องค์ประกอบ ที่สำคัญที่สุดในการทำให้ผลการวัดที่เกิดขึ้นเป็นที่เชื่อถือได้ คือการใช้เครื่องมือวัด ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน การสอบเทียบ จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจในผลการวัดของเครื่องมือวัดทุก ๆ ประเภท 

เครื่องมือวัดละเอียดอย่าง 

  • ไมโครมิเตอร์วัดนอก (external micrometer) 
  • ไมโครมิเตอร์วัดใน (inside micrometer) 
  • ไมโครมิเตอร์วัดลึก (depth micrometer) 
  • เวอร์เนียคาลิปเปอร์(vernier caliper) 
  • ไฮเกจหรือเกจวัดความสูง (height gauge) 
  • ไดอัลเกจ (dial gauge) หรือเกจหน้าปัดนาฬิกาและอื่นๆ 

สามารถใช้ เกจบล็อก (gauge block) เป็นมาตรฐานในการสอบเทียบได้ 

แต่อย่างไรก็ตาม การจะซื้อเกจบล็อกเพื่อมาใช้ในการสอบเทียบนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณา บทความนี้ช่วยให้คำตอบที่เข้าใจง่าย ไขข้อกระจ่างเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้อเกจบล็อกให้ถูกกับงานที่ใช้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการสอบเทียบเครื่องมือที่ถูกต้องแม่นยำ 

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ เกจบล็อก (gauge block)

เกจบล็อค(Guage Block) คือ เครื่องมือทดสอบขนาดมาตรฐาน สามารถใช้ทดสอบเครื่องมือวัดในการวัดขนาดงานและใช้วัดเปรียบเทียบ ถูกสร้างขึ้นมาให้มีขนาดที่แน่นอนโดยมีขนาดตั้งแต่ 0.5-100 mm ผิวมีลักษณะที่มีความเรียบและมันเงา มีหลายขนาดให้เลือกตามต้องการ

ซึ่งการเลือกซื้อเกจบล็อกต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆเหล่านี้

1.ความถูกต้อง (Accuracy)

สิ่งสำคัญข้อแรกที่ควรพิจารณาก็คือ เครื่องมือมาตรฐานใดๆ ก็ตามจะต้องมีความถูกต้อง (Accuracy) ดีกว่าเครื่องมือวัดที่เราต้องการสอบเทียบอย่างน้อย 3 เท่า (1/3) สำหรับงานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะให้สมบูรณ์แบบจริงๆ ต้อง 10 เท่า (1/10)
หรือที่เรียกง่ายๆ ก็คือ กฎ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 10 นั่นเอง โดยหลักการนี้อ้างอิงมาจาก ISO 10012-1

Gauge Blocks

การแบ่งระดับของเกจบล็อค
จะมีอยู่ 4 ระดับ หรือ 4 เกรด ให้เลือกตามความรูปแบบการใช้งาน

  • Grade K (Reference Grade)สําหรับนําไปเป็นวัสดุอ้างอิงในการสอบเทียบกับเกจบล็อคที่มีเกรดคุณภาพต่ำกว่า
  • Grade 0 เกรดที่ใช้สอบเทียบ (Calibration Grade) เหมาะสําหรับการ
    ใช้ในห้องสอบเทียบ ห้องวิจัย พร้อมการรับรองผลการสอบเทียบขนาด
  • Grade 1 เกรดที่ใช้ตรวจสอบ (Inspection Grade) ค่าของเครื่องมือวัดทั่วๆ ไปในงานอุตสาหกรรมการผลิต จะไม่สามารถออกใบรับรองผล (Certificate) ได้
  • Grade 2 เกรดที่ใช้ในฝ่ายผลิต (Working Grade) โดยเอาเกจบล็อคดังกล่าวไปใช้ประกอบเพื่อวัดค่าต่างๆ ของชิ้นงานที่ต้องผลิตในงาน
    อุตสาหกรรมทุกๆ ประเภท

2.จำนวนชิ้น

สำหรับการเลือกจำนวนชิ้นของเกจบล็อกก็มีความสำคัญ ในเรื่องนี้ต้องพิจารณาจากการใช้งาน เช่น 

  • หากมีการใช้เครื่องมือวัด วัดชิ้นงานเพียงค่าเดียว ก็จัดหาเกจบล็อกให้ตรงกับความยาวของชิ้นงานนั้นๆ
  • หากมีตำแหน่งการวัดที่มีขนาดแตกต่างกัน ก็ควรจะมีเกจบล็อกสำหรับใช้สอบเทียบหลายชิ้น

ส่วนจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นมีวิธีคิดง่ายๆ โดยการกำหนดช่วงของการสอบเทียบออกเป็นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของพิสัยการวัดที่มากที่สุด (10% of full scale) ซึ่งตัวเลขนี้ไม่ได้เป็นกฎตายตัวแต่เป็นหลักสากลนิยม เช่น

  • ถ้าเวอร์เนียคาลิปเปอร์ มีพิสัยมากที่สุด 150 มิลลิเมตร
  • ให้เราเอา 10 หาร จะได้ตัวเลขออกมาเป็น 15, 30, 45, 60, 75, 90, 105, 120, 135 และ 150 มิลลิเมตร
  • แต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เพราะเป็นเพียงการหาค่าสเกลหลักเท่านั้น
  • ดังนั้น 10 เปอร์เซ็นต์ของพิสัยการวัดที่มากที่สุด จึงต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งสเกลหลักและสเกลละเอียด 

สำหรับการสอบเทียบไมโครมิเตอร์นั้นมาตรฐานอ้างอิงได้กำหนดความยาวของการวัดไว้ ดังนี้ 2.5, 5.1, 7.7, 10.3, 12.9, 15.0, 17.6, 20.2, 22.8 และ 25.0 มิลลิเมตร แต่หากต้องการมาตรฐานอ้างอิงอื่น ก็จะมีอยู่หลายมาตรฐานด้วยกัน เช่น

  • มาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น คือ JIS
  • มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็น ASME
  • ส่วนมาตรฐานของประเทศเยอรมนี คือ DIN
  • และมาตรฐานสากล คือ ISO

สำหรับไมโครมิเตอร์ที่มีพิสัยการวัดมากขึ้นก็ใช้เกจบล็อกที่มีความยาวตรง กับความยาวที่น้อยที่สุดของไมโครมิเตอร์
มาประกบเพิ่มกับเกจบล็อกดังกล่าวข้างต้น

Gauge Blocks

3.วัสดุที่ใช้

อีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาก็คือ จะเลือกใช้เกจบล็อกที่ทำจากวัสดุอะไรดี เพราะปัจจุบันมีการทำขึ้นจากวัสดุหลายชนิดด้วยกัน อาทิ 

  • สเตนเลสสตีล (Stainless Steel) 
  • เซรามิก (Ceramic) 
  • ทังสเตนคาร์ไบด์ (Tungstain Carbide) 
  • โครมคาร์ไบด์ (Chrome Carbide)  

Gauge-Blocks

ถ้าตามทฤษฎีแล้วก็ควรจะเลือกใช้เกจบล็อกที่ทำจากสเตนเลสสตีล ด้วยเหตุผลสำคัญก็คือ เครื่องมือวัดละเอียดแทบทุกชนิดทำขึ้นจากวัสดุชนิดนี้ ดังนั้น ก็จะมีการชดเชยค่ากันตามธรรมชาติอยู่แล้ว 

หากเราใช้เกจบล็อกที่ทำจากเซรามิก ซึ่งเป็นวัสดุที่แตกต่างจากเครื่องมือวัดละเอียด เพราะฉะนั้น ณ ที่อุณหภูมิเดียวกัน วัสดุจะะมีความยาวไม่เท่ากัน แต่ก็อาจจะไม่มีผลกระทบกับการใช้งาน (ขึ้นอยู่กับความถูกต้องของงาน) ดังนั้น การจะเลือกใช้วัสดุอะไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อของผู้ใช้ด้วย 

สรุปบทความ

การเลือกซื้อเกจบล็อกให้ถูกต้อง เหมาะสมกับงานและเครื่องมือที่ใช้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการสอบเทียบเครื่องมือที่ถูกต้องแม่นยำ เป็นหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับผลการวัดในกระบวนการผลิต 

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดจากสุมิพล

สุมิพลให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดในห้องปฎิบัติการ และบริการซ่อมเครื่องมืดวัด ครบและจบในที่เดียว ซึ่งได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และให้ซ่อมด้วยมาตรฐานของผู้ผลิตมิตูโตโย และตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แห่งเดียวของประเทศ

Sumipol-Calipers-ebook