กระบวนการมิลเลอร์ (Miller) หรือมิลลิ่ง (Milling) เป็นกระบวนการกัดวัสดุด้วยใบมีด โดยสามารถทำได้ทั้งการกัดร่อง กัดบ่า กัดเฟือง รวมถึงสร้างผิวเรียบบนชิ้นงานในอุตสาหกรรมการผลิต

เครื่องมิลลิ่ง (Milling Machine) หรือเครื่องกัด เป็นเครื่องจักรกลที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตที่หลากหลาย และมีความแม่นยำเที่ยงตรงสูง ด้วยการเคลื่อนที่ของใบมืดในทิศทางที่กำหนด โดยยังสามารถตัดชิ้นส่วนของวัสดุตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ให้ชิ้นงานมีรูปทรงที่เป็นไปตามความต้องการของการผลิต

สำหรับบทความนี้จะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับการทำงานของเครื่องมิลลิ่งหรือเครื่องกัดชนิดต่างๆ รวมถึงส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องมิลลิ่ง เพื่อช่วยให้คุณสามารถเลือกเครื่องมิลลิ่งมาใช้ในกระบวนการผลิตของคุณได้อย่างเหมาะสม

การแบ่งชนิดของเครื่องมิลลิ่ง

เครื่องมิลลิ่งหรือเครื่องกัดแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

1. เครื่องกัดแนวตั้ง (Vertical Milling Machine)

เป็นเครื่องกัดที่มีดกัดจะอยู่ในแนวดิ่งตั้งฉากกับโต๊ะจับชิ้นงาน เหมาะกับการกัดผิวหน้าเรียบด้วยมีดกัดหน้า กัดผิวข้างเรียบ กัดแบบร่องตรง ร่องโค้ง ร่องตามขนาดยาว และร่องตลอดชิ้นงาน

Vertical Milling Machine

2. เครื่องกัดแนวนอน (Horizontal Milling Machine)

เป็นเครื่องที่มีดกัดอยู่ในแนวนอนขนานกับโต๊ะจับชิ้นงาน เหมาะกับงานกัดผิวหน้าขนาน กัดเซาะร่อง และกัดเฟือง

Vertical Milling Machine

3. เครื่องกัดเอนกประสงค์ (Universal Milling Machine)

เป็นเครื่องกัดที่ส่วนมีดกัดมีแกนหมุนทั้งแนวตั้งและแนวนอนในเครื่องเดียวกัน โดยที่โต๊ะจับชิ้นงานยังมีความพิเศษที่สามารถเคลื่อนที่ได้ในสามแนวแกน

Universal Milling Machine

 

4. เครื่องกัด CNC (CNC Milling Machine)

เครื่องกัด CNC เป็นเครื่องกัดที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในงานผลิตแบบพิเศษ ภายใต้คำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถสร้างชิ้นงานที่มีความเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากท่านอยากรู้เพิ่มเกี่ยวกับเครื่องกัดมีกี่ชนิด และหลักการใช้งานเป็นอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

CNC Milling Machine

 

ส่วนประกอบของเครื่องมิลลิ่ง

สำหรับส่วนประกอบของเครื่องมิลลิ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. ส่วนหัวเครื่อง (Spindle Head)

หัวเครื่องกัดเป็นส่วนการหมุนของมีดตัด ซึ่งมีมอเตอร์ต้นกำลังพ่วงผ่านสายพาน (สำหรับเครื่องขนาดเล็ก) หรือพ่วงผ่านกล่องเฟือง (สำหรับเครื่องขนาดใหญ่) เพื่อช่วยลดรอบการหมุนเพลาของมีดตัด

2. แท่นโต๊ะจับงาน (Table)

เป็นส่วนที่ใช้ยึดจับชิ้นงานเอาไว้ไม่ให้เคลื่อนไหวในขณะที่กำลังทำงานอยู่ ซึ่งโต๊ะจับชิ้นงานนี้สามารถเคลื่อนที่ไปตามแนวแกนตั้งและแกนนอน

3. โครงเครื่อง (Body)

เป็นฐานของเครื่องที่ทำหน้าที่ยึดส่วนประกอบของเครื่องและมีดตัดเข้าหากัน

[hubspot type=cta portal=7250954 id=8f29a354-d63c-4436-beee-9a974cf320b0]

ดอกกัดสำหรับเครื่องมิลลิ่ง (Milling Cutter)

ดอกกัดหรือมีดกัดทำจากวัสดุประเภทเหล็กรอบสูง (HSS) เพื่อให้มีความแข็งแรงในการเฉือนชิ้นงาน โดยทั่วไปจะมีลักษณะหลายรูปแบบทั้งทรงกลม ทรงกระบอก เป็นแผ่นวงหนาบางตามลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1. ดอกกัดหน้าเรียบ (Face Milling)

Face Milling

ดอกกัดชนิดนี้จะกัดผิวชิ้นงานในแนวตั้งฉากกับแกนหมุน
ซึ่งตัวดอกกัดจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่กว้างมาก
เพื่อกัดผิวชิ้นงานให้มีความเรียบได้ระนาบ

2. ดอกกัดข้างเรียบ (Peripheral Milling)

Peripheral Milling

ดอกกัดชนิดนี้จะกัดผิวงานในแนวขนานกับแกนหมุนของดอก ช่วยให้ด้านข้างผิวงานมีความเรียบ เหมาะกับการใช้งานกับ เครื่องกัดแนวนอนและเครื่องกัดแนวตั้ง โดยรูปร่างของดอกกัดจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก

[hubspot type=cta portal=7250954 id=3d1b550a-2b5e-4601-a191-59b2f14a2ce2]

การชิ้นส่วนเครื่องมือที่เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องกัด

สำหรับวิธีการเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานกับเครื่องกัดให้เหมาะสม มีชิ้นส่วนที่ควรพิจารณาหลักๆ อยู่ 7 ชิ้นส่วนดังนี้

  1. ลักษณะของการจับเม็ดมีด (Insert Clamping System) ขึ้นอยู่กับงานที่ต้องการว่าเป็นการกัดนอกหรือกัดใน งานหนักหรืองานเบา และเป็นงานที่ต้องใช้ความเร็วในการเปลี่ยนอุปกรณ์ตัดหรือไม่
  2. การเลือกขนาดและรูปร่างของตัวจับเม็ดมีด (Toolholder Size and Type) ให้เหมาะสม จะมีผลต่อการทำงานและชิ้นงานที่ได้
  3. รูปร่างของเม็ดมีด (Insert Shape) จะมีความสัมพันธ์กับมุมที่เม็ดมีดทำการกัดชิ้นงาน รวมถึงความแข็งแรงของขอบเม็ดมีด และความหลากหลายในการใช้งาน
  4. รูปทรงเลขาคณิตของเม็ดมีด (Insert Geometry) แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกัน การเลือกใช้ต้องดูที่เงื่อนไขและชนิดของวัสดุของชิ้นงาน
  5. วัสดุของเม็ดมีด (Insert Grade) เลือกให้ตรงกับคุณสมบัติกับวัสดุของชิ้นงานที่ใช้ โดยดูที่พื้นผิวของงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย และยืดอายุการใช้งาน
  6. ขนาดของเม็ดมีด (Insert Size) การเลือกขนาดของเม็ดมีดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ช่วยให้เม็ดมีดทนต่อแรงจากการทำงานของเครื่องมิลลิ่ง  
  7. รัศมีที่ปลายเม็ดมีด (Nose Radius) ชิ้นงานที่ต้องการผิวงานที่ดี ต้องเลือกใช้ปลายเม็ดมีดที่มีรัศมีเหมาะสม

ตัวอย่างชิ้นงานที่สร้างโดยเครื่องมิลลิ่ง

Milling cutting

เครื่องมิลลิ่งสามารถกัดวัสดุได้หลากรูปแบบทั้งกัดผิวเรียบ กัดร่อง กัดบ่า กัดเฟือง ลูกเบี้ยว (Cams) ซึ่งตัวอย่างชิ้นงานที่เครื่องมิลลิ่งสามารถทำได้มี ดังนี้

  • กัดปากผิวด้านบนชิ้นงาน
  • ต๊าปเกลียว หรือทำเกลียวใน 2 รูนอก
  • กัดหลุมเป็นไหล่ด้านข้าง
  • กัดปากผิวหน้า
  • กัดปากเป็นร่องสล็อตด้านหลัง
  • กัดหลุมด้านหน้า
  • กัดหลุมรูปตัว L ฝั่งขวา
  • กัดหลุมรูปตัว L ฝั่งซ้าย
  • กัดปากมุมด้านนอกฝั่งซ้ายและขวา
  • Chamfer หรือกัดลบคมของขอบด้านนอก
  • Set up งานใหม่โดยยังคงมุมเอียงแล้วปาดผิวหน้า
  • เจาะรู 4 รู
  • กัดเป็นเคาเตอร์บอ 2 รูกลาง
  • ลบขอบของรูที่ 2 รูนอก

สรุปบทความ

จากบทความนี้คุณจะเห็นว่าเครื่องมิลลิ่งหรือเครื่องกัด ประกอบไปด้วยเครื่องมือและดอกกัดชนิดต่างๆ ที่ช่วยให้งานตัดสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เที่ยงตรง และสะดวกสบายในการใช้งาน

รวมถึงเครื่องมิลลิ่งยังมีหลากหลายประเภท ทั้งการทำงานแบบควบคุมด้วยคน และการทำงานแบบควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเหมาะกับงานผลิตที่ต้องการความถูกต้องและความสมบูรณ์แบบของชิ้นงาน ได้แก่ อุตสหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรกล อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคมด้วย

บริการด้านเครื่องจักรกลของเรา

  • เราให้คำปรึกษาและการเลือกใช้เครื่องจักรระบบอัตโนมัติ (CNC Machines), เครื่องมือตัด (Cutting Tools), ระบบการใช้เครื่องมือ (Tooling System) รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์
  • เราช่วยออกแบบกระบวนการทำงานของเครื่องจักรกล ให้สามารถผลิตชิ้นงานที่ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของลูกค้า
  • เราช่วยวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตให้สอดคล้องกับดุลยภาพการผลิตของลูกค้า อีกทั้งช่วยศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่