หากจะกล่าวถึงการจัดการภายในโรงงานสำหรับยุคปัจจุบันแล้ว การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือถือเป็นความสำคัญอย่างมาก ทว่าบรรดาเทคโนโลยีเหล่านั้นจำเป็นต้องมีการจัดสรร ควบคุม และตรวจสอบอยู่เสมอ นั่นเป็นที่มาของการทำ Line Diagnosis หรือการวินิจฉัยการผลิตนั่นเอง

วินิจฉัยกระบวนการผลิตด้วย Line Diagnosis

“โรงงานสามารถผลักดันคุณภาพและปริมาณการผลิตให้สูงกว่านี้ได้ ด้วยต้นทุนที่ถูกลงหรือเท่าเดิม” คือหนึ่งในจุดประสงค์ของการทำ Line Diagnosis 

ดังที่กล่าวข้างต้นว่ากระบวนการดังกล่าวคือการวินิจฉัย ทั้งในแง่ของการสร้างระบบโรงงานขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงโรงงานเดิม และเพิ่มเติมระบบต่างๆ เข้าไปเพื่อประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการทางการผลิตที่ดีขึ้นได้ โดยมีกระบวนการดังนี้

  1. ดำเนินการพูดคุยกับโรงงานถึงปัญหา วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ในโรงงาน
  2. ให้คำแนะนำกับโรงงาน ว่าสามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตรงไหนได้บ้าง
  3. ดำเนินการสนับสนุนด้วยเครื่องมือและบริการต่างๆ 
  4. ตรวจสอบความเรียบร้อยโดยรวม

เนื่องจากเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญมากเทียบเท่ากับการวางแผนแรกเริ่มสุดของโรงงานแต่ละแห่ง ดังนั้นจึงมีการพิจารณาปัจจัยในการทำงานอย่างเข้มงวด 

Line Diagnosis ช่วยลดต้นทุนอย่างไร

รูปภายในบทความ Line Diagnosis

การพิจารณาปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ภายใต้การปรับปรุงของ Line Diagnosis จะมีปัจจัยหลักอยู่สองประการ คือ เวลา และ ต้นทุนทางการผลิต

Time 

  • Machine Time (เวลาการทำงานของเครื่่องจักร)

การตรวจสอบโดยอ้างอิงจาก Machine Time นั้นคือการตรวจสอบดูว่าเวลาการทำงานทั้งหมดของเครื่องจักรถูกใช้ไปเท่าไหร่ มีเงื่อนไขเพิ่มเติมอื่นๆ เกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ เช่น เครื่องจักรเป็นรุ่นเก่าเกินไป เครื่องมือบางส่วนสึกหรอจนส่งผลกระทบต่องานโดยรวม ระบบต่างๆ ตั้งแต่เริ่มการผลิตใส่วัตถุดิบ จนจบการผลิตที่สามารถดำเนินการส่งเป็นสินค้าได้มีความต่อเนื่อง ไม่ขาดตอนหรือไม่ สามารถเสริมตรงไหนให้สมบูรณ์ได้บ้าง

  • Man time (เวลาการทำงานของบุคลากร)

การตรวจสอบของ Man Time คือการตรวจสอบการทำงานของบุคลากรฝ่ายต่างๆ ว่าในขณะดำเนินการผลิตนั้นแต่ละบุคคลมีการทำหน้าที่ของตัวเองในแง่มุมไหนบ้าง จะสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้อย่างไร เช่นงานผลิตเดิมๆ ซ้ำๆ อาจเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้เครื่องจักรแทนเป็นต้น

Cost 

ปัจจัยเรื่องเวลานั้นสำคัญ แต่สิ่งที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการควบคุมการผลิตทั้งหมดให้อยู่ภายใต้ Budget หรืองบประมาณที่จำกัด การเปลี่ยนตำแหน่งของเครื่องจักรหรือการวางแผนที่ดีกว่า อาจทำให้งานบางส่วนไวขึ้น การผลิตโดยรวมสูงขึ้นในงบประมาณที่เท่าเดิม ไปจนถึงการใช้เครื่องจักรรุ่นที่ใหม่กว่า อาจใช้งานในระยะยาวได้ดีกว่า ลดค่าซ่อมให้น้อยลง

จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าหากทางโรงงานมีการคำนวณเวลาเครื่องจักรและบุคลากรที่ดีพอ จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในแต่ละวันมากขึ้น ลด Cost ต่างๆ ได้ในทางอ้อม และการทำ Line Diagnosis นี้ยังช่วยในการมองภาพรวม ทำให้เห็นว่ามีข้อบกพร่องอยู่ในส่วนไหนของการผลิต สามารถเสริมเพื่อลดต้นทุนและการสูญเปล่าทางการผลิตระยะยาวได้ดี

การประยุกต์ใช้ Line Diagnosis ให้ได้ผลดีที่สุด

หากจะบอกว่าทุกโรงงานจำเป็นต้องทำ Line Diagnosis ก็ไม่ผิดนัก โดย Line Diagnosis จำเป็นจะต้องมีความพร้อมในแง่ของการเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงในโรงงาน การทำความเข้าใจทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติงาน ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อประโยชน์ของโรงงานเป็นที่สุด

อีกประการคือการใช้งานบริการ Line Diagnosis จากบริษัทที่เชื่อใจได้ มีประสบการณ์การทำงานสูง สามารถปรึกษาทำความเข้าใจการทำงานของระบบเบื้องต้นได้ 

 

สรุปบทความ

Line Diagnosis เป็นอีกหนึ่ง Service ที่ตอบโจทย์กับโรงงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการผลิตซับซ้อน มีเครื่องจักรมากมาย การวินิจฉัยและวางแผนอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถเพิ่ม Productivity ได้ด้วยการประหยัดเวลา และลดต้นทุนได้ด้วยการลดการสูญเปล่าในการผลิต

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเรื่องการวินิจฉัยระบบการผลิต เครื่องจักรในอุตสาหกรรม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านระบบออโตเมชั่น การวางระบบอัตโนมัติ และระบบIoT พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Line Diagnosis การสนับสุนการผลิต และเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตชิ้นงาน รวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและการผลิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการสนับสนุนการจัดการที่ดีที่สุด 

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

Sumipol-Calipers-ebook