพิเศษ ค่าผลการวัดจะแสดงอย่างชัดเจนบนหน้าจอ LCD

  • และยังมีรุ่นความเที่ยงตรงสูง ที่สามารถวัดละเอียดได้ถึง 0.1 µm* ( 0.1 µm = 0.0001 มม. = 0.000005 นิ้ว  ) ซึ่งสูงกว่าความละเอียดปกติของไมโครมิเตอร์ดิจิทัลส่วนใหญ่ ในปัจจุบันถึง 10 เท่า

ส่วนประกอบ ไมโครมิเตอร์ (MICROMETERS)

เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการทำงานของไมโครมิเตอร์ ก่อนอื่นควรพิจารณาส่วนประกอบสำคัญของเครื่องมือ เพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอ่านค่าไมโครมิเตอร์

ไมโครมิเตอร์ ส่วนประกอบ

1. โครง (Frame) : ลักษณะเป็นรูปตัว C ทำหน้าที่ยึดส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีรูปทรงและขนาดที่หลากหลาย ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานไมโครมิเตอร์ได้ตามต้องการ โดยทั่วไปบนโครงจะระบุแบรนด์ ช่วงการวัด และค่าความละเอียดแสดงไว้

2. แกนรับ (Anvil) : ลักษณะเป็นเพลากลมตันประกอบยึดอยู่กับโครง ใช้สำหรับรองรับชิ้นงานในขณะทำการวัด ทํามาจากเหล็กหล่อมีความแข็งแรงทนทาน 

3. แกนวัด หรือแกนหมุน (Spindle) : มีลักษณะเป็นเพลากลมอยู่คู่กับแกนรับ สามารถเคลื่อนเข้า-ออก เพื่อทำการวัดขนาดชิ้นงาน 

หมายเหตุ ไมโครมิเตอร์คุณภาพสูง มักจะมาพร้อมแกนรับและแกนวัดที่ด้านปลายทำจากวัสดุคาร์ไบด์เพื่อเสริมความแข็งแรง ป้องกันการสึกหรอจากการสัมผัสกับชิ้นงานตรวจวัด ช่วยให้เครื่องมือมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

4. ปุ่มปรับล็อก (Spindle Lock) : ใช้ล็อกแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่ เพื่อการอ่านค่าที่แม่นยำ ไมโครมิเตอร์บางรุ่นเป็นแบบหมุนนอต และบางรุ่นเป็นก้านเล็กๆ สามารถโยกเพื่อล็อกหรือคลายล็อก สะดวกต่อการใช้งานและการบำรุงรักษา

5. ปลอกวัด หรือ ก้านสเกล (Sleeve) : ลักษณะเป็นก้านทรงกระบอก มีขีดสเกลหลักอยู่ตลอดความยาว และมีเส้นขีดยาวในแนวนอน เรียกว่า เส้นอ้างอิง (Index Line)

6. ปลอกหมุนวัด (Thimble) : มีลักษณะเป็นปลอกทรงกระบอกสวมอยู่กับก้านสเกล ทำหน้าที่หมุนแกนวัดเข้าหาชิ้นงาน มีขีดสเกลอยู่รอบเพื่ออ่านค่าละเอียด7. หัวหมุนกระทบเลื่อน (Ratchet knob) : อยู่ที่ปลายด้ามจับของไมโครมิเตอร์ ทำหน้าที่เป็นประแจวัดแรงบิดในตัว (Torque Wrench) เพื่อจำกัดแรงบิดป้องกันไม่ให้หมุนแกนวัดแน่นหรือหลวมเกินไป


วีดีโอสาธิตการใช้งานไมโครมิเตอร์

ไมโครมิเตอร์ทำงานอย่างไร?

ไมโครมิเตอร์ แกนวัด

โดยพื้นฐานการทำงานของไมโครมิเตอร์อาศัยหลักการเคลื่อนที่ตามเส้นรอบวงของเกลียว ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ภายในตัวเครื่องมือบริเวณแกนวัด ปลอกวัด ปลอกหมุนวัด และหัวหมุนกระทบเลื่อน

หลักการทำงานของไมโครมิเตอร์

แล้ววัดค่าด้วยระยะของเกลียว เมื่อหมุนเกลียวครบ 1 รอบ จะเท่ากับ 1 ระยะพิตช์เกลียว (Pitch) ซึ่งมีค่าความละเอียดแตกต่างกันไปตามรุ่น แล้วแสดงผลจากระยะที่เคลื่อนไปได้ออกมาเป็นตัวเลขของขนาดชิ้นงานที่ทำการวัด 


ขั้นตอนการวัดด้วยไมโครมิเตอร์ (Micrometers Guide)

1. ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์โดยใช้กระดาษสำหรับทำความสะอาด เช็ดรอยและเศษผงออกจากหน้าสัมผัสของทั้งแกนรับ (Anvil) และแกนวัด (Spindle) ก่อนตั้งตำแหน่งศูนย์ (Zero Point) เพื่อการวัด

ทำความสะอาด ไมโครมิเตอร์

2. หมุนคลายให้ปากวัดไมโครมิเตอร์มีขนาดกว้างกว่าขนาดชิ้นงาน แล้ววางตำแหน่งชิ้นงานที่จะวัดถัดจากแกนรับ (Anvil) จับชิ้นงานให้มั่นคงและระวังชิ้นงานขูดกับปากวัด โดยสามารถถือไมโครมิเตอร์ไว้ด้วยมือ หรือใช้แท่นจับไมโครมิเตอร์ (Micrometer Stand)

ขั้นตอนการวัดด้วยไมโครมิเตอร์

3. หมุนปลอกหมุนวัด (Thimble) เพื่อเลื่อนแกนวัดเข้าหาชิ้นงาน จนสัมผัสกับชิ้นงานเบา ๆ ระวังอย่าใช้แรงมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ขนาดที่วัดได้ผิดพลาด และที่สำคัญต้องให้แนวแกนวัดของไมโครมิเตอร์ตรงกัน ตั้งฉากกับชิ้นงาน มิเช่นนั้นค่าที่วัดได้จะมากกว่าขนาดจริงของชิ้นงาน

ขั้นตอนการหมุนปลอกวัดด้วยไมโครมิเตอร์

4. ก่อนที่แกนวัดเริ่มสัมผัสกับชิ้นงาน ให้หมุนหัวหมุนกระทบเลื่อน  (Ratchet Stop) ตามเข็มนาฬิกาให้ได้ยินเสียงดังประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อจำกัดแรงบิดป้องกันไม่ให้หมุนแกนวัดแน่นหรือหลวมเกินไป และมั่นใจได้ว่าใช้แรงในการวัดเท่ากันทุกครั้ง

วิธีการวัดด้วยไมโครมิเตอร์

5. ขั้นตอนสุดท้าย อ่านค่าขณะทำการวัดและบันทึกผล หากไม่สามารถอ่านค่าได้ ควรใช้ปุ่มปรับล็อก (Spindle Lock) ล็อกแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่ก่อนนำชิ้นงานออก

6. การอ่านตัวเลขบนสเกลจะต้องถือไมโครมิเตอร์ให้อยู่ในแนวตั้งฉากกับสายตา เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการอ่าน

อ่านเพิ่ม : วิธีการอ่านค่าผลการวัดเครื่องมือในระบบสเกล


สรุปบทความ

เมื่อเข้าใจและใช้งานไมโครมิเตอร์อย่างถูกวิธี จะยิ่งทำให้สามารถวัดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรตรวจสอบชนิด เกณฑ์การวัด ข้อมูลจำเพาะต่างๆ เกี่ยวกับตัวเครื่องมือ รวมถึงประเภทของงานที่ใช้ว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 

และต้องอย่าลืมคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับเครื่องมือวัดที่ให้ผลลัพธ์การวัดที่มีความน่าเชื่อถือ ไมโครมิเตอร์ที่ใช้ควรมีความเที่ยงตรงแม่นยำ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพอยู่เสมอ

บริการด้านการวัดและการสอบเทียบจากสุมิพล

สุมิพลในฐานะผู้แทนจำหน่ายแต่งตั้งในประเทศไทย พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือวัดแบรนด์ Mitutoyo ที่เหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า พร้อมนำเสนอโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิต รวมไปถึงการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดในห้องปฎิบัติการ และบริการซ่อมเครื่องมืดวัด ครบและจบในที่เดียว ซึ่งได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และซ่อมแซมเครื่องมือวัดด้วยมาตรฐานของผู้ผลิตมิตูโตโย พร้อมอะไหล่ของแท้ (Genuine Parts) และตามมาตรฐานฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งเดียวของประเทศ

สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการ

สามารถติดต่อได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่