ด้วยเหตุผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทำให้ทั่วโลกตระหนักถึงผลกระทบและความรุนแรงจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยตรง 

กระแสการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานสะอาดจึงทวีความสำคัญขึ้นอย่างมาก ส่งผลต่อเนื่องมาถึงประเทศไทย ซึ่งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างเร่งปรับตัวให้สอดรับกับกระแสของโลกนี้

แต่การลดการปล่อยคาร์บอนทางอ้อมจากอุตสาหกรรมยังคงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ถือเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการค้าของโลกในระยะไม่ไกลจากนี้ ปัจจุบันมีการตั้งเป้า Carbon Neutral และขับเคลื่อน NET ZERO อยู่ในกฎหมายกว่า 120 ประเทศ

ภาคเอกชนจึงมอง Climate Change เป็นวิกฤต เพราะภาคการผลิตจะต้องลงทุนใหม่เกือบทั้งหมด ที่จะต้องไปดูว่ากระบวนการผลิตจะทำอย่างไร ไม่ใช้พลังงานจากฟอสซิล ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่จะนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ให้น้อยที่สุด หรือจะต้องลงทุนสำหรับการกักเก็บก๊าซคาร์บอนฯ ซึ่งวิธีการทั้งหมดจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูง และจะเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าตามมา

แนวคิด “การผลิตที่ยั่งยืน” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญนี้

Sustainable Manufacturing – การเปลี่ยนแปลงสู่การผลิตที่ยั่งยืน

เพิ่มโอกาสการผลิตอย่างยั่งยืน ด้วย Digital Technology

แนวคิด การผลิตที่ยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) คือ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ไปพร้อมกับความปลอดภัยของพนักงาน ชุมชน และผู้บริโภค ด้วยต้นทุนที่ประหยัด

สถานการณ์โควิด-19 (COVID-19) ยังเปรียบเสมือนปุ่มรีเซ็ตสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจแบบ Green Recovery และเป็นโอกาสที่จะเร่งไปที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เน้นการลงทุนในเทคโนโลยี สะอาด โครงการและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ

กลยุทธ์และขั้นตอนในการก้าวไปสู่การผลิตอย่างยั่งยืน

1. ผสานความยั่งยืนเข้ากับอุตสาหกรรม 4.0 และ 5.0

กระบวนการผลิตแบบ End-to-End บวกกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เข้ากับสายการผลิต เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 และ 5.0 

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล Smart Data ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยสร้างข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้ประกอบการ ชี้ให้เห็นกระบวนการที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานและพัฒนาธุรกิจ  และยังสามารถติดตามสถานะการส่งวัสดุและสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เร็วขึ้น น่าเชื่อถือและไว้ใจได้

ลองนึกภาพ หากผู้ผลิตและผู้บริโภคเพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) หรือ ฉลากสินค้า อัจริยะ (RFID Tag) เพื่อเข้าถึงข้อมูล Digital ID เฉพาะของผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ว่าคืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร วันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้นและแต่ละชิ้นมาจาก ที่ไหน ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือผลกระทบจากความหลากหลายทางชีวภาพ

นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกวิธีการขนส่งผ่านตัวกลาง พร้อมรายละเอียดของซัพพลายเออร์ วันที่และเวลาในการจัดส่ง หรือแม้กระทั่งรายละเอียดของผู้ที่ทำงานอยู่ในรอบการผลิตนั้น รวมทั้งตำแหน่งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุบันว่า อยู่ส่วนใดในโลกโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัสหรือเห็นวัตถุนั้นๆ

บริษัทต่างๆ ทั่วโลก และในทุกภาคส่วนกำลังให้ความสำคัญกับความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือเรากำลังก้าวไปสู่โลกแห่งการเชื่อมต่อแบบ End-to-End ที่ปลอดภัยและเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังจะเข้ามาแทนที่ระบบติดตามที่ควบคุมแบบ Manual ซึ่งให้ความชัดเจนและโปร่งใสมากกว่าที่เป็นอยู่

Digital Technology จึงไม่เพียงแค่ช่วยลดการปล่อยมลพิษ แต่ยังแสดงให้เห็นโอกาสในการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย

2. เร่งความเร็วในการลดการปล่อยมลพิษ ด้วย Digital Technology เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

Digital Technology คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์และเต็มศักยภาพในการพัฒนาการผลิต ช่วยให้โรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและดำเนินการตรวจสอบได้อย่างครอบคลุม จึงสามารถลดการใช้พลังงานหรือลดการปล่อยมลพิษได้อย่างมาก ระบบดิจิทัล (Digital System) อุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงานที่เป็นระบบดิจิทัลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบและพัฒนาระบบที่ทำได้ง่ายและเร็วขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญสามารถผลิตชิ้นงานคราวละจำนวนมาก ๆ โดยมีคุณภาพเหมือนกันทุกประการ ช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน ลดความสูญเสียทรัพยากรลงได้อย่างมาก ทำให้สินค้ามีราคาถูกลง

โซลูชันระบบอัตโนมัติ (Automation Solution) คือ การนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในสายการผลิตและในส่วนงานโลจิสติกส์ (Logistics) ทำให้ใช้พนักงานลดลง สามารถจัดส่งสินค้าได้มากขึ้นโดยใช้เชื้อเพลิงลง และมีต้นทุนในการจัดส่งสินค้าลดลง

ตัวอย่างเช่น 

  • Rio Tinto หนึ่งในบริษัทอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้รถไฟอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการขนส่งทางรถไฟ
  • อีกกรณีที่ประสบความสำเร็จในการกระบวนการขุดเหมือง (Mining) คือ โซลูชั่นการลากจูงแบบอัตโนมัติที่เหมืองถ่านหินแห่งหนึ่งของ SUEK ในรัสเซีย โดยใช้รถบรรทุกเทท้าย (Dump Truck) แบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่า 13% เมื่อเทียบกับรถบรรทุกที่ควบคุมโดยมนุษย์


ระบบอัจฉริยะ (Smart Systems) – ใช้สำหรับเฝ้าติดตามอุปกรณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมด้วย IoT (Internet of Things) ช่วยให้สามารถระบุได้ว่าทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างไร รวมถึงวิธีลดการใช้ทรัพยากรลง 

ตัวอย่างเช่น 

  • การบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าโดยเครื่องจักรระหว่างกำลังดำเนินงานและในช่วงการหยุดทำงาน เพื่อใช้ในการควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้า
  • นอกจากนี้ยังสามารถระบุได้ว่าพื้นที่การผลิตใดสามารถใช้อุปกรณ์ Less Energy-Intensive (ใช้พลังงานน้อย)  ได้โดยไม่กระทบต่อผลลัพธ์ 


แพลตฟอร์ม IoT (IoT Platform)
– ช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อในกระบวนการผลิต สามารถติดตามสถานะของเครื่องจักร (Monitor) แบบ Real Time และหลีกเลี่ยงการหยุดทำงาน (Downtime) ของระบบได้ ซึ่งเครือข่าย IoT จะเชื่อมต่อข้อมูลขนาดใหญ่ของแต่ละหน่วยงาน ตั้งแต่ไลน์การผลิตไปจนถึงระดับออฟฟิศอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเช่น 

  • ใช้เพื่อการป้องกันความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย สมมุติว่าโรงงานปิโตรเคมี มีเทคโนโลยีหลายสิบหน่วยที่ปล่อยก๊าซอันตรายสู่สิ่งแวดล้อม IoT Platform จะทำการรวบรวมข้อมูลการปล่อยมลพิษทั้งหมดไว้ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อดำเนินมาตรการลดการปล่อยมลพิษได้
  • อีกหนึ่งสถานการณ์ สามารถใช้ IoT Platform เพื่อควบคุมระยะไกล (Remote Control) และจัดการความเสี่ยงเชิงรุกในโรงงานอุตสาหกรรมอันตราย IoT Platform ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรวบรวมและประมวลผลข้อมูลจากระบบควบคุมต่างๆ ในโรงงานได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบควบคุมความปลอดภัยด้านอัคคีภัย (Fire Safety) ระบบป้องกันการระเบิด ควบคุมตำแหน่งของพนักงาน การสื่อสาร ความปลอดภัยทางอากาศ และระบบอื่น ๆ แล้วนำข้อมูลมาใช้คาดการณ์เพื่อป้องกันสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดในกระบวนการทำงาน จึงสามารถลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้

3. Digital Transformation การนำ Digital Technology เข้ามาปรับใช้กับทุกภาคส่วน

เพราะการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) และประโยชน์ด้านความยั่งยืน (Sustainability) เป็นของคู่กัน 

การนำ Digital Technology เข้ามาปรับใช้กับทุกภาคส่วนขององค์กร จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่รากฐาน ไปจนถึงกระบวนการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า นั่นเป็นเพราะ ข้อมูล Smart Data ที่ได้มาจากเทคโนโลยีดิจิทัลจะส่งผลให้เกิดการสร้างกระบวนการดำเนินงานใหม่ที่ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และมีความยั่งยืนสูง 

เช่น การมองเห็นแบบเรียลไทม์ (Real-Time) ระบบคอมพิวเตอร์ที่คาดการณ์และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Predictive and Machine Learning) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพโดยละเอียด การผสมผสานกันของ IT และ OT (Operational technology) และการปรับใช้ข้อมูลจาก IoT Platform

เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กรอย่างมีกลยุทธ์ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ให้การดำเนินการผลิตมีความยั่งยืนสูง และช่วยให้ตามทันโลกเศรษฐกิจ

ข้อดีของการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Digital Technology

  • ให้ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยกำจัดปัญหาความล่าช้าในการผลิต การขนส่งสินค้าต่ำกว่ามาตรฐาน การประมวลผลที่ไม่มีประสิทธิภาพ สินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น และการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยไม่จำเป็นไปได้อย่างมาก
  • ลดการใช้ทรัพยากรทางอุตสาหกรรมและพลังงาน สามารถทำงานได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง ลดปัญหาจากวัสดุคงคลังที่ไม่แน่นอนและราคาผันผวน 
  • การติดตามสินค้าด้วยระบบดิจิทัล ช่วยสร้าง Supply Chain ที่โปร่งใส สามารถรู้ข้อมูลว่าผลิตสินค้าอย่างไร สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ ผลิตที่ไหน และใครเป็นผู้ผลิต  
  • ช่วยให้การเปลี่ยน Cycle ทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น ทั้ง AI Blockchain Digital Twins และ Digital Design เป็นกุญแจสำคัญไปสู่อุตสาหกรรมแบบพึ่งพา (Industrial Symbiosis) และขยายตลาดการผลิตแบบหมุนเวียน 
  • ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มีรายละเอียดครบถ้วนและง่ายต่อการเปิดเผย ซึ่งได้รับประโยชน์จากความสามารถตรวจสอบย้อนกลับแบบ End-to-End

สรุป

Digital Technology ระบบอัจฉริยะ การเชื่อมต่อที่แพร่หลาย การวิเคราะห์ขั้นสูง และการคำนวณขั้นสูง หรือที่เรารู้จักกันว่า Industrial Internet of Things (IIoT) คือ กุญแจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนแรกเริ่มของวงจรการผลิต ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถออกแบบ วัดผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างแม่นยำ 

ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานระหว่างการผลิต ตัดของเสีย เลือกใช้วัสดุรีไซเคิลที่ดีขึ้น มากขึ้น จึงช่วยลดการปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

บริการด้าน IoT & AUTOMATION SOLUTION และการปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

พร้อมให้คำปรึกษาและบริการออกแบบระบบอัตโนมัติ เชื่อมต่อการทำงานของเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์เข้ากับระบบควบคุมการผลิต พร้อมพัฒนาปรับปรุงเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตเดิมของท่าน ให้ครอบคลุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและครบวงจรในยุคอุตสาหกรรม 4.0

มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เสริมสร้างระบบคุณภาพ และพัฒนาสู่เทคโนโลยีอัจฉริยะ ด้วยบริการด้าน Smart Factory ระบบ IoT Automation เชื่อมต่อข้อมูลการผลิตด้วยอุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัย

สนใจเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม
สามารถพูดคุย วิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญของสุมิพลได้โดยตรง
สามารถติดต่อได้
ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000

ที่มาข้อมูล :
https://www.themanufacturer.com/articles/digital-is-our-opportunity-to-lead-the-world-in-sustainable-manufacturing/
https://smartwatermagazine.com/blogs/rik-de-smet/how-digital-transformation-drives-sustainability-fast-lane-industrial-carbon