
เมื่อกล่าวถึง เครื่องมือวัด (Dimension) ในภาคอุตสาหกรรม ในขั้นตอนการผลิตจำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัดที่มีความถูกต้อง (Accuracy) และความเที่ยงตรง (Precision) โดยเมื่อนำไปใช้งานในการวัดขนาดหรือค่าที่ต้องการ ค่าที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขบนเครื่องมือวัดเหล่านี้ต้องมีความเชื่อถือได้ เพื่อรักษามาตรฐานของการผลิตเอาไว้
เครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรมถูกพัฒนามาเป็นเครื่องวัดที่มีการแสดงค่าโดยใช้สเกลและมีเข็มชี้ หรือเรียกว่าเครื่องวัดระบบอนาล็อก หรือ Analog Instrument ซึ่งใช้มาอย่างยาวนาน และได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องให้หลายรูปแบบแสดงค่าออกมาเป็นระบบตัวเลขบนหน้าจอระบบดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Digital Instrument
บทความนี้จะนำเสนอ 5 เครื่องมือวัดพื้นฐาน ที่คุณต้องทำความรู้จักและควรมีไว้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นพื้นฐานของการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและช่วยควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน
เลือกซื้อ เครื่องมือวัด อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน
สำหรับการเลือกซื้อเครื่องมือวัดโดยพื้นฐานแล้วต้องคำนึงถึงการใช้งานก่อน โดยให้พิจารณาว่าเครื่องมือวัดชนิดใดเหมาะกับงานของคุณบ้าง และจากนั้นให้คำนึงมาตรฐานการวัดว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
นอกจากนี้แล้วยังมีข้อแนะนำอีก 4 ข้อที่คุณต้องทราบก่อนทำการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องมือวัดพื้นฐาน
- เชื่อถือได้ (Reliability)
ความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยหลักของการเลือกซื้อเครื่องมือวัด เนื่องจากเครื่องมือวัดจะแสดงค่าที่คนไม่สามารถคำนวณออกมาได้ด้วยตาเปล่า จึงต้องอาศัยการใช้งานเครื่องมือวัดเพื่อให้ได้ค่าที่เชื่อถือได้
- ความไวในการวัด (Sensitivity)
เครื่องมือวัดบางชนิดจำเป็นต้องให้ค่าการอ่านในทันทีทันใดเช่น เครื่องวัดอุณหภูมิที่ต้องเปลี่ยนแปลงทันทีเมื่ออุณหภูมิแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือเครื่องมือวัดที่ทำงานโดยระบบดิจิทัล ก็ต้องมีการให้ค่าตัวเลขอย่างรวดเร็วในขณะที่ทำการวัด
- ความถูกต้อง (Accuracy)
แม้ว่าเครื่องมือวัดแต่ละชนิดจะให้ค่าออกมาตามการวัด แต่ตัวเลขที่ได้อาจไม่มีความถูกต้อง ซึ่งเกิดจากความคลาดเคลื่อน ทำให้ได้ตัวเลขที่ไม่แน่นอนหรือตัวเลขที่ผิดพลาดไปจากที่ต้องการ ดังนั้นเครื่องวัดที่มีมาตรฐานควรให้ค่าตัวเลขที่ตรงตามความเป็นจริงและมีความถูกต้อง
- ความเที่ยงตรง (Precision)
ความเที่ยงตรงของเครื่องวัดเป็นการแสดงค่าการวัดออกมา ให้ได้ค่าตามเดิมทุกครั้งที่ทำการวัดกับอุปกรณ์หรือระบบที่ต้องการวัด
เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ?
1. ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)
ไมโครมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความละเอียดที่สามารถวัดได้ทั้งความกว้าง ยาว หรือความหนาของวัตถุที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียดสูง โดยพื้นฐานการทำงานของไมโครมิเตอร์อาศัยหลักการเคลื่อนที่ตามเส้นรอบวงของเกลียว แล้วแสดงผลจากระยะที่เคลื่อนไปได้ออกมาเป็นตัวเลขของขนาดวัตถุที่ทำการวัด

ปัจจุบันนี้ไมโครมิเตอร์มีการออกแบบให้สามารถใช้งานได้หลากหลายลักษณะ เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยแบ่งตามชนิดของไมโครมิเตอร์ตามระบบการทำงานได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ ไมโครมิเตอร์ระบบสเกล กับไมโครมิเตอร์ระบบดิจิทัล (Digimatic Micrometer)
อ่านเพิ่ม : วิธีการเลือกใช้ Caliper / Micrometer
2. คาลิปเปอร์ (Caliper)
คาลิปเปอร์ เป็นเครื่องมือวัดพื้นฐานมีการใช้งานมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับวัดขนาดทางด้านมิติ ที่ให้ความละเอียดในการวัดเป็นค่าตัวเลขออกมาเป็นหน่วยมิลลิเมตรและนิ้ว และสามารถใช้วัดได้หลากหลายลักษณะรวมอยู่ในเครื่องมือชิ้นเดียวทั้งขนาด ความยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง รวมถึงความลึกของวัสดุ

นอกจากนี้ยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างสะดวกและให้ค่าที่แม่นยำ เหมาะกับงาน เช่น งานกลึง งานประกอบชิ้นส่วน โดยในปัจจุบันมีคาลิปเปอร์ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไดอัลคาลิปเปอร์ (Dial Caliper) และดิจิทัลคาลิปเปอร์ (Digimatic Caliper)
อ่านเพิ่ม : เวอร์เนียคาลิปเปอร์ใช้งานอย่างไร? , วิธีการเลือกใช้ Caliper / Micrometer
3. ไฮเกจ (Height Gauge)
ไฮเกจ เป็นเครื่องมือวัดขนาดความสูงสำหรับงานโมเดลหรืองานร่างแบบ (Lay-out) ก่อนทำการผลิตจริง โดยที่ผู้ทำการวัดสามารถขีดรอยเพื่อกำหนดระยะ ขนาด หรือความสูง บนผิวงานได้ด้วยเหล็กบาก สามารถใช้งานคู่กับโต๊ะระดับหรือแท่นระดับ (Surface Plate) เพื่อให้ได้ระนาบผิวอ้างอิงในการวัด

ในปัจจุบันไฮเกจมีลักษณะเฉพาะของโครงสร้างและระบบการทำงาน โดยถูกแบ่งออก 3 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียไฮเกจ ไดอัลไฮเกจ และดิจิทัลไฮเกจ (Digimatic Height Gage)
อ่านเพิ่ม : ไฮเกจคืออะไร? ตอบโจทย์การใช้งานแบบไหน?
4. ไดอัลเกจ (Dial Gauge)
ไดอัลเกจ หรือนาฬิกาวัดเป็นเครื่องมือวัดที่มีหน้าปัดคล้ายนาฬิกา โดยจะแสดงค่าการวัดจากการเคลื่อนที่ของเข็มที่ติดตั้งบนหน้าปัดเมื่อวางหัวสัมผัสของเครื่องวัดบนวัตถุ ใช้สำหรับวัดความเป็นระนาบ ความขนาน ระยะเยื้องศูนย์ เช่น วัดหาศูนย์ของวัตถุก่อนทำการกลึง ตรวจสอบความเที่ยงศูนย์ ตรวจสอบความขนาน ตรวจสอบขนาด และวัดความเยื้องศูนย์

ในปัจจุบันไดอัลเกจได้รับการจำแนกออกเป็น 2 ชนิดตามหลักการทำงาน ได้แก่ ไดอัลเกจระบบสเกลอนาล็อก และไดอัลเกจระบบดิจิทัล (Digimatic Indicator)
อ่านเพิ่ม : ทำความรู้จักกับไดอัลเกจ เครื่องมือวัดละเอียดในงานผลิต
5. ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ (Dial Test Indicator)
ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ นาฬิกาวัดที่เหมาะกับงานวัดแบบเปรียบเทียบพื้นที่แคบ มีหัวสัมผัสวัดและแกนวัดเป็นลักษณะคานยื่นออกมาจากชุดนาฬิกาวัดเพื่อทำการวัดและตรวจสอบ มีค่าความละเอียดและความถูกต้องสูง
เครื่องมือวัดนี้เหมาะกับงาน เช่น ตรวจสอบความเรียบ ตรวจสอบความขนาน วัดความเยื้องศูนย์ และวัดขนาด

อ่านเพิ่ม : ทำความรู้จัก ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ คืออะไร? เหมาะกับงานวัดแบบไหน?
สรุปบทความ เครื่องมือวัด
ในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทำให้เครื่องมือวัดต่างๆ ใช้งานได้ง่าย มีความน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรงสูง ซึ่งนอกจากเครื่องมือวัด 5 ชนิดที่ทางเราแนะนำให้กับคุณแล้ว ยังมีเครื่องมือวัดพื้นฐานชนิดอื่นที่แตกต่างไปตามประเภทของอุตสาหกรรมที่คุณสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน
นอกจากนี้ การเลือกใช้เครื่องมือวัดพื้นฐานควรคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับของเครื่องมือวัด ที่ให้ผลลัพธ์การวัดที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่เลือกใช้ เพื่อเป็นพื้นฐานของการควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
ถ้าคุณสนใจรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ทางเราพร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่ ด้วยการให้คำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคด้านเครื่องมือและเครื่องจักรกลคุณภาพสูง
บริการด้านการวัดจากสุมิพล
สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือวัดแบรนด์ Mitutoyo ที่เหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า พร้อมนำเสนอโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น
ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่
hbspt.cta.load(7250954, ‘bde72ae7-649c-4d29-852c-ec4b7c599b35’, {});