ปัจจุบันปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีผลกระทบอย่างมากต่อการผลิต โดยเฉพาะระบบงานควบคุมคุณภาพ ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า QA หรือ QC เนื่องจากงานประเภทนี้ต้องการแรงงานที่มีทักษะสูง เป็นที่ต้องการมากกว่าพนักงานฝ่ายผลิต หรือแรงงานในตำแหน่งอื่นๆ  ดังนั้นในการคัดเลือกผู้ที่จะทำงานในแผนก QA หรือ QC  มักจะกำหนดให้พนักงานมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หรือความสามารถทางคณิตศาสตร์ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบการวัด สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี เช่นเดียวกับทักษะคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน แต่คุณสมบัติที่สำคัญที่สุด สำหรับผู้ปฏิบัติงาน QA หรือ QC ที่ดี ก็คือ ความรอบคอบ ใส่ใจในทุกรายละเอียด เนื่องจาก QA เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการสร้างความมั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตเป็นไปตามมาตรฐานและมีคุณภาพ หากมีสินค้าแม้แต่รายการเดียว ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือความต้องการของลูกค้าถูกส่งออกไปจากโรงงาน อาจจะต้องเรียกคืนสินค้าล็อตที่มีปัญหาทั้งหมด มีแนวโน้มในการสร้างความสูญเสียจำนวนมากให้กับทั้งผู้ซื้อ  (ลูกค้า) และผู้ขาย (ผู้ผลิต) อีกทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า

 

โครงสร้างของระบบงานควบคุมคุณภาพ (QA / QC)

โดยทั่วไประบบงานควบคุมคุณภาพ (QA / QC) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 

  • ส่วนแรกคือ การควบคุมคุณภาพ หรือ Quality Control : QC รวมถึงการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และพารามิเตอร์ต่างๆของกระบวนการผลิต
  • ส่วนที่สองคือ การประกันคุณภาพ หรือ Quality Assurance : QA เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าในระยะยาวลูกค้าจะยังคงได้รับผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่มีคุณภาพสูงอยู่ตลอด

ระบบคุณภาพที่รู้จักกันดี ซึ่งผู้ผลิตเกือบทั้งหมดใช้เป็นพื้นฐาน คือ ระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9000 จะเห็นได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ในระบบงานควบคุมคุณภาพ (QA / QC) ใช้ระบบนี้ ในการควบคุมคุณภาพ รวมไปถึง พนักงานตรวจสอบชิ้นงาน เช่น การตรวจสอบข้อบกพร่องของชิ้นงานด้วยสายตา การวัดชิ้นงานเทียบข้อกำหนด หรือ เทียบคุณลักษณะของชิ้นงาน และกระบวนการผลิต เช่น ขนาด คุณสมบัติทางไฟฟ้า ความดัน หรืออุณหภูมิ ตลอดจนจัดทำรายงานการวัดผล หรือผลการตรวจสอบสำหรับวิศวกร หรือผู้รับผิดชอบอื่น ๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์ผล

 

 

ระบบอัตโนมัติช่วยพัฒนากระบวนการควบคุมคุณภาพ QA / QC อย่างไร? 

เมื่อระบบอัตโนมัติ ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ (QA / QC) ตั้งแต่เริ่มต้นมากขึ้น เริ่มจากการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจสอบธรรมดา เช่น กล้องจุลทรรศน์สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของภาพ ไปจนถึงระบบที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า เช่น ระบบการวัดมิติอัตโนมัติ ซึ่งสามารถส่งการอ่านไปยังคอมพิวเตอร์ได้ทันที อ่าน “U-WAVE fit ควบคุมคุณภาพการผลิตและเครื่องมือวัด ผ่านระบบไร้สาย” และวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมควบคุมกระบวนการทางสถิติ (SPC) ช่วยลดขั้นตอนในกระบวนการที่ซับซ้อนในการบันทึกและป้อนข้อมูลด้วยตนเอง ดังนั้นจึงช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากคน หรือ Human Error ได้

 

เทคโนโลยีเซนเซอร์ เป็นระบบอัตโนมัติประเภทหนึ่ง ที่มักใช้ในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายการผลิตต่อเนื่อง ซึ่งผลิตชิ้นงานขนาดเล็กในปริมาณมาก การตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน ด้วยวิธีการใช้แรงงานคนแบบเดิมนั้น เป็นเรื่องยากมากและไม่เหมาะกับสายการผลิต เนื่องจากต้องแยกชิ้นงานออกเพื่อตรวจสอบคุณภาพนอกสายการผลิต นอกจากสร้างความเสี่ยงต่อความเสียหายระหว่างการเคลื่อนย้ายชิ้นงานแล้ว ยังรบกวนความต่อเนื่องของกระบวนการผลิตอีกด้วย อ่าน “ทำความรู้จัก เซนเซอร์ ในงานอุตสาหกรรม”

แต่กับเซนเซอร์ขั้นสูง (Advanced Sensors) ไม่เพียงแต่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และติดตั้งง่ายเท่านั้น ยังสามารถนำไปใช้ในสายการผลิตที่หลากหลาย มีความแม่นยำ และมีความละเอียดสูง ดังนั้น การนำเซนเซอร์เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการวัดมิติอัตโนมัติ (โดยที่กระบวนการผลิตไม่จำเป็นต้องหยุดชะงัก หรือชะลอตัวลง) นอกจากจะการเพิ่มกำลังการผลิตแล้ว ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์อีกด้วย

 

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์วัด CMM แบบ 3 แกน ที่มีความถูกต้องและแม่นยำสูง เช่นเดียวกับเครื่องสแกนเลเซอร์ 3 มิติที่ทันสมัย สามารถทำงานแบบไร้สายและเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งข้อมูล จะเห็นได้ว่าเครื่องมือเหล่านี้ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพในการวัด ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตในการเพิ่มผลผลิต รวมไปถึงความต้องการของลูกค้า อ่าน “ปัจจัย 3 ประการ สำหรับโรงงาน รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ CMM”

 

ระบบอัตโนมัติกับอนาคต QA / QC ของไทย

สำหรับผู้ผลิตในไทย การพิจารณาว่าจะใช้ระบบอัตโนมัติในงานควบคุมคุณภาพ (QA / QC) มากน้อยเพียงใดมักขึ้นอยู่กับปัจจัย 2-3 อย่าง

  • ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การตอบสนองความต้องการของลูกค้า เกี่ยวกับความถูกต้องและความสม่ำเสมอของชิ้นงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ปัจจัยภายใน ได้แก่ การเพิ่มผลผลิต ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ นอกจากให้ความถูกต้องและสม่ำเสมอแล้ว ยังสามารถลดความผิดพลาดที่เกิดจากคน (Human Error) ได้
  • อีกปัจจัยที่เป็นผลดีของระบบอัตโนมัติ คือ เวลาในการทำงานลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคน ปัจจัยสำคัญเพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง สำหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ คือ ต้องคำนึงถึงต้นทุนการลงทุนที่จำเป็นเปรียบเทียบกับต้นทุนแรงงาน

ตอนนี้อาจจะยังไม่จำเป็น สำหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ (แม้จะมีค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทก็ตาม) โดยเฉพาะผู้ผลิตรายกลางและรายย่อย ที่ไม่มีเงินลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นระบบอัตโนมัติที่ใช้ในงานควบคุมคุณภาพ (QA / QC) ของผู้ผลิตในไทย จึงมีแนวโน้มค่อยๆพัฒนาไปตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ระบบกึ่งอัตโนมัติที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานถูกนำมาใช้ แต่ยังคงใช้พนักงาน QA / QC เพื่อดำเนินงานหรือควบคุมงาน

 

คำตอบ คือ การสร้างความสมดุล

ในประเทศที่มีการใช้แรงงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในการผลิต หรือในการบริการก็ตาม การพิจารณาการลงทุนในระบบอัตโนมัติของผู้ผลิต ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อแรงงานเหล่านี้ด้วย เนื่องจากแรงงานเป็นทั้งส่วนสำคัญของหน่วยการผลิต และผู้บริโภคขั้นสูงสุดของระบบการผลิต ดังนั้น ความสมดุลที่เหมาะสม จะต้องเกิดขึ้นระหว่างการใช้แรงงานและระบบอัตโนมัติ
ในแบบที่ผู้ผลิตสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ และพนักงานสามารถเลี้ยงชีพได้ภายในระบบการผลิตด้วย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับแรงงาน คือ จะต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และทักษะ ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่มีที่เหลือในระบบการผลิตสำหรับพวกเขาในอนาคต

ส่วนประกอบหรือพื้นฐานที่สำคัญของระบบการผลิตทั่วไป
ประกอบด้วย 4Ms ซึ่งได้แก่

– เครื่องจักร (Machine)      – วัสดุ (Material)

– วิธีการ (Method)              –  มนุษย์(Man) ทั้งมีฝีมือและไร้ฝีมือ

ปัจจุบันภาคการผลิตของไทย กำลังประสบปัญหาด้านโครงสร้างแรงงาน ทั้งในเรื่องต้นทุนแรงงาน และการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุหลายประการ เช่น

  • การขาดแคลนแรงงานฝีมือเฉพาะทาง
  • อายุของประชากร
  • ระบบการศึกษาที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างเต็มที่
  • แรงงานบางส่วนไม่เต็มใจที่จะทำ งาน 3D (งาน 3 ประเภทที่ไม่มีใครอยากทำ) ได้แก่ งานสกปรก (Dirty job) งานยาก (Difficult job) และงานอันตราย (Dangerous job)
  • แรงงานที่ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะทำงานเพื่อรับค่าจ้างต่ำ

 

สรุป

ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมในเครื่องมือวัดและระบบอัตโนมัติ ไม่เพียงช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน ทำงานได้เร็วขึ้น แต่ในบางสถานการณ์สามารถทดแทนแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การนำระบบอัตโนมัติเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ (QA / QC)  นั้น เป็นการพัฒนาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับโรงงาน แต่อย่างไรก็ตามต้องมีการวางแผนระบบ และคำนึงถึงความสมดุลที่เหมาะสม ในการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย

 

บริการด้านระบบอัตโนมัติจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติสำหรับโรงงาน ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและเครื่องจักรของคุณ เพื่อพัฒนาวางแผนระบบควบคุมการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและระบบเก็บข้อมูลด้วย IoT

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่