สำหรับโรงงานหรือบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับการผลิตสินค้าต่างๆ การตั้งราคาขายให้ได้กำไรและสามารถขายได้อย่างเหมาะสม ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก หากตั้งราคามากไปหรือน้อยไปอาจส่งผลกระทบกับกระบวนการผลิตในระยะยาวได้เลย การคำนวณต้นทุนการผลิต จึงเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการตัดสินใจ ตั้งแต่การตั้งราคาไปจนถึงการวางแผนงานระยะยาวของผู้ประกอบการ

สิ่งที่ผู้ประกอบการหลายคนอาจมองข้ามไปคือต้นทุนการผลิตต่อหน่วยไม่ใช่แค่ค่าวัตถุดิบ แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ แฝงอยู่อีกมากมาย นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมบางบริษัทจึงพบกับปัญหาการขาดทุน ทั้งๆ ที่ผลิตสินค้าดีๆ ออกมาสู่ตลาดมากมาย

ทำความรู้จักต้นทุนการผลิตทั้งหมด

สำหรับการพิจารณาราคาต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่างๆ จะใช้หลักการใหญ่ๆ คือ การใช้ต้นทุนการผลิตทั้งหมด (Total Manufacturing Cost) ในหนึ่งรอบการผลิตเสียก่อน แล้วทำการหารด้วยจำนวนรายการที่ผลิต จึงจะได้ต้นทุนการผลิตต่อหนึ่งหน่วย

Cost per unit

ต้นทุนการผลิตทั้งหมด จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่เราต้องหาคำตอบให้ได้ ก่อนดำเนินการคำนวณสมการใหญ่ด้านบน โดยมีปัจจัยสำคัญ 3 อย่าง ที่ต้องนำมาคิด คือ วัตถุดิบ แรงงาน และค่าโสหุ้ย โดยมีหลักการต่างๆ ดังนี้

1. การคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ

ต้นทุนของวัตถุดิบ คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต ไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ชิ้นหนึ่ง ค่าวัตถุดิบจะไม่ใช่แค่ไม้ แต่รวมไปถึงกาว สลัก น็อต สกรู ทั้งหมดที่จำเป็น เพื่อใช้ประกอบเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้เข้าด้วยกัน ไปจนถึงสีและต้นทุนในการตกแต่งผลงานด้วย

2. คำนวณต้นทุนของแรงงาน

ต้นทุนด้านแรงงานไม่ใช่แค่เงินเดือนหรือเงินจ้างงานรายวันสำหรับลูกจ้างเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเงินพิเศษอื่นๆ ที่เราใช้เพื่อจูงใจให้คนเหล่านั้นทำงานอีกด้วย

Cost per unit

3. คำนวณค่าโสหุ้ย

ค่าโสหุ้ยหรือค่าใช้จ่ายแฝง ที่ในบางครั้งอาจเยอะกว่าค่าใช้จ่ายหลักเสียอีก ค่าใช้จ่ายประเภทนี้มักแอบซ่อนอยู่ในกระบวนการที่เราละเลยหรือไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก จึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อทำการคำนวณอย่างจริงจัง โดยมีสิ่งที่เกี่ยวข้องดังนี้

แรงงานทางอ้อม สิ่งจูงใจพนักงาน ผลประโยชน์ โบนัส การสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อให้พนักงานสามารถพักผ่อนและทำงานอย่างเต็มที่ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการจ้างคนภายนอก รวมถึงพนักงานนอกระบบการผลิตที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโรงงาน เช่น ภารโรงหรือผู้ตรวจสอบคุณภาพด้วย

วัตถุดิบทางอ้อม แน่นอนว่าวัตถุดิบคือค่าใช้จ่าย ทว่าในการทำงานจริงก็ยังมีค่าผลิตแฝงเช่นกัน เช่น ค่าเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมบางประเภท

สาธารณูปโภคต่างๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ที่เป็นค่าโสหุ้ยพื้นฐาน จำเป็นต้องนำมาคำนวณเป็นต้นทุนการผลิตด้วย

การซ่อมแซมและดูแลรักษา ค่าใช้จ่ายในการดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานช่วงที่มีการผลิตนั้นต้องนำมาคิดรวมในการค่าใช้จ่ายการผลิตด้วย

ภาษีและประกันภัย เงินทุกบาทที่เสียไปกับการจ่ายภาษีและประกันภัยโรงงานและเครื่องจักรก็ต้องถูกนับรวมเข้าไปเป็นต้นทุนของการผลิต

ค่าเสื่อม ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้งานเครื่องมือและเครื่องจักรต่างๆ โดยคิดเป็นระยะเวลาที่เครื่องจักรเหล่านั้นถูกใช้งาน

ค่าเสียหายที่เกิดจากการลักขโมย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากของหายเองก้ต้องถุกนับรวมไปเป็นต้นทุนการผลิตด้วยเช่นกัน แม้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นก็ตาม

แน่นอนว่าเมื่อเรามาดูจริงๆ ค่าใช้จ่ายในการผลิตนั้นมีเยอะกว่าที่หลายคนคาดการณ์ไว้มากนัก ทำให้การคำนวณต้นทุนการผลิตที่แท้จริงให้ได้เป็นสิ่งสำคัญในทุกๆ การผลิต ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมใดก็ตาม

cost per unit

คำนวณการผลิตต่อหน่วย

เมื่อผู้ประกอบการรับรู้ค่าใช้จ่ายในการผลิตทั้งหมดแล้ว ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะคำนวณด้วยสมการที่ได้นำเสนอไว้ด้านบน คือ ต้นทุนการผลิตทั้งหมด/จำนวนรายการที่ผลิต

Cost per unit

จากตัวอย่างด้านบน ราคาต่อหน่วยนี้เองที่จะถูกนำไปต่อยอดเป็นราคาขาย รวมถึงตัวกำหนดนโยบายต่างๆ ของผู้ประกอบการในอนาคต

สรุปบทความ

ทัศนคติในด้านการลงทุนถือเป็นความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าบริษัทจะใหญ่หรือเล็ก สินค้าจะถูกหรือแพง การกำหนดสัดส่วนกำไรในการขายเปรียบเสมือนการชี้เป็นชี้ตายตัวบริษัทในอนาคต ดังนั้นไม่ใช่แค่การนำเสนอความคุ้มค่า แต่ต้องนำเสนอราคาที่เหมาะสม และฝั่งผู้ประกอบการได้กำไรด้วย การคำนวณต้นทุนการผลิตจึงจะส่งผลมากที่สุด

หากคุณสนใจการคำนวณต้นทุนการผลิตเพื่อต่อยอดไปในธุรกิจของคุณ การวางระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านเครื่องจักรจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตชิ้นงาน รวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและการผลิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

ebook-automation