เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ และ ไมโครมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดขนาดมิติด้วยมือขั้นพื้นฐานที่นิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะใน QC หน้าเครื่อง ซึ่งหากมองในเบื้องต้นนั้น เครื่องมือทั้ง 2 ชนิดถูกนำมาใช้เพื่อการวัดขนาดชิ้นงานเหมือนกัน แต่หากเจาะลึกถึงคุณสมบัติเฉพาะเราจะพบความแตกต่างของเครื่องมือ 2 ชนิดนี้ และบทความนี้จะทำให้คุณทราบว่าประเภทงานนี้ควรใช้เครื่องมือชนิดให้ที่ได้ให้ประสิทธิภาพมากที่สุด

ตามหลักการพิจารณาการเลือกใช้เครื่องมือวัดเพื่อวัดชิ้นงานได้ตามมาตฐาน ISO 10012-1:1992 ที่แนะนำให้เลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีค่าความถูกต้อง (Accuracy) ดีกว่า ค่าพิกัดความเผื่อของชิ้นงาน (Tolerance) 3 ถึง 10 เท่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าขนาดของชิ้นงาน A มีค่าพิกัดความเผื่อ ± 0.15 mm ดังนั้นเครื่องมือวัดที่จะนำมาวัดขนาดของชิ้นงาน A จะต้องมีค่าความถูกต้องอย่างน้อยดีกว่า 3 เท่า ของค่าพิกัดความเผื่อของชิ้นงานนั้น คือ 0.05 mm หรือดีกว่า ดังนั้นถ้าพิจารณาเพียงแค่ค่าความถูกต้องของเครื่องมือ จะพบว่าไมโครมิเตอร์มีความเหมาะสมในการวัดขนาดชิ้นงานมากกว่าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ เพราะมีค่าความถูกต้องที่ดีกว่า

ความแตกต่างของเครื่อง

อย่างไรก็ตามหากดูจากตารางจะเห็นได้ว่าไมโครมิเตอร์ยังมีข้อจำกัดในพิสัยของการวัดที่สามารถวัดงานได้เพียง 25 mmเท่านั้น แตกต่างจากเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ที่มีพิสัยในการวัดตั้งแต่ 0-100 mm ถึง 0-2000 mm ทำให้มีรูปแบบการวัดงานที่หลาหลายกว่า เช่น วัดขนาดภายนอก วัดขนาดภายใน และวัดความลึก ได้ในตัวเครื่องมือเดียว ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละประเภทนั้นจะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

1. ขนาดของชิ้นงานที่ต้องการตรวจวัด หากชิ้นงานมีขนาดใหญ่กว่า 25 mm หรือมีรูปแบบการตรวจวัดที่นอกเหนือกว่าที่ไมโครมิเตอร์จะทำได้ การใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เช่น การใช้ เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ปากวัดแบบใบมีด (Blade) วัดชิ้นงานในร่องขนาดเล็ก เป็นต้น
2. ในกรณีชิ้นงานสามารถเลือกวัดได้กับเครื่องมือทั้ง 2 ชิ้น ให้เลือกความต้องการความถูกต้องแม่นยำในการตรวจวัดหากต้องการความแม่นยำสูง ไมโครมิเตอร์น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า

วิธีการใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ และ ไมโครมิเตอร์

เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์

  • ตรวจสอบสภาพของปากวัดต้องไม่มีรอยแตกบิ่น
  • ตรวจสอบสภาพของหน้าสัมผัสต้องไม่มีรอยแตกบิ่น
  • ตรวจสอบความเรียบของปากวัด โดยนำปากวัดนอกชนกันให้แนบสนิทต้องไม่มีแสงลอดผ่าน
  • ตรวจสอบการใช้งานของตัวตัดแรง (Ratchet stop)

ท่านสามารถเลือกชมสินค้าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ได้ที่นี่ [hubspot type=cta portal=7250954 id=62314a62-6db2-409c-82f2-00801d5695bf]

ไมโครมิเตอร์

  • ตรวจสอบความคล่องตัวของการเคลื่อนที่ต้องไม่หลวม หรือ ฝืดเกินไปตรวจสอบการเซตศูนย์ของตัวเครื่องมือ
  • ตรวจสอบการเซตศูนย์ของตัวเครื่องมือ
  • ตรวจสอบความเรียบของปากวัด โดยนำปากวัดนอกชนกันให้แนบสนิทต้องไม่มีแสงลอดผ่าน
  • ตรวจสอบการใช้งานของตัวตัดแรง (Ratchet stop)

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการตรวจวัดด้วยมือยังไม่ได้ถูกจำกัดแค่การการตรวจวัดด้วยสายตา และจดบันทึกเท่านั้น การนำระบบดิจิตอลและระบบการส่งต่อข้อมูลเพื่อในไปวิเคราะห์ผ่านซอฟท์แวร์แบบ Real timeเข้ามาเพิ่มความแม่นยำในการทำงานน่าจะเป็นอีกทางเลือกเทคโนโลยีการตรวจวัดที่น่าสนใจต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป

Sumipol-Calipers-ebook