การบำรุงรักษาเครื่องจักรภายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกโรงงานควรเอาใจใส่ เนื่องจากไลน์การผลิตมีการใช้งานเครื่องจักรอยู่ตลอดเวลา หากใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่มีการบำรุงรักษาอาจทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานที่สั้นลง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมเเซมมากขึ้น  Predictive Maintenance หรือ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ จึงเป็นกระบวนการที่จะสามารถคาดการณ์ปัญหาและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

Predictive Maintenance คืออะไร?

การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ หรือ Predictive Maintenance คือ แนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบอุปกรณ์ผ่านเซนเซอร์ ซอฟต์แวร์ และการตอบกลับข้อมูลในไลน์การผลิต เพื่อจัดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์สำหรับบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) พร้อมกับมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่ง

โดยปรับปรุงกระบวนการในการระบุว่าอุปกรณ์ใด หรือ ส่วนประกอบใด ที่แสดงสัญญาณว่าเมื่อใดจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์จึงสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการได้ โดยการระบุเวลาที่แน่นอนว่าควรปรับปรุงอุปกรณ์ในเวลาใด แทนที่จะเป็นเพียงแค่การบำรุงรักษาตามกำหนดการเชิงป้องกันตามปกติ ซึ่งอาจเป็นการนำทรัพยากรไปใช้ยังอุปกรณ์ที่ไม่ถึงเวลาบำรุงรักษา

Predictive Maintenance ทำงานอย่างไร?

การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ จะทำงานผ่านเซนเซอร์และอุปกรณ์ของระบบอัตโนมัติ (Automation และ IoT) ซึ่งเชื่อมต่อแบบไร้สายกับคอนโซลที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องจักรต่าง ๆ เซนเซอร์จะตรวจจับข้อมูลต่าง ๆ จากนั้นจะส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่แสดงให้คุณเห็นในรูปแบบที่จัดการได้ ข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ IoT มีดังนี้

  • เซนเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือนตรวจจับการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ผิดปกติ 
  • เซนเซอร์ตรวจจับความร้อนจะพิจารณาว่าชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวบางชิ้นมีแรงเสียดทานมากเกินไปหรือไม่ 
  • เซนเซอร์อื่น ๆ จะตรวจสอบระดับน้ำมันและสารหล่อลื่น เพื่อให้แน่ใจว่ามีเพียงพอและสะอาด หรือ เซนเซอร์ที่ตรวจจับข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ชิ้นนั้น

โดยเซนเซอร์แต่ละตัวจะดึงข้อมูลกลับไปยังแหล่งประมวลผลข้อมูลส่วนกลาง ซึ่งจะแยกย่อยข้อมูลประสิทธิภาพและการสึกหรอของเครื่องจักร  IoT จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่รวบรวมไว้จำนวนมาก เพื่อแจ้งเตือนมายังผู้ประกอบการเมื่อจำเป็นต้องบำรุงรักษา หรือ หากเกิดการเสื่อมสภาพใกล้เข้ามา ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งทีมบำรุงรักษาไปได้อย่างตรงเป้าหมาย   อ่านบทความเกี่ยวกับ IoT เพิ่มเติมได้ที่  IoT คืออะไร ประยุกต์ใช้งานอย่างไรในอุตสาหกรรม

ประโยชน์ของ Predictive Maintenance

ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ ช่วยลดต้นทุนการบำรุงรักษาโดยการจัดสรรทรัพยากรและแรงงานให้กับอุปกรณ์ เมื่อต้องการการดูแลเท่านั้น ในขณะที่การบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะอาศัยกำหนดการที่กำหนดไว้ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์จะวิเคราะห์ เมื่อเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ ต้องการการดูแลอย่างแท้จริง

ลดการหยุดทำงานของอุปกรณ์

การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์จะระบุปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ทีมบำรุงรักษาสามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายจนหยุดทำงานของเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน

อายุการใช้งานอุปกรณ์ยาวนานขึ้น

เช่นเดียวกับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์มีวัตถุประสงค์ เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ ด้วยการติดตามดูวิธีการทำงานของอุปกรณ์ทั้งโดยรวมและในระดับส่วนประกอบ ทำให้สามารถสั่งซื้อชิ้นส่วนทดแทนได้ตามต้องการ และทีมงานซ่อมบำรุงสามารถรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น

สามารถตรวจสอบข้อมูลได้

เนื่องจากการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลจำนวนมาก จึงมีเส้นทางของข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งสามารถใช้สำรองการเรียกร้องการรับประกัน หรือ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน Good Manufacturing Practice (GMP) หรือ ISO

กระบวนการบำรุงรักษาอื่น ๆ

Preventive Maintenance หรือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ตามกำหนดเวลาเป็นประจำ โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุและแก้ไขปัญหาเล็กน้อยก่อนที่จะพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ แต่มีค่าใช้จ่ายสูง เป้าหมายของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน คือ การส่งเสริมการตรวจเครื่องจักรล่วงหน้า ขยายอายุการใช้งานของสินทรัพย์ และลดการเสียที่ไม่ได้วางแผนไว้ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Preventive maintenance คืออะไร ทำไมสายงานการผลิตต้องสนใจ

Proactive Maintenance หรือ การบำรุงรักษาเชิงรุก

การบำรุงรักษาเชิงรุก เป็นการประยุกต์หลักการของ Preventive ให้ดียิ่งขึ้น โดยจะเป็นการวางแผนเพื่อเก็บข้อมูลส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักร ทั้งชื่อรุ่น แบรนด์ และความเสี่ยงต่าง ๆ ก่อนทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เพื่อดำเนินการซ่อมบำรุงชิ้นส่วนนั้น ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก : Preventive maintenance คืออะไร ทำไมสายงานการผลิตต้องสนใจ, What is predictive maintenance?, Can Predictive Maintenance Protect Your Business?, Preventive vs. Proactive Maintenance: What’s the Difference?, DIFFERENCES BETWEEN PREVENTIVE, PREDICTIVE, AND PROACTIVE MAINTENANCE, What Is Proactive Maintenance?

สรุป

Predictive Maintenance เป็นสิ่งที่โรงงานยุคใหม่ควรใส่ใจ ด้วยผลลัพธ์ที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องจักรและเพิ่มเวลาทำงานให้สูงสุด ด้วยการใช้อุปกรณ์ Automation และ IoT มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อปรับปรุงและกำหนดตารางการบำรุงรักษาที่ดีที่สุด ดังนั้น ความถี่ในการบำรุงรักษาจึงต่ำที่สุดและไม่ทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะมีความคล้ายกับ Preventive Maintenance ต่างกันตรงที่  Preventive Maintenance จะมีการบำรุงและซ่อมแซมตามกำหนดระยะเวลา หรือ ตามตารางการใช้งานเครื่องจักร ส่วน Proactive Maintenance จะเป็นการระบุสาเหตุของการสึกหรอของเครื่องจักรนั้น ๆ และทำการซ่อมบำรุงก่อนที่จะเกิดขึ้น ทางผู้ประกอบการจึงควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบสภาพก่อนจะตัดสินใจว่าการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์นั้นดีที่สุดสำหรับโรงงานของคุณหรือไม่

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการผลิต หรือ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ สามารถสอบถามได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงไลน์การผลิต ด้วยการวิเคราะห์ไลน์การผลิตของคุณจากหน้างานจริงเพื่อพัฒนาวางแผนระบบควบคุมการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและระบบเก็บข้อมูลด้วย IoT

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่