Calibrator และ Calibration หลายคนคงเคยได้ยินทั้งสองคำนี้กันมาบ้าง บางคนอาจเกิดความสับสนเล็กน้อย หรือเคยคิดว่าทั้งสองคำนี้มีความหมายเดียวกัน ซึ่งทั้งสองเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันครับ ว่า Calibrator และ Calibration คืออะไร? ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร?

Calibrator คืออะไร ?

คำว่า Calibrator ไม่ได้หมายถึงคน หรือ เจ้าหน้าที่ ที่ทำการสอบเทียบเครื่องมือวัด อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจผิดกัน

แต่ Calibrator คือ เครื่องมือสอบเทียบ ซึ่งคำจำกัดความอย่างเป็นทางการและทางเทคนิคจาก BIPM  คือ “มาตรฐานการวัดที่ใช้ในการสอบเทียบ”  หรือเรียกอีกอย่างว่า มาตรฐานอ้างอิง

เป็นเครื่องมือทางวิศวกรรมที่มีความละเอียดแม่นยำสูง ใช้อ้างอิงในการวัด ( มาตรฐาน ) เปรียบเทียบกับการวัดของเครื่องมืออื่นที่มีความแม่นยำน้อยกว่า ( อุปกรณ์ภายใต้การทดสอบ : DUT ) และสามารถสอบกลับสู่หน่วย SI Unit ซึ่งเป็นมาตรฐานการวัดโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้

Note : การสอบกลับได้ (Traceability) คือคุณสมบัติของผลการวัดที่สามารถโยงไปกับมาตรฐานแห่งชาติที่เป็นที่ยอมรับโดยการเปรียบเทียบกันอย่างไม่ขาดช่วง เป็นลูกโซ่ และจะต้องรายงานค่าความไม่แน่นอนของการวัดด้วย

Calibrator และ Calibration คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร ?

ซึ่ง เครื่องมือสอบเทียบ มีรูปแบบ ชื่อเรียก และการใช้งานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าออกแบบมาเพื่อทำงานอะไร เช่น เกจบล็อก เครื่องมือสอบเทียบเกจบล็อก เครื่องสอบเทียบคาลิปเปอร์ เครื่องสอบเทียบเกจวัดความดัน เครื่องมัลติฟังค์ชั่นคาริเบเตอร์ และอีกมากมาย

Calibrator และ Calibration คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร ?

Calibration คืออะไร?

Calibration  คือ กระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด กล่าวอย่างง่ายที่สุดคือ กระบวนการกำหนดความแม่นยำของเครื่องมือ โดยกระบวนการนี้จะเปรียบเทียบค่าระหว่างสองเครื่องมือ คือ เครื่องมือที่ต้องการสอบเทียบ กับเครื่องมือทางวิศวกรรมที่มีความละเอียดแม่นยำสูง  หรือ เครื่องมือสอบเทียบ

เพื่อตรวจสอบตรวจสอบสภาพการทำงานและความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์  ด้วยการสอบเทียบเครื่องมือวัดตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ว่าเครื่องมือวัดนั้น ควรจะใช้ต่อไปหรือจำเป็นต้องปรับแต่งผลจากการสอบเทียบ เพื่อให้เครื่องมือที่ผ่านการสอบเทียบกลับสู่การใช้งานที่เป็นมาตรฐานอีกครั้ง

Calibration

ทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่องมือวัดที่ใช้ยังคงทำงานได้อย่างแม่นยำและเชื่อถือได้ ผลการสอบเทียบหลายๆ ครั้ง ยังแสดงให้เห็นคุณลักษณะทางด้านความเสถียร ( Stability ) ของเครื่องมือวัดอีกด้วย

หากต้องการทราบว่า 

  • ทำไมต้องสอบเทียบเครื่องมือวัดด้วย ISO/IEC 17025
  • จะรู้ได้อย่างไร ว่าถึงเวลาสอบเทียบเครื่องมือวัดแล้ว
  • องค์ประกอบในการสอบเทียบเครื่องมือวัดมีอะไรบ้าง

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : การสอบเทียบเครื่องมือวัดมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025


สรุปง่ายๆ Calibration นั้นหมายถึง กระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด
และ Calibrator ก็คือ เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการสอบเทียบ นั่นเอง


ส่วน ผู้ที่ดำเนินการสอบเทียบ ที่กล่าวถึงในช่วงแรก จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทดสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัด เช่น สอบเทียบด้านไฟฟ้า ,สอบเทียบด้านมิติ, สอบเทียบด้านอุณหภูมิ, สอบเทียบด้านความดัน ฯลฯ 

มีตำแหน่งงานที่หลากหลายซึ่งในภาพรวมตำแหน่งงานเหล่านี้จะรับผิดชอบงานกลุ่มเดียวกัน คือ ดำเนินการสอบเทียบและซ่อมแซม  ให้บริการ และให้คำปรึกษาลูกค้าทางเทคนิค ดำเนินงานด้านเอกสารเกี่ยวกับงานซ่อมและสอบเทียบ แต่อาจจะมีระดับความลึกของความรับผิดชอบต่างกัน ได้แก่:

  • นักมาตรวิทยา (Metrologists) 
  • ผู้จัดการห้องปฏิบัติการ (Lab managers)
  • วิศวกรสอบเทียบ (Calibration engineers)
  • ช่างเทคนิคสอบเทียบ (Calibration technicians)

และยังมีผู้ที่ทำงานสอบเทียบในภาคสนาม (On-site) ได้แก่ :

  • วิศวกรการผลิต (Manufacturing engineers)
  • ช่างเทคนิคเครื่องมือ (Instrument technicians)
Calibrator และ Calibration คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร ?

การสอบเทียบ (Calibration) สำคัญอย่างไร ?

เครื่องมือวัดที่ใช้งานไปแล้วในระยะหนึ่ง ค่าจากการวัดจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ ระยะเวลาการใช้งาน อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี ที่ส่งผลให้เครื่องมือวัดเสื่อมสภาพ และบอกค่าการวัดการคลาดเคลื่อนไปจากเดิม เมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะที่เสื่อมสภาพจะทำให้ผลจากการวัดที่มีความน่าเชื่อถือน้อยลง และส่งผลต่อคุณภาพของกระบวนการผลิตที่ลดลง

จึงควรต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือเป็นระยะๆ เพื่อความถูกต้องแม่นยำของกระบวนการควบคุมคุณภาพการวัดในอุตสาหกรรมการผลิต งานวัดเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการผลิต  เพียงใด การสอบเทียบก็มีความสำคัญอย่างยิ่งเพียงนั้น

สุมิพลให้ความสำคัญกับ งานสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติตามมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของการบริการ

สำหรับผู้ที่ต้องการนำเครื่องมือวัดที่มีอยู่แล้ว เข้าสู่กระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัดเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดในห้องปฎิบัติการ

สุมิพลให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดในห้องปฎิบัติการ และบริการซ่อมเครื่องมืดวัด ครบและจบในที่เดียว ซึ่งได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และให้ซ่อมด้วยมาตรฐานของผู้ผลิตมิตูโตโย และตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แห่งเดียวของประเทศ

  • มีเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้สำหรับการสอบเทียบที่ทันสมัย ภายใต้ห้องปฏิบัติงานที่มีการจัดการสภาพแวดล้อมเป็นไปตามข้อกำหนดของระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025
  • ขอบข่ายการสอบเทียบที่ครอบคลุมพารามิเตอร์เครื่องมือวัดด้านมิติมากที่สุด รวมถึงการให้บริการ On-site สำหรับเครื่องมือวัดขนาดใหญ่ที่ติดตั้งถาวรในโรงงาน
  • ดำเนินงานโดยทีมงานที่มีประสบการณ์
  • บริการรับ – ส่ง เครื่องมือโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ภายในพื้นที่ให้บริการ

หากคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา

สามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่