ขั้นตอนการผลิตชิ้นงานในอุตสาหกรรมนั้นต้องใช้ความละเอียดในการวัด และตรวจสอบชิ้นงาน เพื่อให้ได้ค่าที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่ความกว้าง ยาว สูง เท่านั้น แต่ยังมีความหนา ลึก และความกว้างภายในรูอีกด้วย
เมื่อนึกถึงการวัดรู อุปกรณ์ที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ บอร์เกจ (Bore Gauge) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 เครื่องมือวัดพื้นฐาน (Dimension) ที่ควรมี ในภาคอุตสาหกรรม ให้การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และช่วยควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน


บทความนี้จะนำคุณมารู้จัก “Bore Gauge” ให้มากขึ้นทั้งหลักการทำงาน วิธีการใช้งาน มีกี่ประเภท เหมาะกับงานวัดแบบไหน รวมไปถึงทางเลือกในการปรับตั้งค่าเครื่องมือ

บอร์เกจ คืออะไร?

บอร์เกจ เป็นเครื่องมือวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (Inside Diameter Measuring Tools) หรือเรียกง่ายๆว่า เครื่องมือวัดรูใน ที่มีความละเอียดแม่นยำสูง สามารถวัดขนาดของรูที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน  ตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป 

ใช้สำหรับวัดด้านในของรูเจาะหรือรูยึด ชิ้นงานทรงกระบอก วัดขนาดภายในท่อ วัดรูขนาดเล็ก เช่น การวัดกระบอกสูบและท่อ  การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และการตรวจสอบเพื่อติดตามการสึกหรอ 

จึงเป็นที่รู้จักในหลายชื่อ ตามลักษณะและการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น 

แต่มีหลักการทำงานและวิธีการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน


หลักการทำงานของ Bore Gauge 

Bore Gauge - ทำความรู้จักบอร์เกจ อุปกรณ์วัดรูใน

เป็นเครื่องมือวัดแบบเปรียบเทียบ โดยดูจากความแตกต่างระหว่างชิ้นงานและอุปกรณ์อ้างอิง ดังนั้นจะต้องมีการปรับเทียบเครื่องมือก่อนการใช้งาน


เมื่อใส่บอร์เกจเข้าไปในรูที่ต้องการวัดแล้ว ชิ้นส่วนขนาดเล็กที่เรียกว่า ก้านวัด (anvils) จะขยายตัวออก เพื่อสัมผัสผนังของรู และวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน


อ่านค่าได้บนหน้าปัดไดอัลเกจ สเกล หรือบนจอแสดงผลดิจิตอลที่เชื่อมต่อกับด้ามจับว่า บวก/ลบ จากค่าที่ตั้งไว้เท่าใด


วิธีการใช้งาน Bore Gauge

ใช้งานง่าย เพียง 3 ขั้นตอน

1. ตั้งค่าศูนย์ (Zero Setting)

วาง Bore gauge ลงในเครื่องมือปรับเทียบ  ที่ล็อคค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของรูที่ต้องการวัดไว้ เพื่อใช้เป็นขนาดอ้างอิง ไม่ว่าจะเป็นไมโครมิเตอร์วัดนอก Setting Ring หรือ Bore Gage Checker แล้วเซ็ตศูนย์

  • สำหรับไดอัลบอร์เกจ ให้หมุนขอบหน้าปัดไดอัลให้เข็มตรง
    กับเลข “0” 
  • สำหรับดิจิตอลบอร์เกจ ให้กดปุ่ม Set zero /Begin

ทางเลือกในการตั้งค่าศูนย์ (Zero Setting) ของบอร์เกจวัดรู

 

Bore Gauge - ทำความรู้จักบอร์เกจ อุปกรณ์วัดรูใน

2. วัดชิ้นงาน

ใส่บอร์เกจเข้าไปในรูที่ต้องการวัด โดยเอียงด้ามจับเล็กน้อย ตรวจดูให้แน่ใจว่าหน้าสัมผัสของก้านวัดทั้งหมดสัมผัสกับผนังของชิ้นงาน ค่อย ๆ ขยับบอร์เกจไปมา ปรับให้ก้านวัดอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน

3. การอ่านค่า

เมื่อเครื่องมือตั้งตรงแล้ว ให้ดูที่หน้าปัดไดอัลเกจ จอแสดงผลดิจิตอล หรือสเกล เพื่ออ่านค่า  
**ควรทำการวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด


Bore Gauge มีกี่ประเภท? เหมาะกับการใช้งานแบบไหน?

บอร์เกจ ถูกผลิตมาหลายแบบ หลายรุ่น มีระบบการทำงานทั้งแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล
เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ

การเลือกใช้บอร์เกจให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่จะวัด จะเลือกตาม

  • ช่วงการวัด 
  • ลักษณะของหัววัด
  • จำนวนหน้าสัมผัส (สองหรือสาม) 
  • ข้อกำหนดด้านความแม่นยำ / ความละเอียดในการวัด
  • การแสดงผล (หน้าปัดแบบเข็ม , สเกล และตัวเลขดิจิตอล)
  • ส่วนต่อขยายสำหรับความลึก

1. Bore Gauge

ไดอัลบอร์เกจ หรือ เกจวัดกระบอกสูบ

มีลักษณะเป็นด้ามยาวพร้อมไดอัลเกจ (Dial indicator) ที่ติดเข้ากับด้ามจับ สามารถอ่านค่าที่วัดจากรูในของวัตถุได้โดยตรง และมีหัววัดที่สามารถหดและขยายเพื่อให้พอดีกับรู อยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง

ไดอัลบอร์เกจ
  • ส่วนใหญ่ก้านวัด (anvils) สามารถต่อก้านต่อขยาย (Extensin Rod) หรือติดหัวไมโครมิเตอร์เพิ่ม เพื่อการการบอกขนาดที่แม่นยำยิ่งขึ้น
  • สามารถเปลี่ยนหรือต่อด้าม (Sleeve) ให้ยาวขึ้นได้ตามต้องการ

ดังนั้นเครื่องมือวัดนี้จึงสามารถใช้วัดขนาดรูต่างๆ ได้หลากหลาย เหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีความกลมรี หรือทรงกระบอก ใช้วัดกระบอกสูบได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือวัดอเนกประสงค์และแม่นยำมาก สามารถนำไปใช้ในการใช้งานพิเศษ เช่น การวัดเกลียวใน เส้นผ่านศูนย์กลางของร่องฟันเฟือง และรูลึก


2. Holtest

โฮลเทส หรือ ไมโครมิเตอร์วัดรู

มีสองหรือสามแกนวัด หน้าสัมผัสใหญ่ ประกอบง่าย และมีความถูกต้องแม่นยำสูง สามารถต่อด้ามให้ยาวขึ้น วัดรูที่มีความลึกได้ดี แต่มีขีดจำกัดด้านขนาดของเครื่องมือ มีทั้งแบบ Analog และ แบบ Digimatic Holtest

Holtest

Borematic – Lever Bore Gauge

ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายแค่บีบและปล่อยด้ามจับแบบคันโยก เพื่อควบคุมการยืด-หดของก้านวัด บางรุ่นมีลักษณะคล้ายด้ามปืน (Pistol Grip ) มีสามแกนวัด ช่วยจัดตำแหน่งให้หัววัดอยู่กลางรู ให้การวัดที่แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น

เหมาะสำหรับการวัดที่ต้องใช้ความเร็ว หรือทำงานด้วยมือเดียว พร้อมผลลัพธ์ที่ทำซ้ำได้ 

Borematic

3. Inside Micrometer

ไมโครมิเตอร์วัดใน เป็นเครื่องมือวัดโดยตรงที่แม่นยำ มี 2 ชนิด คือ

Inside Micrometers — Caliper Type ไมโครมิเตอร์วัดใน แบบคาลิเปอร์ 

ไมโครมิเตอร์วัดในนี้ มีรูปร่างคล้ายกับคาลิปเปอร์ ออกแบบเพื่อให้เหมาะสำหรับวัดรูในขนาดเล็ก หรือวัดร่องแคบๆ มีข้อจำกัดในการวัดรูที่มีความลึก

ไมโครมิเตอร์วัดใน แบบคาลิเปอร์

Tubular Inside Micrometers ไมโครมิเตอร์วัดใน แบบแท่งตรง 

ไมโครมิเตอร์ที่มีรูปทรง “คล้ายปากกา” ทำการวัดโดยสอดใส่ตัวไมโครมิเตอร์เข้าไปในแนวขวางกับชิ้นงานที่จะทำการวัด  เหมาะสำหรับการวัดชิ้นงานที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่

  • สามารถต่อแกน เพื่อเพิ่มระยะในการวัดรูในชิ้นงานขนาดใหญ่ 
  • แกนต่อที่ใช้มีหลายขนาดจะเลือกใช้ขนาดเท่าใด หรือ จำนวนกี่อันนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงานที่ต้องการวัด
Tubular Inside Micrometers

4. Telescopic Gauge

Telescopic Gauge

เทเลสโคปิกเกจ (Telescopic gauge) มีลักษณะเป็นตัว “T” วัดขนาดรูใน โดยมีหัวเป็นสปริงสามารถหดและขยายเพื่อให้พอดีกับรู เหมาะสำหรับการวัดในพื้นที่คับแคบ ซึ่งบอร์เกจประเภทอื่นที่ตัวเครื่องใหญ่ไม่สามารถใส่เข้าไปได้

เป็นเครื่องมือวัดประเภทถ่ายทอดขนาด ชนิดสองแขน ไม่สามารถอ่านค่าได้โดยตรง เนื่องจากเครื่องมือชนิดนี้ไม่มีสเกล ดังนั้นหลังจากทําการวัดถ่ายทอดขนาดมาแล้ว ต้องนําไปวัดด้วย Micrometer อีกครั้ง 

การวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในด้วยเครื่องมือประเภทนี้ค่อนข้างง่าย 

  1. เลือกขนาดเกจที่เหมาะสม
  2. เสียบหัวเกจเข้าไปในรู หลังจากสัมผัสชิ้นงานแล้วทำการล็อค ด้วยสกรูที่อยู่ท้ายเครื่องมือ 
  3. นําออกจากรู ไปวัดด้วย Micrometer อีกครั้ง เพื่ออ่านค่าที่วัดได้

ทางเลือกในการตั้งค่าศูนย์ (Zero Setting) ของบอร์เกจวัดรู

ทางเลือกในการตั้งค่าศูนย์ (Zero Setting) ของบอร์เกจวัดรู

1. ไมโครมิเตอร์วัดนอก (outside micrometer) เป็นวิธีที่เร็ว ประหยัด และได้รับความนิยมมากที่สุด โดยตั้งค่าไมโครมิเตอร์วัดนอกให้มีขนาดเท่ากับ หรือใกล้เคียงชิ้นงาน ใส่ก้านวัดของบอร์เกจทั้งสองด้านในไมโครมิเตอร์แล้วเซ็ตศูนย์ แต่วิธีนี้เกิดความผิดพลาดได้สูง เพราะปลายหัววัดของบอร์เกจมีผิวโค้ง การปรับตำแหน่งไมโครมิเตอร์ให้ตรงกับบอร์เกจเป็นเรื่องยาก

2. ริงเกจ (Setting Ring) เป็นวิธีที่รวดเร็วและแม่นยำที่สุด เพียงแค่วางบอร์เกจลงใน Setting Ring ที่มีขนาดเท่ากับ หรือใกล้เคียงชิ้นงาน แล้วเซ็ตศูนย์ แต่วิธีนี้มีต้นทุนสูง และถ้าขนาดงานเปลี่ยนก็ต้องมี Setting Ring ใหม่ทุกครั้ง เหมาะสำหรับบอร์เกจแบบสามแกนวัด และไมโครมิเตอร์วัดใน

3. แทนตั้งระยะบอร์เกจ (Bore Gage Checker) ที่ใช้งานร่วมกับเกจบล็อค เป็นอีกวิธีที่เริ่มเป็นที่นิยม วิธีนี้อาศัยความเที่ยงตรงของเกจบล็อคและตั้งระยะบอร์เกจ ช่วยให้การปรับแนววางตำแหน่งง่ายขึ้นและมีความเที่ยงตรง ยืดหยุ่นสูง เพราะสามารถเปลี่ยนขนาดของเกจบล๊อกเพื่อตั้งค่าใหม่ได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นการลงทุนครั้งเดียวแต่ใช้งานได้นาน


สรุป

บอร์เกจช่วยเพิ่มความมั่นใจ ในการวัดรูใน เมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือชนิดอื่นๆ ทั้งความละเอียดที่มากขึ้น การเข้าถึงในเชิงลึก และการใช้งานง่าย อย่างไรก็ตามการเลือกใช้บอร์เกจควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งาน ส่วนในภาคอุตสาหกรรมยังมีเรื่องการอ่านค่าแบบ Real-Time ที่ช่วยในการผลิตชิ้นงานจำนวนมาก

ผู้ใช้งานควรศึกษาความรู้ด้านเทคนิค และการอ่านค่าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้การวัดที่มีประสิทธิภาพ หากคุณมีข้อสงสัยหรือสนใจเกี่ยวกับเครื่องมือวัด  การสอบเทียบเครื่องมือวัด การอัปเกรดระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 

คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง และระบบงานออโตเมชั่น IoT พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านการวัดจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือวัดแบรนด์ Mitutoyo ที่เหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า พร้อมนำเสนอโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่