ปัจจุบันมี Milling Cutter มากมายหลายประเภทที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง แต่ในการปฏิบัติงานจริงเราอาจไม่ได้ให้ความสำคัญในการเลือกที่ถูกต้องและเหมาะสมกับงานมากนัก ซึ่งมันอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการผลิตและระยะเวลาการทำงานได้ บทความนี้จึงได้นำวิธีการเลือก Milling Cutter ที่เหมาะสมกับการทำงานจริงมานำเสนอ เพื่อให้การสรรสร้างชิ้นงานออกมาดีที่สุด

การเลือก MILLING CUTTER

มีปัจจัยสำคัญในการพิจารณาคือ มุมหลัก 3 มุม ได้แก่ มุมคายตามแนวแกน (Axial Rake Angle) มุมคายตามแนวรัศมี (Radial Rake Angle) และมุมเข้างาน (Approach Angle)

มุมคาย มีปัจจัยสำคัญอยู่ 2 ประการสำหรับกระบวนการตัดโลหะ

  • ประการแรกคือ มุมคายจะมีผลต่อความแข็งแรงของเครื่องมือตัด มุมคายที่มีค่าเป็นลบจะสามารถรองรับแรงในการตัดได้มากกว่ามุมคายที่เป็นบวก
  • ปัจจัยอีกประการหนึ่งคือ แรงต้านที่เกิดขึ้นในระหว่างการตัดหรือ Cutting Pressure ถ้าเม็ดมีด มีมุมคายที่เป็นบวกจะช่วยลดแรงต้านในการตัดลงได้ โดยเศษตัดจะสามารถไหลผ่านหน้าเม็ดมีดออกไปได้ดีกว่ามุมคายที่เป็นลบ

มุมเข้างาน หรือ Approach Angle เป็นมุมที่ใช้พิจารณาขนาดความหนาของเศษ ถ้ามุมนี้มีขนาดใหญ่จะทำให้เศษที่เกิดขึ้นมีขนาดที่บางและใช้แรงในการตัดน้อย ดังนั้นหากต้องการอัตราการป้อนสูงเพื่อเพิ่มผลผลิตจะต้องทำมุมนี้ให้มีขนาดใหญ่ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกมุมเข้างานยังต้องคำนึงถึงลักษณะชิ้นงานที่ต้องการด้วย เช่น ถ้าต้องการการกัดบ่าก็จำเป็นต้องเลือกมุมเข้างานเป็น 0 องศานั่นเอง

Milling Cutter ที่ออกมาในปัจจุบันจะยึดหลักการเรียกของมุมคายตามแนวแกน (A.R) และตามแนวรัศมี (R.R) ว่าเป็นบวก (Positive) หรือลบ (Negative) ซึ่งสรุปได้ 3 ชนิด แต่ละชนิดจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันดังนี้

ชนิดที่ 1: Negative-Positive (มุมคายตามแนวแกนเป็นบวกและมุมคายตามแนวรัศมีเป็นลบ)
ข้อดี: เป็นคัตเตอร์ที่สามารถระบายเศษออกได้ดี แรงในการตัดน้อยและใช้ได้กับงานหลายประเภท
ข้อเสีย: ใช้เม็ดมีดได้เพียงด้านเดียว
การใช้งาน: เหมาะกับงานกัดโดยทั่วไป

ชนิดที่ 2: Double Positive (มุมคายตามแนวแกนและมุมคายตามแนวรัศมีเป็นบวก)
ข้อดี: เป็นคัตเตอร์ที่มีการตัดเฉือนดีมาก แรงในการตัดตํ่า ให้ผิวงานที่สมํ่าเสมอ
ข้อเสีย: การระบายเศษออกไม่ดีนัก และใช้เม็ดมีดได้เพียงด้านเดียว
การใช้งาน: เหมาะสำหรับกัดชิ้นงานที่มีความแข็งแกร่งตํ่า (Low Rigidity Workpiece)

ชนิดที่ 3: Double Negative (มุมคายตามแนวแกนและมุมคายตามแนวรัศมีเป็นลบ)
ข้อดี: เป็นคัตเตอร์ที่สามารถวางเม็ดมีดแล้วใช้เม็ดมีดได้ 2 ด้านพร้อมให้ความแข็งแรงที่คมตัด
ข้อเสีย: การตัดเฉือนไม่ดีนัก ใช้แรงตัดมาก การระบายเศษออกไม่ดี
การใช้งาน: เหมาะสำหรับการกัดเบาในงานเหล็กหล่อและเหล็กเหนียว

 

 

ตัวอย่างหนึ่งของ Milling Cutter ที่มีลักษณะเป็น Negative-Positive คือ คัตเตอร์รุ่นใหม่ WFX Type จากบริษัท ซูมิโตโม อีเล็คตริก ฮาร์ดเมทัล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งมีมุมเข้างานเป็น 0 องศา (Approach Angle = 0 deg) สามารถกัดบ่าเพื่อให้ได้มุมฉากที่เที่ยงตรงและผิวสำเร็จ ที่สวยงาม เหมาะสำหรับงานกัดบ่าและใช้งานได้กับวัสดุทั่วไป โดยมีเกรดให้เลือกใช้ตามวัสดุชิ้นงานแต่ละประเภท เพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน อาทิเช่น เกรด ACP100/200/300 สำหรับเหล็กเหนียว เกรด ACK200/300 สำหรับเหล็กหล่อซึ่งเป็น เกรดคาร์ไบด์เคลือบผิว และเกรดเซอร์เมท T4500A สำหรับงานเก็บผิวละเอียด

 

สรุปบทความ

การเลือกและใช้งาน Milling Cutter คืออีกหนึ่งความรู้พื้นฐานที่สำคัญสำหรับงานในโรงงาน โดยเฉพาะการใช้มุมหลัก 3 มุม เพื่อให้งานนั้นออกมาดี สมบูรณ์แบบ และการทำงานทั้งหมดไหลลื่นเหมาะสมที่จุด

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกและใช้งาน Milling Cutter ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการผลิต หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถสอบถามได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้าน Machining Solution จากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือตัดแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษาเบื้องต้น การลับคม เคลือบผิว ซ่อมแซม ด้วยทีมงานช่างและเครื่องมือที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากแบรนด์ชั้นนำในระดับสากล

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่